Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25363
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติมา พิทักษ์ไพรวัน
dc.contributor.advisorเลิศ จันทนภาพ
dc.contributor.authorชมัยโฉม สุนทรสวัสดิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-22T09:32:01Z
dc.date.available2012-11-22T09:32:01Z
dc.date.issued2521
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25363
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractเป็นที่ทราบโดยทั่วกันแล้วว่าป่าไม้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จนถึงขนาดมีผู้กล่าวว่า “มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากต้นไม้” ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของกิจการป่าไม้ไทยในระยะแรกเริ่มนับตั้งแต่มีการจัดตั้งกรมป่าไม้ จนกระทั่งถึงระยะเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงสาเหตุแห่งการจัดตั้งกรมป่าไม้ ตลอดจนทราบแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลในด้านการป่าไม้ในระยะต่อมา ซึ่งจะส่งผลสะท้อนมายังการดำเนินงานของกรมป่าไม้ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้วางแนวทางการวิจัย โดยแบ่งสาระสำคัญของเรื่องออกเป็น 5 บท พร้อมกับบทสรุปส่งท้ายอีก 1 บท ทั้งนี้อาจจำแนกเรื่องราวแต่ละบทได้ดังต่อไปนี้คือ บทที่ 1 เป็นการกล่าวถึงสภาพกิจการป่าไม้ทางภาคเหนือของไทยโดยสังเขป ตั้งแต่ก่อนจัดตั้งกรมป่าไม้ จนกระทั่งได้กรมป่าไม้ขึ้นดำเนินการเรื่อยมาจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อาจจะกล่าวได้ว่า บทแรกนี้เป็นการปูพื้นฐานให้เห็นวิวัฒนาการของกิจการป่าไม้ไทย ในลักษณะทั่วไปอย่างคร่าว ๆ นั่นเอง บทที่ 2 เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่นำไปสู่การจัดตั้งกรมป่าไม้ นั่นคือ ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ปัญหาการปกครองภายในหัวเมืองเหนือและปัญหาด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งรัฐบาลสามารถเข้าควบคุมกิจการป่าไม้และจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าปัญหาต่างๆ เหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญซึ่งเป็นเครื่องกำหนดนโยบายการป่าไม้ของประเทศไทยในขณะนั้น บทที่ 3 เป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวนโยบายของรัฐที่มีต่อกิจการป่าไม้ทางภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439-2475 โดยพิจารณาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ นโยบายที่เกี่ยวกับผลประโยชน์เรื่องป่าไม้ของเจ้าผู้ครองนครในมณฑลพายัพ หลัง พ.ศ. 2439 นโยบายด้านการบริหาร นโยบายด้านการบริหาร นโยบายการทำไม้สักเองโดยรัฐบาล นโยบายการบำรุงป่าไม้ นโยบายการปรับปรุงกฎหมาย และนโยบายการให้สัมปทานทำป่าไม้ เป็นต้น อาจจะกล่าวได้ว่า ในบทนี้เป็นการศึกษาเพื่อดูแนวโน้มของนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับกิจการด้านป่าไม้ในแต่ละด้านอย่างละเอียด บทที่ 4 เป็นการศึกษาถึงบทบาทของการดำเนินงานของบริษัทป่าไม้ต่างชาติใหญ่ๆ ที่มีทุนในการทำป่าไม้มาก รวมตลอดไปจนถึงศึกษาบทบาทของรัฐบาลไทยที่มีต่อการดำเนินของบริษัทเหล่านั้น บทที่ 5 เป็นการศึกษาถึงผลสืบเนื่องที่ได้จากการทำป่าไม้ โดยจะกล่าวถึงผลประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติ รวมทั้งผลผลิตที่ได้ ซึ่งหมายความถึงการนำไม้มาใช้ภายในประเทศ และการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ บทสรุป เป็นการกล่าวสรุปถึงนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อกิจการป่าไม้ในช่วงระยะเวลาก่อนตั้งกรมป่าไม้ว่ายังไม่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน ต่อมาเมื่อได้พิจารณาเห็นความจำเป็นในการมีสถาบันเขาควบคุมกิจการป่าไม้ รัฐบาลก็จัดตั้ง กรมป่าไม้ขึ้นในปี พ.ศ. 2439 และหลังจากนั้นก็ได้พยายามหามาตรการต่างๆเข้าควบคุมกิจการป่าไม้ให้เป็นระเบียบ ถึงแม้จะประสบปัญหาหลายประการแต่รัฐบาลก็หาทางแก้ไขด้วยความสุขุมรอบคอบด้วยดีตลอดมา ดังจะเห็นได้จากการแก้ไขปัญหาการให้สัมปทาน การทำไม้แก่บริษัทป่าไม้ชาวต่างชาติ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งนี้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติมากที่สุด นอกจากนั้นปัญหาบางประการ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า รัฐบาลได้เข้าดำเนินการแก้ไขด้วยการออกกฎหมายป้องกันและควบคุมการตัดไม้ แต่เนื่องจากในขณะนั้นรัฐบาลประสบอุปสรรคในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหลายประการ เช่น เจ้าพนักงานป่าไม้มีจำนวนน้อย การขาดการประสานงานกับหน่วยราชการต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่ต่อมาแม้จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงอาจจะกล่าวได้ว่า การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกิจการป่าไม้ทางภาคเหนือของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2439 ถึง พ.ศ. 2475 นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ของกิจการป่าไม้โดยตรงที่มีผลสะท้อนมาถึงปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของกรมป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรอันสำคัญยิ่งของประเทศชาติอีกด้วย
