Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25569
Title: การวิเคราห์ทางการเงินของโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A financial analysis of private hospitals with promotional privilege from the board of investment in Bangkok metropolitan area
Authors: ดารณี โชติอนันตชัย
Advisors: ศิรินันท์ ชนิตยวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงการวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ งบการเงินซึ่งได้จากแหล่งข้อมูลทางราชการคือ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยทำการวิเคราะห์ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2520-2523 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมในด้านการให้บริการ การตลาด สถานภาพทางการแพทย์และอนามัยของประชาชน แผนพัฒนาการสาธารณสุขตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 การควบคุมของรัฐบาล ตลอดจนความช่วยเหลือของรัฐบาลที่มีต่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมโรงงานพยาบาลเอกชน เป็นอุตสาหกรรมให้บริการทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน เริ่มมีการตื่นตัวขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา ตามผลการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2524 ปรากฏว่า ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชนแผนปัจจุบัน จำนวน 294 แห่ง มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน 8,794 เตียง ในจำนวนนี้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 92 แห่ง 5,114 เตียง อยู่ในส่วนภูมิภาค 202 แห่ง 3,680 เตียง เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการส่งเสรมการลงทุนทั้งประเทศ 23 แห่ง 2,518 เตียง มีแพทย์ที่ปฏิบัติงานกับโรงพยาบาลเอกชน 636 คน อยู่ในเขตกกรุงเทพมหานคร 354 คน อยู่ในส่วนภูมิภาค 282 คน สถิติการป่วยสูงสุดของประชากรทั้งประเทศป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีสถิติการตายด้วยอุบัติเหตุ และการเป็นพิษสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือโรคหัวใจ และมะเร็งทุกชนิด ด้านการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนได้จัดประเภทบริษัทออกตามจำนวนสินทรัพย์ถาวรได้เป็น 3 ขนาด คือ กิจการขนาดใหญ่ เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ถาวรมากกว่า 40 ล้านบาท กิจการขนาดกลางเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ถาวร 20-40 ล้านบาท และกิจกรรมขนาดเล็กเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ถาวรต่ำกว่า 20 ล้านบาท การวิเคราะห์ใช้อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญเป็นพื้นฐาน อันได้แก่อัตราส่วน 4 กลุ่ม คือ อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพคล่อง อัตราส่วนวิเคราะห์สมรรถภาพการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพเสี่ยงและอัตราส่วนวิเคราะห์สมรรถภาพในการหากำไร โดยคำนวณหาอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม อัตราส่วนโดยเฉลี่องแต่ละขนาดของกิจการ และทำการเปรียบเทียบเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินโดยเฉลี่ยของกิจการแต่ละขนาดกับอัตราส่วนทางการเงิน โดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ลักษณะที่ 2 เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบ อัตราส่วนของบริษัทต่าง ๆ กับอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของกิจการตามขนาดของบริษัทนั้น ๆ โดยตั้งสมมติฐานในการศึกษาว่า กิจการขนาดใหญ่มีสมรรถภาพในการดำเนินงาน ดีกว่ากิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารลูกหนี้ กิจการขนาดใหญ่มีการบริหารลูกหนี้ดีกว่ากิจการขนาดอื่น และทางด้านสภาพเสี่ยงในการใช้เงินทุนจากหนี้สิน กิจการขนาดใหญ่มีการใช้เงินทุนจากหนี้สินในสัดส่วนที่ต่ำกว่ากิจการขนาดอื่น รวมทั้งมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ดีกว่ากิจการขนาดอื่น ส่วนสมรรถภาพในการหากำไรนั้น กิจการขนาดใหญ่ มีมรรถภาพต่ำกว่ากิจการขนาดกลาง และมีแนวโน้มลดลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2523 ด้านการบริหารเงินทุนของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชน จากการวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงินปรากฏว่ากิจการขนาดเล็กมีการใช้เงินทุนจากหนี้สินในสัดส่วนสูงที่สุด รองลงมาคือ กิจการขนาดกลางและกิจการขนาดใหญ่ ตามลำดับ โดยหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้สินหมุนเวียน และจากการวิเคราะห์งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนพบว่า วิธีการจัดหาเงินทุนของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ดีกล่าวคือ มีการนำหนี้สินระยะสั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร จากการศึกษา พอสรุปได้ว่า ปัญหาของอุตสาหกรรมคือต้นทุนการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนไม่สามารถเพิ่มค่าบริการได้ตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้ง ปัญหาการบริหารภายในบริษัทเอง ดังนั้นบริษัทเกือบทุกรายในอุตสาหกรรมนี้ จึงประสบผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังกล่าวคือ โรงพยาบาลเอกชนควรปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อลดต้นทุนการบริหารให้ต่ำที่สุด ควรให้ความสำคัญในด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล และบริการต่าง ๆ มากกว่าการลงทุนในอาคารสถานที่ส่วนปัญหาการเงินควรมีการวางแผนทางการเงินโดยการทำงบประมาณ จัดหาแหล่งเงินทุนและการใช้ไปของเงินทุนให้เหมาะสม รวมทั้งรัฐบาลควรให้การสนับสนุนในการให้สิทธิพิเศษแก่โรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น เพื่อให้อุตสากรรมขยายตัวได้อีก
