Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26226
Title: การประมาณการทรุดตัวและพารามิเตอร์ดิน ของถนนทางเข้าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง
Other Titles: Settlement prediction and soil parameters of Bangpakong Thermal power plant entrance road
Authors: สานิตย์ ศรีสุข
Advisors: สุรฉัตร สัมพันธารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทรุดตัวของชั้นดินเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ผู้วิจัยได้ประมาณการทรุดตัวคันดินถมของถนนที่ทำการวิจัยซึ่งสูงประมาณ 2.00 ม. สร้างอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อนมีความหนาประมาณ 20.50 ม. ได้ทำการวิเคราะห์จากวิธีขั้นพื้นฐาน 1 มิติ วิธี ทฤษฏีอิลาสติก วิธีของ Skempton และ Bjerrum, 1957 วิธีทางเดินของหน่วยแรง และวิธีไฟไนท์เอลลิเมนต์ จากผลการวิเคราะห์ได้แสดงว่าวิธีการเหล่านี้ได้ให้ค่าต่างกันพอสมควร โดยที่วิธีขั้นพื้นฐาน 1 มิติ และวิธีของ Asaoka (1978) ให้ค่าใกล้เคียงการทรุดตัวจริงมากกว่า ลักษณะของชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 20.50 ม. นี้ มีชั้นดินเหนียวปานกลางหนาประมาณ 1.50 ม. แทรกอยู่ที่ระดับความลึก -4.70 ถึง -6.20 ม. ( MSL) โดยผิวดินอยู่ที่ระดับ 0.80 ม. ( MSL ) ซึ่งมีค่าปริมาณความชื้น (Wn ) ระหว่าง 52 ถึง 116% ค่า PI ระหว่าง 35 ถึง 68% ความหนาแน่นรวม (YI ) ระหว่าง 1.41 ถึง 1.70 ตัน/ม3 ค่า Su(FV) ระหว่าง 0.8 ถึง 5.6 ตัน/ม2 และ Su(UU) ระหว่าง 0.4 ถึง 2.9 ตัน/ม2 การทรุดตัวอัดแน่นชั้นที่สองสำหรับช่วงเวลา 1 รอบ ของระยะเวลาที่สิ้นสุดการอัดตัวคายน้ำ ให้ค่ามากเมือเปรียบเทียบกับการทรุดตัวเนื่องจากการอัดตัวคายน้ำ ทั้งนี้เพราะดินมีปริมาณสารอินทรีย์ และดัชนีพลาสติคสูง พารามิเตอร์ดินที่ได้จากการทดสอบการอัดตัวคายน้ำแบบ 1 มิติและการทดสอบ UU เป็นค่าพื้นฐานที่ใช้ในงานทั่วไป ซึ่งให้ค่าความปลอดภัยค่อนข้างสูง ส่วนพารามิเตอร์ดินที่ได้จากการทดสอบทางเดินของหน่วยแรงให้ค่าความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ ค่า Su ที่ได้จากการทดสอบ UU ให้ค่าต่ำกว่าทั้งค่าของ Su(FV) และ Su(V) ที่ได้จากการทดสอบ FV สำหรับการประมาณค่ากำลังรับแรงเฉือนที่เสนอโดย Trak(1979) ให้ค่าเฉลี่ยใกล้เคียงค่า Su(V) สามารถให้ประมาณค่ากำลังแรงเฉือนอย่างคร่าว ๆ ของดินที่ทำการศึกษา สัมประสิทธิการอัดตัวคายน้ำ (Cv) ที่ได้จากข้อมูลในสนามซึ่งวิเคราะห์โดยวิธี Asaoka (1978) ให้ค่าสูงแตกต่างจากวิธีของ Lacasse et al. (1975) และวิธีขั้นพื้นฐาน 1 มิติ ที่ได้จากการทดสอบในห้องทดลองมีสัดส่วน ดังนี้ Cv(Asaoka) = 1.7 Cv(Lacasse et al.) = 8.Cv(Lab) อัตราการทรุดตัวจากวิธีของ Lacasse et al., 1975 ซึ่งใช้ et Cv(Lacasse al.) ให้ค่าใกล้เคียงกับอัตราการทรุดตัวในสนามในช่วง 60 % แรกของระดับการทรุดตัวคายน้ำ ส่วนวิธีของ Asaoka, 1978 ซึ่งใช้ Cv(Asaoka) และวิธีของ Lacasse et al., 1975 ที่ใช้ Cv(Asaoka) ให้ค่าอัตราการทรุดตัวใกล้เคียงกัน โดยให้ค่าระดับการทรุดตัวคายน้ำที่ 90 % ใกล้เคียงในสนาม
Other Abstract: Generally, the Settlement is a crucial problem especially in soft clay. The researcher predicted the settlement of 2.0 m. hight embankment on 20.5 m. thick soft clay by the conventional one-dimension, the elastic theory, the Skempton & Bjerrum (1957), the stress path and the finite element method. The result of the conventional one-dimension method and the Asaoka method (1978) are nearly the field. The Soft Clay encountered is 20.5 m. thick, having the medium clay interbeded at depth of about-4.70 to -6.20 m (MSL) while the ground surface is 0.80 m. (MSL). Soil condition can be explained as the following. Water Content 52-116% Plasticity Index 35-68 % Unit Weight 1.41-1.70 t/m3 Field Vane Shear Strength, Su(FV) 0.8-5.6 t/m2 Undrained Shear Strength from UU Test, Su(UU) 0.4-2.9 t/m2 The secondary compression for one cycle (log t/t100=1.0) is high when compare with the consolidation settlement according to high organic content and plasticity index. It is indicated that soil parameters from the conventional one dimension and UU Test for prediction settlement are more conservative than stress path method. Undrained shear strength from UU Test, Su(UU), is lower than the corrected field vane shear strength, Su(V). The corrected field vane shear strength is approximate the undrained shear strength summited by Trak (1979). The coefficient of consolidation for field settlement predicted by Asaoka(1978) is the highest value to compare with Lacasse et al.(1975) and the convention one-dimensional method. This ratio is present below. Cv(Asaoka) = 1.7Cv(Lacasse et al.) = 8.Cv(Lab) Rate of consolidation predicted by Lacasse et al., (1975) method which used Cv(Lacasse et al.) is approximate in the first 60% degree of consolidation in the field. However, both methods of Asaoka (1978) and Lacasse et al. (1975) which estimated by using Cv(Asaoka) indicated the closet rate of consolidation and 90% degree of field consolidation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26226
ISBN: 9745649139
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanit_Sr_front.pdf708.26 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_Sr_ch1.pdf263.02 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_Sr_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_Sr_ch3.pdf731.58 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_Sr_ch4.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_Sr_ch5.pdf335.43 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_Sr_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.