Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
dc.contributor.authorสามารถ หอประสิทธิ์กุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-26T13:05:42Z
dc.date.available2012-11-26T13:05:42Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745660655
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26217
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์และครูช่าง เกี่ยวกับราชวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับช่างอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2527 ตัวอย่างประชากร เป้นครูวิทยาศาสตร์ 67 คน และครูช่าง 243 คน จากวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยทางไปรษณีย์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ มัชฌัมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวอย่างประชากรที่เป็นครูวิทยาศาสตร์ มีวามคิดเห็นโดยเฉลี่ยเกี่ยวกับหลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์ ดังต่อไปนี้ 1.1 การบริหารหลักสูตรโดยเฉลี่ยมีความเหมาะสมน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อกระทง พบว่า การบริหารหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ที่ได้ระบุไว้ในข้อกระทงที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ สถานศึกษาได้วางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการนำวิชาวิทยาศาสตร์มาใช้ สถานศึกษาได้มีการจัดอบรมบุคลากรสำหรับการนำวิชาวิทยาศาสตร์มาใช้ ผู้สอนได้รบคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์จากศึกษานิเทศก์ สถานศึกษาได้ชี้แจงลักษณะของวิชาวิทยาศาสตร์แก่ผู้เรียน สถานศึกษาได้เชิญวิทยากรผู้รงคุณวุฒิมาร่วมปรึกษาและอภิปรายปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ร่วมกับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 1.2 จุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยเฉลี่ยมีความเหมาะสมปานกลางและไม่พบว่ามีข้อกระทงใดที่แสดงว่าจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีวามเหมาะสมน้อย 1.3 เนื้อหาโดยเฉลี่ยมีความเหมาะสมปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อกระทง พบว่า ข้อกระทงที่มีสภาพการณ์ตามที่ได้ระบุไว้ อยู่ในระดับน้อยได้แก่ เนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้สอน เนื้อหาเปิดโอกาสให้ผู้สอนสอนได้ทันตามกำหนดเวลา เนื้อหาเอื้ออำนวยให้ทำการทดลองได้ 1.4 กิจกรรมการเรียนการสอนโดยเฉลี่ยมีความเหมาะสมปานกลางและข้อกระทงที่มีสภาพการณ์ตามที่ได้ระบุไว้อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทดลองเป็นที่รำคาญแก่ห้องข้างเคียง 1.5 การประเมินผลโดยเฉลี่ยมีความเหมาะสมปานกลาง และไม่พบว่ามีข้อกระทงที่มีสภาพการณ์ตามที่ได้ระบุไว้ อยู่ในระดับน้อย 2. ตัวอย่างประชากรที่เป็นครูช่าง มีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยว่า เนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนหรือการนำไปใช้ในทางช่าง อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ช่างเทคนิคการผลิต ช่างเทคนิคโลหะ ช่างต่อเรือ ช่างเล็กทรอนิกส์ และมีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนหรือการนำไปใช้ในทางช่าง อยู่ในระดับมาก สำหรับช่างยนต์ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม และช่างไฟฟ้ากำลัง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า จำนวนรายการ เนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอน หรือการนำไปใช้ในทางช่าง อยู่ในระดับน้อย สำหรับช่างต่าง ๆ มีดังนี้ คือ ช่างก่อร้าง 59 รายการ ช่างโยธา 14 รายการ ช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม 37 รายการ ช่างยนต์ - รายการ ช่างเทคนิคการผลิต 40 รายการ ช่างเทคนิคโลหะ - รายการ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม 16 รายการ ช่างต่อเรือ 45 รายการ ช่างไฟฟ้ากำลัง 6 รายการ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ 27 รายการ
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to investigate the opinions of science teachers and industrial trade teachers concerning science subjects for industrial trade of technical diploma curriculum, B.E. 2527. The samples were 67 science teachers and 243 industrial trade teachers from the colleges under Department of Vocational Education. The research tools were the questionnaires constructed by the researcher himself. The data gathered were done through the postal service. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The results were as the following: 1. The opinions of science teachers concerning science subjects were: 1.1 The curriculum managements were lowly appropriate. The curriculum management items which operated at the low level were that: - Educational institutions had previously planned for science subject implementation. - Educational institutions had given in-service training to the staff before the science subject implementation. - Teachers were supervised on science subject implementation. - Educational institutions had given the science subject description to students. - Educational institutions had invited the specialists to discuss the problems of science teaching with the science teachers. 1.2 The science objectives were moderately appropriate and none of the objective items was appropriate at the low level. 1.3 The science contents were moderately appropriate. However, some content items which were appropriate at the low level were: - The provided contents and their instructional time were appropriate. - The availability of the time for the instructor to complete the course. - The contents were suitable for experimentation. 1.4 The science instructional activities were moderately appropriate but the only one item which was at the low level was that: - The experimental activities caused disturbance to the classrooms nearby. 1.5 The evaluations in science subject were moderately appropriate and no item was at the low level. 2. The opinions of industrial trade teachers concerning the necessary of science content in the instructions of industrial trade or their application in industrial trade were at the moderate level for construction technology, civil technology, architectural technology, production technology, metal technology, boat building technology, and electronic technology. However, they were at the high level for automotive technology, industrial technology, and electrical technology. Considering each content item for each field of industrial trade, it was found that the number of content items which were lowly essential in the instructions or application in industrial trade were as the following: Construction technology 59 items Civil technology 14 items Architectural technology 37 items Automotive technology - items Production technology 40 items Metal technology - items Industrial technology 16 items Boat building technology 45 items Electrical technology 6 items Electronics technology 27 items
dc.format.extent551066 bytes
dc.format.extent400149 bytes
dc.format.extent696336 bytes
dc.format.extent442418 bytes
dc.format.extent1816707 bytes
dc.format.extent727054 bytes
dc.format.extent1253672 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์และครูช่าง เกี่ยวกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับช่างอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2527en
dc.title.alternativeOpinions of science teachers and industrial trade tachers concerning science subjects for industrial trade according to technical diploma curiculum, B.E. 2527en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samart_Ho_front.pdf538.15 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Ho_ch1.pdf390.77 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Ho_ch2.pdf680.02 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Ho_ch3.pdf432.05 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Ho_ch4.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Samart_Ho_ch5.pdf710.01 kBAdobe PDFView/Open
Samart_Ho_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.