Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26060
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้จากภาพถ่ายและภาพวาดของเด็กอนุบาล
Other Titles: A comparative study of the perception of photographs and drawings in kindergarten children
Authors: ดวงพร เลาหกุล
Advisors: แบรี่, จีน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาจิตวิทยา
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรับรู้ภาพถ่ายและภาพวาดของเด็กอนุบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลซึ่งมีอายุระหว่าง 5–6 ปี ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนอนุบาลเลาหจิตร อ.เมือง จ.ลำพูน จำนวน 40 คน เป็นชาย 20 คน หญิง 20 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแยกชั้นจากจำนวนเด็กทั้งหมด 129 คน เป็นชาย 68 คน หญิง 61 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 10 คน ให้กลุ่มที่ 1 ได้รับการทดสอบการรับรู้รูปภาพชนิดภาพวาดก่อน ตามด้วยการทดสอบการรับรู้รูปภาพชนิดภาพถ่าย และกลุ่มที่ 2 ได้รับการทดสอบการรับรู้รูปภาพชนิดภาพถ่ายก่อนตามด้วยการทดสอบการรับรู้รูปภาพชนิดภาพวาด โดยเว้นระยะระหว่างการทดสอบครั้งแรกและการทดสอบครั้งหลังนาน 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสร้างขึ้นโดยดัดแปลงจากเครื่องมือทดสอบการรับรู้ความรู้สึกในรูปภาพของติริโกลกี้แบ่งเป็นเครื่องมือชุดภาพวาดและเครื่องมือชุดภาพถ่าย เครื่องแต่ละชุดจะประกอบด้วยภาพแห่งไม้จัดเรียงเป็นรูปร่างต่าง ๆ กันจำนวน 15 ภาพ ซึ่งภาพที่ใช้เครื่องมือทั้ง 2 ชุด จะเป็นภาพแท่งไม้ที่จัดเรียงในรูปแบบเดียวกัน การเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้ภาพถ่ายของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 รวมกับกลุ่มตัวอย่างที่ 2 รวมกับคะแนนการรับรู้ภาพวาดของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 รวมกับกลุ่มตัวอย่างที่ 2 โดยการทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยด้วยค่าทีแบบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กัน (t-depebdebt) พบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้ภาพถ่ายได้ดีกว่าภาพวาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to @Bmpare perceptions of photographs and of drawings wrong kindergarten children. The subjects were 40 children: 20 boys and 20 girls randomly selected by stratified sampling from 129 kindergarten children, 68 boys and 61 girls enrolled at Laohajid School, Lampoon. All subjects were devided into two groups, experimental group 1 and experimental group 2. Each group included 20 children, 10 boys and 10 girls, Subjects in the experimental group 1 were given the photograph perception test first and, a week later, the drawing perception test. Subjects in the experimental group 2 were given the drawing perception test first and the photograph perception test one week later. Test materials were a modified Version of Deregowski's picture depth perception test : there were two sets, a set of photographs and a set of drawings. Both sets represented the same 15 pictures of different models of wooden blocks. Combined scores of group 1 and group 2 on the photograph perception test and on the drawing perception test were analyzed using the t-test and showed a significant difference at the ,05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26060
ISBN: 9745648493
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangporn_La_front.pdf379.99 kBAdobe PDFView/Open
Duangporn_La_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Duangporn_La_ch2.pdf400.27 kBAdobe PDFView/Open
Duangporn_La_ch3.pdf443.8 kBAdobe PDFView/Open
Duangporn_La_ch4.pdf395.53 kBAdobe PDFView/Open
Duangporn_La_ch5.pdf288.56 kBAdobe PDFView/Open
Duangporn_La_back.pdf517.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.