Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประยูร จินดาประดิษฐ์
dc.contributor.advisorปิยรัตน์ กฤษณามระ
dc.contributor.authorสยุมพร บุญรอด
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-25T11:48:04Z
dc.date.available2012-11-25T11:48:04Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745639753
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25928
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานของธนาคารพาณิชย์อย่างมาก ทั้งนี้ด้วยความสามารถในการประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตลอดจนแบ่งเบาภาระงานประจำที่ต้องบันทึกซ้ำซ้อน ซึ่งงานเหล่านี้นับวันจะมีมากขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจ วางแผน และประเมินผล โดยสามารถเรียกใช้ได้ในทันทีที่ต้องการ ด้วยความสามารถดังกล่าวคอมพิวเตอร์จึงเหมาะกับงานของธุรกิจที่มีสภาพการแข่งขันสูง และขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นธนาคาร การควบคุมพัสดุคงคลังเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญต่อการบริหารงานด้านพัสดุคงคลังของธนาคารอย่างยิ่ง เพราะถ้าปริมาณพัสดุคงคลังมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการจะทำให้มีผลเสียหายต่อธนาคารได้ ในทางตรงข้ามถ้าปริมาณพัสดุคงคลังมีมากจนเกินไป ธนาคารต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อลงทุนสร้างพัสดุคงคลังจำนวนนี้ เงินจำนวนนี้เท่ากับเก็บไว้เฉย ๆ ในรูปพัสดุคงคลัง แทนที่จะมีโอกาสนำออกมาหาผลตอบแทนทางด้านอื่น เช่น นำไปให้กู้ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงต้องศึกษาถึงปริมาณพัสดุคงคลังที่จะเก็บเอาไว้ในคลังพัสดุ และศึกษาถึงปริมาณที่จะสั่งซื้อในแต่ละครั้ง เพื่อให้ค่าใช้จ่ายด้านพัสดุคงคลังต่ำสุด งานด้านพัสดุคงคลังของธนาคารมักจะมีปัญหาในเรื่องความล่าช้าของข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ เช่น การกำหนดขนาดของการสั่งซื้อ การกำหนดจุดสั่งซื้อ ซึ่งต้องอาศัยสถิติของข้อมูลในอดีตมาคำนวณโดยอาศัยสูตรทางคณิตสาสตร์ การจัดทำรายงานสำหรับเสนอผู้บริหาร ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพัสดุคงคลัง ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจ ธนาคาร การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับระบบการควบคุมพัสดุคงคลังจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น และทำให้การบริหารงานด้านพัสดุคงคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า ธนาคารพาณิชย์นอกจากจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้กับกิจการด้านอื่น ๆ เช่น ด้านเงินฝาก ด้านสินเชื่ออยู่แล้ว เมื่อลงทุนนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับระบบควบคุมพัสดุคงคลังด้วย จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมพัสดุคงคลังที่คุ้มค่ากว่า การไม่ใช้คอมพิวเตอร์หรือไม่ โดยแบ่งวิเคราะห์ตามขนาดของธนาคารพาณิชย์คือ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก การวิเคราะห์โดยใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ และวิธีคำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือ ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวก และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน แสดงว่าการลงทุนนั้น ธนาคารได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ธนาคารควรนำเอาคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้ในการควบคุมพัสดุคงคลังด้วย แต่ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นลบ แสดงว่าการลงทุนนั้นไม่คุ้มค่า ธนาคารไม่ควรนำเอาคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้กับระบบการควบคุมพัสดุคงคลัง ผลของการศึกษาปรากฏว่า ทั้งธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวก และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน แสดงว่าธนาคารพาณิชย์เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้กับระบบการควบคุมพัสดุคงคลัง จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า และเมื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ปรากฏว่า ธนาคารสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการควบคุมพัสดุคงคลังได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายของระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จะต่ำกว่าระบบควบคุมด้วยวิธีอื่น ซึ่งนอกจากประหยัดเป็นตัวเงินแล้ว ระบบการควบคุมพัสดุคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ยังก่อให้เกิดประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้ด้วย เช่น ในด้านประสิทธิภาพของการควบคุม ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการบันทึกและรายงานผล ดังนั้นธนาคารจึงควรพิจารณานำคอมพิวเตอร์มาใช้กับระบบควบคุมพัสดุคงคลังของธนาคาร
dc.description.abstractalternativeAt present, computer plays a significant role in commercial banking operations. With its high efficiency and rapidity in data processing, computer can help banking business in all sections, not only reducing the routine drudgery of work but also helping in data collection which will be useful in banking planning. For the Inventory section, the inventory Control is relevant to banking inventory management. Insufficiency of Inventory will definitely deteriorate the work process of the organization. However, the excessive stock will also burden the high cost. Inorder to having excessive stock, lots of money will be expenditured in building inventory stock instead of resource distribution such as loans that give more yields to bank. Banking, hence, need some source of information in making decision. However, at present most commercial banks are facing with the delay of information which can not be easily presented manually at the right time. ‘Economic Order Quantities’ and ‘Re-Order Point’ are the good examples of the problems, as these data need the complicated mathematical methods and computer is one of the solution to solve these problems. The purpose of this thesis is to study whether the use of computer in inventory section, apart from using in deposits and credits sections, will increase more yields to bank or not. The analysis will be based on the Net Present Value Method and the Internal Rate of Return Method by considering from the size of commercial banks which will be classified into 3 different types : large, medium and small, Consideration criteria, if the net present value is positive and the rate of return on investment is higher than its cost, it means that using computerized system in inventory control is appropriate to bank and vice versa. From this study, it is concluded that regardless the size of commercial banks, it is worth for investment. The study explicity indicates that the net present value of all sample commercial banks yield the positive value and the rate of return on investment is higher than its cost. As a result banks should make an investment in computerized inventory system. According to this analysis, cost of computerization for stated purposes tends to be declining substantially and lower that cost of manual system. Thus, using computer for inventory control is likely to be cost justified. In addition to reduce the cost, computerized inventory system will get benefit which can’t evaluate by quantitive method: system control efficiency, accuracy and speed on data processing. Thus, banks should make an investment in computerized inventory system.
dc.format.extent581791 bytes
dc.format.extent269844 bytes
dc.format.extent754228 bytes
dc.format.extent769883 bytes
dc.format.extent633682 bytes
dc.format.extent1774983 bytes
dc.format.extent327537 bytes
dc.format.extent462548 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบผลการลงทุนในการใช้คอมพิวเตอร์ กับการไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ในระบบการควบคุมพัสดุของธนาคารพาณิชย์ไทยen
dc.title.alternativeA comparative study of the return on investment between computer and manual application in inventory control of Thai commercial banken
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการธนาคารและการเงินes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sayoomporn_Bo_front.pdf568.16 kBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_ch1.pdf263.52 kBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_ch2.pdf736.55 kBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_ch3.pdf751.84 kBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_ch4.pdf618.83 kBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_ch5.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_ch6.pdf319.86 kBAdobe PDFView/Open
Sayoomporn_Bo_back.pdf451.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.