Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25419
Title: การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503 กับนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนทดลอง
Other Titles: A comparison of the creativity of prathom three pupils under the elementary school curricular B.E. 2503 and B.E. 2521 in the experimental schools
Authors: บุญรอด บุญเหลือ
Advisors: เลขา ปิยะอัจฉริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503 กับนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนทดลอง และพร้อมกันนี้ ได้เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเด็กหญิงกับเด็กชายด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบที่แปลและดัดแปลงมาจากแบบสอบความคิดสร้างสรรค์ของวอลเลชและโคแกน ซึ่งมี 5 ชุด โดยนำไปหาความเที่ยงและความตรงของแบบสอบจนเห็นว่าเป็นแบบสอบที่ใช้วัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบไปสอบเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนกลางที่ทดลองใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 และมีห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503 อยู่ในโรงเรียนเดียวกัน 3 โรงเรียน จำนวน 426 คน เป็นชาย 253 คน หญิง 173 คน จากนั้นนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาหาค่าเฉลี่ย แล้ววิเคราะห์หาค่าที เพื่อหาความแตกต่างด้านความคิดสร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 มีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนชั้นเดียวกันที่เรียนด้วยหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในการเปรียบเทียบระหว่างเพศ ไม่พบความแตกต่างด้านความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเด็กหญิงกับเด็กชาย
Other Abstract: The major purpose of this study was to compare the creative thinking of students in Prathom Suksa three between those who studied under the Elementary School Curriculum B.E. 2503 and those under the Elementary School Curriculum B.E. 2521 at the experimental schools. A comparison between the creative thinking of schoolboys and schoolgirls is also an objective. An instrument used in this study was a set of tests which was modified from five sets of the Wallach & Kogan Tests of Creativity. This Instrument was tested for reliability and validity before being used. The subjects of this study were Prathom Suksa three students who were in the three experimental schools of General Education Department in Bangkok. These schools implemented both the Elementary School Curriculum B.E. 2521 and the Elementary School Curriculum B.E. 2503. The numbers of students in three schools were 426, out of which 253 were boys and 173 were girls. Arithmatic means were computed from the collected data and t-test was used to analyze the significant difference of creative thinking between the two Groups. The result of the study revealed that the sample students who studied under the Elementary School Curriculum B.E. 2521 had higher creative thinking than those under the Elementary School Curriculum B.E. 2503 with significant difference at the .01 level. In addition, there were no difference between the creative thinking of schools and that of schoolgirls.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25419
ISSN: 9745612782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonrawd_Bo_front.pdf415.76 kBAdobe PDFView/Open
Boonrawd_Bo_ch1.pdf484.89 kBAdobe PDFView/Open
Boonrawd_Bo_ch2.pdf828.1 kBAdobe PDFView/Open
Boonrawd_Bo_ch3.pdf498.21 kBAdobe PDFView/Open
Boonrawd_Bo_ch4.pdf380.56 kBAdobe PDFView/Open
Boonrawd_Bo_ch5.pdf408.97 kBAdobe PDFView/Open
Boonrawd_Bo__back.pdf633.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.