Other Abstract: This thesis is a study on the financial analysis of the private hospital sector which has been granted promotional privilege from the Board of Investment of Thailand in Bangkok Metropolitan Area. The main emphasis is on the financial position of the industry. Data used in the analysis were the financial statements of the year 1977 -1980 obtained from the Department of Commercial Registration, the Ministry of Commerce. The study includes the general structure of the industry which is broken down into various aspects; namely services, marketing, medical sciences viewpoints and public health. The Public Health Plan according to the Fifth National Social and Economic Development Plan, government control and government contribution to this sector were also analyzed. Private hospital sector provides public health services. It became popular about10years ago. According to the survey conducted by the Ministry of Public Health in 1981, there were 294 private hospitals(or8,794 beds) in Thailand. The distribution is 92 hospitals(or5,114 beds) in Bangkok Metropolitan Area (B M A), 202 hospitals(or3,680 beds) in regional cities and towns. However, only 23 hospitals(or2,518 beds) have been granted promotional privilege. There were 636 doctors practicing in private hospitals in B M A and 354 doctors in regional cities and towns. According to the survey in 1981, the most prevailing disease was digestive system troubles which was generally found in the northeastern region of Thailand. Accidents and Toxics were the main causes of death, followed by Heart Diseses and Cancers. In the analysis, the private hospital sector is classified into 3 categories according to the size of fixed assets. Firstly, the large-scale hospital consists of companies of which fixed assets are more than 40 million Baht. Secondly, the medium-scale hospital consists of companies of which fixed assets are in the range of 20 to 40 million Baht. Finally, companies of which fixed assets are under 20 million baht are categorized as small-scale hospital. The analysis is based on 4 main groups of financial ratios, namely, liquidity ratios, activity ratios, leverage ratios and profitability ratios. The average ratios of the whole industry and each scale of hospitals are computed. The analysis of financial ratios is divided into two parts. In the first part, each scale average ratios are compared with the industry average ratios. Next, a comparison of financial position of various companies is made together with the comparison between the financial position of each company and that of its scale average. The underlying hypothesis of this study is that the large-scale hospital are in a better position than the rest of the sector with respect to liquidity, activity, leverage and profitability aspects. The study results seem to invalidate the above hypothesis. However, as regards to account receivable management and leverage, large-size hospital are in a better position than the others. The study also reveals that large-size hospital have the lowest proportion of debt and highest ability to pay interest. With respect to profitability, large-size hospital gain lower profit in comparision with medium-size hospital but higher than the small-size hospital. It should also be noted that profitability of large-size hospital was in downward trend during the period of 1978-1980. Regarding the capital structure of the sector, it is found that the small-scale hospitals have the highest proportion of debt especially current liabilities to total assets, followed by the medium and large-scale hospital respectively. The analysis also indicates that the financing method of the industry is not appropriate in the sense that most permanent assets are financed by current liabilities. The significant problem of the private hospital sector is that revenue does not seem to keep pace with the increase in operating costs. The problem may be due to recession and operation within this sector. Therefore, most of the private hospitals are facing with the accumulated deficit. The thesis submits that in order to improve efficiency in operation which will lead to the minimization of operating cost, attention should be given to the improvement of services and management rather than investing on luxurious building construction. Moreover, financial planning through budgeting technique should be adopted in order to help in determining proper sources and uses of funds. Finally the role of government in promoting the private hospital sector should be extended. This could benefit the private hospital sector and its growth indirectly.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การธนาคารและการเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25569
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daranee_Ch_front.pdf677.51 kBAdobe PDFView/Open
Daranee_Ch_ch1.pdf408.98 kBAdobe PDFView/Open
Daranee_Ch_ch2.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Daranee_Ch_ch3.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Daranee_Ch_ch4.pdf856.94 kBAdobe PDFView/Open
Daranee_Ch_ch5.pdf765.58 kBAdobe PDFView/Open
Daranee_Ch_back.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.