Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26169
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุทุมพร จามรมาน
dc.contributor.authorชุมพล เขมาปทุมศักดิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-26T09:21:22Z
dc.date.available2012-11-26T09:21:22Z
dc.date.issued2526
dc.identifier.isbn9745624411
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26169
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการเรียงลำดับตัวเลือก(3 ลักษณะคือ เรียงจากค่าน้อยไปหาค่ามาก เรียงจากค่ามากไปหาค่าน้อย และเรียงแบบผสม) และการวางรูปแบบการพิมพ์ (3 รูปแบบคือ พิมพ์เรียงข้อความลงตามลำดับ พิมพ์เรียงข้อความลง แต่แยกออกเป็น 2 ตอน พิมพ์เรียงข้อความตามขวางและแยกออกเป็น 2 ตอน) ของข้อกระทง มีผลต่อแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค.204 ในด้านคะแนนสอบของนักเรียน ค่าความเที่ยง และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดของแบบทดสอบ หรือไม่เพียงใด แบบทดสอบที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค.204 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง 0.873 ความตรงตามสภาพ 0.791 ได้นำมาดัดแปลงเป็นแบบทดสอบสำหรับการวิจัย 9 ฉบับ (การเรียงลำดับตัวเลือก 3 ลักษณะกับการวางรูปแบบการพิมพ์ 3 รูปแบบ) ประชากรเป็นนักเรียนโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม.2) จำนวน 553 คน โดยแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม (ประมาณกลุ่มละ 61 คน) ให้ทำแบบทดสอบกลุ่มละ 1 ฉบับและทำการสุ่มกลุ่มละ 46 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 414 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนสอบแต่ละฟอร์ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง หาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบแต่ละฟอร์มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนของ ฮอยท์ แล้วเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเป็นค่าพิชเชอร์ซี และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเรียงลำดับตัวเลือก (3 ลักษณะ) กับการวางรูปแบบการพิมพ์(3 รูปแบบ) ของข้อกระทง ทำให้ 1. คะแนนสอบของนักเรียนที่ทำแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค.204 แต่ละฟอร์ม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และ 2. ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค.204 แต่ละฟอร์ม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ส่วนค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดของแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค.204 แต่ละฟอร์มปรากฏว่ามีค่าแตกต่างกันเล็กน้อย
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to find out the effects of three types of choice-arrangement (from less value to the high ones, from the high value to the less ones and mixture form) and three types of printing format (writing down the section, writing down the section but separated into 2 parts and writing across the section but separated into 2 parts) on the achievement scores of M.S.2 students, the reliability as well as standard error of measurement of the test itself. The test under study was a Mathematic 204 in which was constructed by the researcher. It showed the coefficients of reliability and concurrent validity 0.873 and 0.791, respectively. The test was later arranged into 9 different forms with respect to choice-arrangement and printing format. The tests were administered by nine groups of students, M.S.2 of Wimuttayaram Phitthayakorn School (one group for one test) and we selected randomly students of each group. The data were collected and analyzed using the factorial design ANOVA, Fisher’s Transformation and X-test. The results of the three types of choice-arrangement and printing-format were: 1. The differences of students achievement scores on each form of Mathematic 204 Tests were not significant. 2. The differences of the reliability coefficients on each form of the test were not significant. In addition the Standard Eror of Measurement on each form of the tests showed little differences:
dc.format.extent516053 bytes
dc.format.extent819149 bytes
dc.format.extent540339 bytes
dc.format.extent604721 bytes
dc.format.extent437686 bytes
dc.format.extent858513 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของการเรียงลำดับตัวเลือก และการวางรูปแบบการพิมพ์ของข้อกระทงต่อคะแนนสอบ และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบen
dc.title.alternativeEffects of choice arrangement and printing format of items on scores and reliability of testen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Choomphone_Kh_front.pdf503.96 kBAdobe PDFView/Open
Choomphone_Kh_ch1.pdf799.95 kBAdobe PDFView/Open
Choomphone_Kh_ch2.pdf527.67 kBAdobe PDFView/Open
Choomphone_Kh_ch3.pdf590.55 kBAdobe PDFView/Open
Choomphone_Kh_ch4.pdf427.43 kBAdobe PDFView/Open
Choomphone_Kh_back.pdf838.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.