Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25955
Title: ภาษาสอบถามภาษาไทยสำหรับฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์
Other Titles: Thai query language for relational data base
Authors: ดิเรก เอกบูรณะวัฒน์
Advisors: วันชัย ริ้วไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานในธุรกิจ ในเมืองไทยยังไม่แพร่หลายเท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว เพราะว่าขาดแคลนหนังสือและเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาไทย นอกจากนี้แล้วโปรแกรมสำเร็จรูป ยังทำงานด้วยภาษาอังกฤษ งานวิจัยนี้จึงเกิดแนวทางที่จะสร้างภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน โดยพยายามใช้ภาษาในรูปแบบที่เป็นภาษาไทยธรรมชาติหรือใกล้เคียงมากที่สุด จึงทำการสร้างภาษาสอบถามเพื่อใช้งานกับฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการจัดการข้อมูลและภาษาสอบถามเป็นภาษาที่เหมาะกับการนำไปใช้ในแง่การสอบถามสารสนเทศ และเป็นภาษาที่มีโครงสร้างของการง่านต่อความเข้าใจและการใช้งาน เหมาะที่จะนำไปสร้างภาษาในแบบภาษาธรรมชาติการ วิจัยนี้แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ เริ่มโดยการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างประโยคคำสั่งในภาษาไทย ขั้นต่อมา คือ สรุปแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้เป็นประโยคคำสั่งสำหรับคอมพิวเตอร์ จากการวิเคราะห์ประโยคคำสั่งและการสรุปแนวทาง จึงได้เลือกใช้ภาษาในแบบกึ่งภาษาไทยธรรมชาติ ซึ่งเป็นประโยคภาษาไทยที่มีข้อจำกัดเล็กน้อย โดยการใส่ฟันหนูหรือฝนทองเข้าที่กลุ่มคำบางชนิด ขั้นตอนที่สาม คือ การออกแบบตัวประมวลผลภาษาสอบถามภาษาไทย และขั้นตอนสุดท้าย คือ การสร้างประมวลผลภาษาสอบถาม การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถเข้าใกล้ภาษาไทยธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำไปสร้างเพิ่มเติม ให้เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับสอนการใช้งานคำสั่งภาษาสอบถาม และดัดแปลงเพื่อประยุกต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องอาศัยข้อมูลภาษาไทยในรูปแบบอื่น ๆ
Other Abstract: Business applications of micro computer in Thailandnot wildly use like other developed countries because lacking of text books and documents in Thai language. And also most of the program use strictly syntax English command.This research attempted to develop computer language that easy to operates and learning. The language* which satisfies this purpose are Thai natural language or others which closely properties. This research selected relational data base apply with data management application and used Thai query language. This Thai query language design to have semi Thai-natural language grammar. This research composes of four portions. The first portion is study and analyse Thai natural language. The second portion is decision to select the best appropriate syntax or form of the language. Semi Thai-natural language which have some type of words written in code punctuation is the result 'of this portion. The last portion is construction of Thai query language processor. The knowledger from this research can be a basic idea in development of Thai-natural language command, Menudriven Thai query language andThai-natural language Computer Assisted Instruction(CAI).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25955
ISBN: 9745669326
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Direk_Ek_front.pdf485.78 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ek_ch1.pdf526.18 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ek_ch2.pdf665.39 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ek_ch3.pdf892.67 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ek_ch4.pdf485.56 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ek_ch5.pdf293.69 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Ek_back.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.