Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25775
Title: การประเมินค่าโครงการลงทุนในการเพาเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในประเทศไทย
Other Titles: Project evaluation of the giant freshwater prawn hatchery and farming in Thailand
Authors: วิไลวรรณ กุลสิทธิไชยา
Advisors: สมศักดิ์ สิงหลกะ
สุมาลี จิวะมิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงการประเมินค่าโครงการการลงทุนในการเพาะและเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยศึกษาในลักษณะการดำเนินงาน กรรมวิธีในการผลิต ปัจจัยการผลิต แนวทางด้านการตลาด ตลอดจนศึกษาถึงอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงด้านการเงินเพื่อให้ทราบผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ โดยการศึกษากรณีตัวอย่างการลงทุนของเอกชนในการเพาะและเลี้ยงกุ้งก้ามกราม สำหรับการศึกษาขนาดการลงทุนของการเพาะลูกกุ้งก้ามกรามนั้น จะแบ่งการศึกษาเป็น 3 ขนาดคือ ขนาดผลผลิต 30,000 ตัวต่อเดือน ขนาดผลผลิต 200,000 ตัวต่อเดือน และขนาดการผลิต 600,000 ตัวขึ้นไปต่อเดือน ซึ่งจัดเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ตามลำดับ ส่วนในการศึกษาขนาดการลงทุนของการเพาะกุ้งก้ามกราม ก็จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขนาดเช่นกันคือ ขนาดพื้นที่การผลิต 5 ไร่ 15 ไร่ และ 50 ไร่ ซึ่งความแตกต่างของค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับขนาดของการลงทุน ในการศึกษาได้กำหนดระยะเวลาในการศึกษาไว้ 5 ปี (พ.ศ. 2523-2527) กำหนดให้มีการขายผลผลิตได้หมดทุกรอบการดำเนิน และให้มีการผลิตต่อเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละรอบ ซึ่งในการผลิตลูกกุ้งจะใช้เวลาประมาณ 40-45 วัน และในการเลี้ยงกุ้งจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน ในการศึกษาดังกล่าวได้ทำการศึกษา ค้นคว้าจากตำรา บทความ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะและเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ตลอดจนทำการสอบถาม สัมภาษณ์ และประมวลความคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ ในวงการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ สำหรับการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน จะวิเคราะห์โดยอาศัยหลักของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลได้ต่อต้นทุน อัตราผลตอบแทนภายใน และงวดระยะเวลาคืนทุน โดยใช้อัตราส่วนลดหลายอัตราด้วยกัน และกำหนดราคาขายลูกกุ้งก้ามกรามไว้ 7 ระดับราคาด้วยกันคือ 0.25, 0.30, 0.35, 0.40, 0.50, 0.75 และ 1.00 บาทต่อตัว ในด้านราคาขายกุ้งก้ามกรามก็ได้กำหนดไว้ 6 ระดับคือ 100, 110, 120, 130, 140 และ 150 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายจะถูกกำหนดโดยความต้องการของตลาด และการต่อรองระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย จากการวิเคราะห์พบว่า การผลิตลูกกุ้งและกุ้งก้ามกรามไม่มีความยุ่งยากด้านเทคนิคมากนัก จะอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของผู้ประกอบการทางด้านตลาดก็มีแนวโน้มที่ดี ความต้องการของตลาดมีสูงกว่ากำลังการผลิต จากการวิเคราะห์ทางการเงินปรากฏผลดังนี้ โครงการเพาะลูกกุ้งก้ามกรามในขนาดการผลิต 3 ขนาดคือ ขนาดการผลิต 30,000 ตัวต่อเดือน อัตราผลตอบแทนภายในที่ได้รับจะเท่ากับ 25.20, 61.78, 125.23, 273.89 และ 420.74% ในกรณีขายได้ตัวละ 0.35, 0.40, 0.50, 0.75 และ 1.00 บาทตามลำดับ ขนาดการผลิต 200,000 ตัวต่อเดือน อัตราผลตอบแทนภายในที่ได้รับจะเท่ากับ 59.47, 99.31, 172.55, 349.03 และ 524.18% ในกรณีขายได้ตัวละ 0.35, 0.40, 0.50, 0.75, และ 1.00 บาทตามลำดับ ขนาดการผลิต 600,000 ตัวขึ้นไปต่อเดือน อัตราผลตอบแทนภายในที่ได้รับจะเท่ากับ 135.10, 198.27, 277.48, 347.93, 488.62, 840.20 และ 1,191.81% ในกรณีขายได้ตัวละ 0.25, 0.30, 0.35, 0.40, 0.50, 0.75 และ 1.00 บาท ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้ลงทุนพบว่าราคาขายลูกกุ้งปัจจุบันจะราคาตัวละ 0.50 บาท ซึ่งผู้ลงทุนจะได้อัตราผลตอบแทนภายในของการผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่จำนวน 