dc.description.abstractalternativeIt is generally known that forest is essential for the existing of mankind either directly or indirectly, hence it was mentioned "Man cannot exist without wood". The historical study of forestry in Northern Thailand from 1896 to 1932 was conducted with a primary attempt to throw light on the past evidence of government forest policy, and the reasons which finally lead to the establishment of The Royal Forest Department. It also attempts to study the government forest administration and its activities during the above mentioned period in order to see their impact on the policy and administration at present. The thesis is divided into five chapters and a conclusion. The first chapter describes the background of the teak enterprises in Northern Thailand before the establishment of The Royal Forest Department up until the Revolution in 1932. The general survey of the background and development of forest activities are given. The second chapter discusses the indication of problems leading to the establishment of The Royal Forest Department such as, the international political problems, the administrative problems in Monton Payab and its effect on the economic problems of the country. These problems are considered to be the main factors in formulating the forest policy during that period. Chapter three describles the important Government's policies in the management of forest in Northern Thailand from 1896 to 1932, for example : the policy relating to the forest benefit of the Princes in Manton Payab, the policy of forest administration, forest law, and forest concession etc. This chapter discusses in detail the trend of government's forest policy in most aspects. In chapter four the roles of the foreign forest industry companies in Thailand's forestry enterprise are outlined. Also the government's roles and its policy toward the important foreign companies are [discussed]. Chapter five describes the related activities of forest industry in general i.e. forest production, utilization, exporting. This chapter puts a special emphasis on the production of teak wood as one of the main income resources of the country. The conclusion is the summary of the government's forest policy before and after the establishment of The Royal Forest Department in 1896. Before 1896 the government's policy in the forest enterprise had not been properly defined. Consequently, an institution in charge of forest management was urgently needed leading to the establishment of The Royal Forest Department in 1896. Through this department the government had tried to cope with many forestry problems by exacting several rules and plans. Distributing concession to foreign forest companies was done equally taking into consideration the national interest. Illegal cutting and forest destruction were to be prevented by forest laws. But to implement these laws, the government ran into many obstacles; for example lack of foresters and insufficient co-operation among departments concerned. The government at that time was unable to overcome these obstacles which have become more serious at present. The study of forestry in Northern Thailand from 1896 –1932 is not only useful for those studying Thai forest policy, past and present, but also [emphasizing] the importance of the forest as one of the invaluable national resources.
dc.format.extent759611 bytes
dc.format.extent1911688 bytes
dc.format.extent1927482 bytes
dc.format.extent2057077 bytes
dc.format.extent1981990 bytes
dc.format.extent1849563 bytes
dc.format.extent3225039 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกิจการป่าไม้ทางภาคเหนือของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2439 ถึง พ.ศ. 2475en
dc.title.alternativeA Historical study of forestry in Northern Thailand from 1896 to 1932en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chamai_Su_front.pdf741.81 kBAdobe PDFView/Open
Chamai_Su_ch1.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Chamai_Su_ch2.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Chamai_Su_ch3.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Chamai_Su_ch4.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Chamai_Su_ch5.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Chamai_Su_back.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.