Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26041
Title: ความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของประชากรวัดแรงงาน : ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะข้อมูล ปี พ.ศ.2542 และปี พ.ศ.2545
Other Titles: Desired working competencies of the labour-foce age : a comparative study of 1999 and 2002 data
Authors: อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต
Advisors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Issue Date: 2547
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของประชากรวัยแรงงานและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน โดยศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลในปีพ.ศ. 2542 รอบที่ 1 (กุมภาพันธ์) และปีพ.ศ. 2545 ไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ทั้งนี้เพื่อทราบผลการเปลี่ยนแปลงถึงความต้องการดังกล่าวระหว่างช่วงวิกฤตเศรษฐกิจกับช่วงที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น ที่มาของแหล่งข้อมูลได้จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว ในปีพ.ศ. 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 45,528,840 ราย (จำนวนไม่ถ่วงน้ำหนัก 125,629 ราย) และในปีพ.ศ.2545 มีจำนวน 47,441,734 ราย (จำนวนไม่ถ่วงน้ำหนัก 166,515 ราย) ผลจากการศึกษาพบว่า แนวโน้มความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานในปีพ.ศ. 2545 มีสัดส่วนที่ลดลงเล็กน้อยจากปี พ.ศ. 2542 (จากร้อยละ 21.2 ลดเหลือร้อยละ 20.6) โดยประชากรวัยแรงงานต้องการจะได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในหลักสูตรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในสัดส่วนเพิ่มขึ้น และในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานกับลักษณะทางประชากรและลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการวิเคราะห์ตารางไขว้ พบว่า ตัวแปรเพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพการทำงาน อาชีพ รายได้ของลูกจ้าง เขตที่อยู่อาศัย และภาคที่อยู่อาศัย เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับต่ำกว่า 0.05 และในตัวแปรเพศ อายุ สถานภาพการทำงาน เขตที่อยู่อาศัย และภาคที่อยู่อาศัยมีทิศทางเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ในขณะที่ตัวแปรอาชีพพบว่า ความสัมพันธ์มีทิศทางเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้เฉพาะในปีพ.ศ. 2545 ส่วนตัวแปรสถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา และรายได้ของลูกจ้าง พบว่า ความสัมพันธ์มีทิศทางไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน เมื่อพิจารณาด้วยตัวแปรอายุ เขตที่อยู่อาศัย และภาคที่อยู่อาศัยเป็นตัวแปรควบคุม ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพศ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพการทำงาน อาชีพ และรายได้ของลูกจ้างกับความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (ความสัมพันธ์ลวง) สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอายุ เขตที่อยู่อาศัย และภาคที่อยู่อาศัยกับความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานมีแบบแผนความสัมพันธ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (ความสัมพันธ์ที่แท้จริง) ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรจะมีการส่งเสริมในเรื่องการให้ความรู้และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของประชากรวัยแรงงานให้มากยิ่งขึ้น ตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะความสามารถเพื่อสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในโลกยุคโลกาภิวัตน์ รวมถึงให้มีการสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของประชากรวัยแรงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวจักเป็นการสร้างฐานประชากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: This study purported to identify the desired working competencies of the population in the labour-force age and factors affecting the desired working competencies. Based on a comparative study of the NSO survey data in 1999 -- round 1 (February) -- and in 2002 --trimester 1 (January - March), it was to see if the desired working-competencies during the economic crisis were different from those in the economic upturn. The sample included 45,528,840 weighted (125,629 unweighted) and 47,441,734 weighted (166,515 unweighted) population at 15 years of age and over for the years 1999 and 2002, respectively. The study finds the proportion of the desired working competencies in 2002 slightly declining from that in 1999 (from 21.2% to 20.6), with an increasing proportion of those related to computer and technology. Cross tabulation analyses show significant relations between the desired working competencies of the labour force and these variables: sex, age, marital status, household members, education, work status, occupation, area of residence, and region of residence. The relations with sex, age, work status, area of residence and region of residence were in the same direction as the hypothesis. Yet, for the occupation variable, it is the case only for 2002. The relations with these variables are not in the same direction as the hypothesis: marital status, household members, education, and income of the labour - force. When controlled by age, area of residence and region of residence, the study finds changes in the relations-- spurious relations -- with sex, marital status, household members, education, work status, occupation, and income. Meanwhile, the relations with these variables did not change -- authentic relations: age, area of residence and region of residence. The findings suggest that the government and the private sector upgrade knowledge and training for the labour force in response to changing desired competencies and relevant government policies in the globalization era. Research supports on an on-going basis are also needed to identify ways and means to strengthen the working competencies of the labour - force so as to develop a quality human - capital base needed for sustained development of the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26041
ISBN: 9741762453
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anlaya_sm_front.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Anlaya_sm_ch1.pdf12.84 MBAdobe PDFView/Open
Anlaya_sm_ch2.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open
Anlaya_sm_ch3.pdf8.39 MBAdobe PDFView/Open
Anlaya_sm_ch4.pdf23.26 MBAdobe PDFView/Open
Anlaya_sm_ch5.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Anlaya_sm_back.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.