124.23, 132.55 และ 277.48% ตามลำดับ และแนวโน้มของราคาในอนาคตคาดว่าจะสูงขึ้น ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จะเห็นได้ว่าขนาดการผลิตยิ่งใหญ่ขึ้นผลตอบแทนที่โครงการได้รับจะยิ่งสูงขึ้น สำหรับโครงการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในขนาดการผลิต 3 ขนาด เช่นกันคือ ขนาดพื้นที่การผลิต 5 ไร่ อัตราผลตอบแทนภายในที่ได้รับจะเท่ากับ 21.70, 35.52, 48.29, 60.39, 72.05 และ 83.40% ในกรณีราคาขายกิโลกรัมละ 100, 110, 120, 130, 140 และ 150 บาทตามลำดับ ขนาดพื้นที่การผลิต 15 ไร่ อัตราผลตอบแทนภายในที่ได้รับจะเท่ากับ 28.90, 43.23, 56.62, 69.42, 81.83 และ 53.78% ในกรณีราคาขายกิโลกรัมละ 100, 110, 120, 130, 140 และ 150 บาทตามลำดับ ขนาดพื้นที่การผลิต 50 ไร่ อัตราผลตอบแทนภายในที่ได้รับจะเท่ากับ 29.46, 43.49, 56.63, 69.21, 81.41 และ 93.33% ในกรณีราคาขายกิโลกรัมละ 100, 110, 120, 130, 140 และ 150 ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้ลงทุนพบว่า ราคาขายกุ้งในปัจจุบันจะราคาประมาณ 130 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับอัตราผลตอบแทนภายในของการผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 60.39, 69.42 และ 69.21% ตามลำดับ และแนวโน้มของราคาในอนาคตคาดว่าจะสูงขึ้น ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเช่นเดียวกับโครงการเพาะลูกกุ้ง จากผลการวิเคราะห์ที่ได้นี้พอจะพิจารณาได้ว่า ตราบใดที่อัตราส่วนลดในแต่ละกรณี ในแต่ละโครงการยังไม่เกินอัตราผลตอบแทนภายในสำหรับในส่วนนั้นแล้ว แสดงว่าโครงการยังมีผลกำไร ซึ่งควรจะลงทุนเมื่อพิจารณาในแง่การเงิน แม้ว่าอัตราผลตอบแทนภายในของทั้งสองโครงการจะเป็นอัตราก่อนหักภาษี และการวิเคราะห์โครงการมีข้อสมมุติฐานว่า เงินลงทุนทั้งหมดมาจากเจ้าของ แต่อัตราผลตอบแทนที่ได้รับก็อยู่ในอัตราที่สูงมาก แม้จะมีการนำค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยที่สูงถึง 20% ต่อปี และภาษีเข้ามาประเมิน คาดว่าอัตราผลตอบแทนของโครงการก็ยังคงคุ้มค่าต่อการลงทุน เปรียบเทียบโครงการทั้งสองจะเห็นว่า การเพาะจะใช้ระยะเวลาการดำเนินงานแต่ละรอบน้อยกว่าการเลี้ยงมาก (40-45 วันเทียบกับ 6-8 เดือน) ประกอบกับปัจจัยสำคัญของการเพาะก็คือน้ำเค็ม ซึ่งผู้ลงทุนบางรายอาจจะมีสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะ สำหรับความเห็นของผู้วิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนั้น ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะประสบความยุ่งยากในการเลี้ยงน้อยกว่าการเพาะ และผลผลิตที่ได้ยังมีลักษณะภายนอกที่เห็นได้ชัดเจนกว่า สามารถบริโภคได้ทันที โครงการเลี้ยงจึงค่อนข้างที่จะน่าสนใจมากกว่า ในด้านอุปสรรคและปัญหาของโครงการ พอจะสรุปได้ดังนี้ 1. ในส่วนของโครงการเพาะลูกกุ้ง ปัญหาคือ การที่ลูกกุ้งตายก่อนคว่ำ ซึ่งสามารถป้องกันโดยการเปลี่ยนน้ำให้สะอาด และควบคุมด้านอาหาร 2. ส่วนโครงการเลี้ยงกุ้ง ปัญหาคือ สภาวะแหล่งน้ำเป็นพิษ ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่จะช่วยกันป้องกันและแก้ไข สำหรับข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น ทางด้านเงินทุน ถ้ามีทุนน้อยควรจะดำเนินงานขนาดเล็กไปก่อน เพื่อเป็นการเรียนรู้ และค่อยๆ ขยายการผลิตออกไป สำหรับกรณีที่ต้องใช้แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืม ควรจะหาจากแหล่งที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในแง่ของการดำเนินงาน เป้าหมายที่สำคัญคือ ควรให้มีผลผลิตแบบสม่ำเสมอ นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลควรจะให้ความช่วยเหลือนอกเหนือไปจากความช่วยเหลือด้านวิชาการ ก็คือการจัดหาแหล่งเงินทุนให้พอเพียง และอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสมเพื่อจูงใจผู้ลงทุนนอกเหนือไปจากแรงจูงใจด้านอัตราผลตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งผลผลิตในอนาคตอาจมีมากเพียงพอที่จะสามารถทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศได้ทั้งหมด เป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย
Other Abstract: The purpose of this thesis is to make on assessment of giant freshwater prawn hatchery and farming investment projects. Emphasis is put on aspects of administration, producing process, marketing trends as well as the obstacles and problems generally encountered. Besides, the author has made financial calculations to determine the benefits. The study involves the application of three hatchery output sizes : 30,000; 200,000 and over 600,000 juveniles per month, which correspond respectively to small, medium and large scales of production. For the farming project, the study includes the consideration of three land sizes 3, 15 and 50 rais. Differences in expenses vary with the scales of investment. The period of study is five years (1980-1984). The study assumes all the output is sold at the end of each operating period, upon which production resumes. The average time required for hatchery producing is 40 to 45 days, while that required for farming the prawns is 6 to 8 months. All pertinent information required for the study was derived from textbooks, articles and published documents. The author also made inquiries, conducted interviews and gathered the opinions of several persons in the business. The data thus obtained are then analyzed. Financial analyses consist of the methods of Net Present Value, Cost-Benefit ratio, Internal Rate of Return and Payback Period, for various discount rates, seven levels of juvenile selling prices (0.25, 0.30, 0.35, 0.40, 0.50, 0.75, 1.00 Baht per juvenile) and six levels of prawn selling prices (100, 110, 120, 130, 140, and 150 Baht per kilogram). These selling prices are determined both by market demand and supply, and by negotiation results between the purchaser and supplier. The author has found that no technical difficulties exist in producing juveniles and prawns; all it requires are experience and skill. The marketing demand trend will remain high since consumption has always exceeded production. The results of the financial analyses for the three hatchery output sizes are as follows. For 30,000 juveniles per month, the Internal Rates of Return are 25.20, 61.78, 125.23, 273.89 and 420.74% for the selling prices of 0.35, 0.40, 0.50, 0.75 and 1.00 Baht per juvenile, respectively. For 200,000 juveniles per month, the Internal Rates of Return are 59.74, 99.31, 172.55, 349.03 and 524.18% for the selling prices of 0.35, 0.40, 0.50, 0.75 and 1.00 Baht per juvenile, respectively. For over 600,000 juveniles per month, the Internal Rates of Return are 135.10, 198.27, 277.48, 247.93, 488.62, 840.20 and 1,191.81% for the selling prices of 0.25, 0.30, 0.35, 0.40, 0.50, 0.75 and 1.00 Baht per juvenile, respectively. Interviews with investors reveal that the present price of each juvenile prawn is about 0.50 Baht, hence an investor should obtain Internal Rates of Return of 125.23, 172.55 and 277.48% for small, medium and large scales of production. Further, the higher the price, as the present trend indicates, the greater the benefit to the investor; this benefit also increases with the increasing scale of producing. Therefore, the larger the size of production, the greater the benefit for the project. Regarding the three land sizes for the farming project, the results are as follows. For the size of 5 rais, the Internal Rates of Return are 21.70, 35.52, 48.29, 60.39, 72.05 and 83.40% for the selling prices of 100, 110, 120, 130, 140 and 150 Baht per kilogram, respectively. For the size of 15 rais, the Internal Rates of Return are 28.90, 43.23, 56.62, 69.42, 81.83 and 93.78% for the selling prices of 100, 110, 120, 130, 140 and 150 Baht per kilogram, respectively. For the size of 50 rais, the Internal Rates of return are 29.46, 43.49, 56.63, 69.21, 81.41 and 93.33% for the selling prices of 100, 110, 120, 130, 140 and 150 Baht per kilogram, respectively. Interviews with investors reveal that the present price of adult prawns is about 130 Baht per kilogram, hence an investor should obtain Internal Rates of Return of 60.39, 69.42 and 69.21% for small, medium and large scales of production. With the present trend of increasing prices, the investor should obtain higher benefits, which is also true for prawn producing. These results show that since the discount rate in each case is less than the Internal Rate of Return, Profits can be made. Financially, therefore, such an investment should be seriously considered and made. While the obtained Internal Rates of Return for both projects are before-tax rates, and while a major hypothesis is that the capital is wholly invested by the project owner, these rates are extremely high. This means, considering the prevailing interest payment (say 20% p.a.) and tax obligations, we will still obtain high after-tax Internal Rates of Return. One obvious conclusion is that hatchery producing requires much less time than farming (40 to 45 days compared with 6 to 8 months). Besides, the author thinks a major problem may arise in the producing phase should the investor lacks a seawater source. In practice, investors have more problems with hatchery producing than with farming. Additionally, the products of farming are more visible, in other words, the adult prawns can be immediately consumed. Consequently the farming project should be preferable to investors. With respect to obstacles and problems encountered in these projects, the following cases are usually met: a. the death of juveniles in the first week of metamorphosis due to dirty water in the hatcheries which can be prevented through keeping the water clean and controlling the food. b. water pollution in the environment, which can be eliminated or alleviated by closer cooperation between the state and private sectors. For investors who lack substantial capital funds, it is advised that they initially maintain small – scale production and later expand the scale of investment. If capital borrowing is required, it should be from an low – interest source. A major goal in the operations is steady production. As for non – technical government assistances, the most important aspects are sufficient capital fund provision and suitable loan interest rates to inspire investors together with the attractive rates of return. Future output may be high enough to replace all imported prawns, which could help save valuable foreign exchange and thus alleviate the country’s economic conditions.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การธนาคารและการเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25775
ISBN: 9745612421
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilaivan_Ko_front.pdf650.45 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ko_ch1.pdf332.17 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ko_ch2.pdf574.99 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ko_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ko_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ko_ch5.pdf451.2 kBAdobe PDFView/Open
Vilaivan_Ko_back.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.