Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26234
Title: ความมุ่งหมายของการอาชีวศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Goals of vocational-technical education as perceived by administrators, instructors, and students in the Institute of Technology and Vocational Education in Bangkok Metropolis
Authors: สันทัด สาริบุตร
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดลำดับความสำคัญ เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อความมุ่งหมายของการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ทั้งในความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันและความมุ่งหมายที่คาดหวังว่าควรจะเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร จำนวน 96 คน อาจารย์ จำนวน 160 คนและนักศึกษา จำนวน 420 คน ซึ่งสุ่มมาจากวิทยาเขต 11 แห่ง และคณะ 5 แห่ง ที่สังกัดวิทยาเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับความมุ่งหมาย จำนวน 60 ข้อ ซึ่งครอบคลุมความมุ่งหมายด้านผลผลิตและความมุ่งหมายด้านกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน (one –way analysis of variance) การทดสอบแบบเชฟเฟ (Scheffe test) การทดสอบค่าที (t – test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1. การลำดับความสำคัญของความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบัน พบว่า ความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันด้านผลผลิตที่ผู้บริหารและอาจารย์ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ การมีสมรรถภาพและความชำนาญในวิชาชีพชั้นสูงเฉพาะอย่าง ส่วนความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันด้านผลผลิตที่นักศึกษาให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ การมีความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในวิชาชีพ ความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันด้านกระบวนการผลิตที่ผู้บริหารให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ ความสามัคคีในสถาบัน ความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันด้านกระบวนการผลิตที่อาจารย์ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ การศึกษาหาประสบการณ์นอกสถานที่ และความมุ่งหายที่เป็นจริงในปัจจุบันด้านกระบวนการผลิตที่นักศึกษาให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ นวกรรมและเทคโนโลยี 2. การลำดับความสำคัญของความมุ่งหมายที่คาดหวังว่าควรจะเป็นพบว่า ความมุ่งหมายที่คาดหวังว่าควรจะเป็นด้านผลผลิตที่ทั้งผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาต่างก็ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ การมีความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในวิชาชีพ และความมุ่งหมายที่คาดหวังว่าควรจะเป็นด้านกระบวนการผลิตที่ทั้งผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ต่างก็ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกได้แก่ การศึกษาหาประสบการณ์นอกสถานที่ 3. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ที่มีต่อความมุ่งหมายของการอาชีวศึกษา แสดงให้เห็นว่า 3.1 ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ให้คะแนนความสำคัญต่อความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งความมุ่งหมายด้านผลผลิต และความมุ่งหมายด้านกระบวนการผลิต 3.2 ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ให้คะแนนความสำคัญต่อความมุ่งหมายที่คาดหวังว่าควรจะเป็นด้านผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.3 นักศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้คะแนนความสำคัญต่อความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในความมุ่งหมายด้านผลผลิตและความมุ่งหมายด้านกระบวนการผลิต 4. ความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมายด้านผลผลิตและความมุ่งหมายด้านกระบวนการผลิตทั้งในความมุ่งหมายที่เป็นจริงในปัจจุบันและความมุ่งหมายที่คาดหวังว่าควรจะเป็น ตามการรับรู้ขอบงผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา แต่ละกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.7845 – 0.8415)
Other Abstract: Purpose of the Study The purposes of this research were to study the rankings, to compare and to find the relationships of the perceptions of administrators, instructors and students in The Institute of Technology and Vocational Education in Bangkok Metropolis regarding the perceived and preferred goals for vocational – technical education. Procedure The subjects consisted of 96 administrators, 160 instructors and 420 students randomly selected from 11 campuses and 5 faculties of The Institute of Technology and Vocational Education in Bangkok Metropolis. The instrument used in this study was a questionnaire which consisted of 60 goal statements. These goal statements were divided into those on outcome goals and process goals. The data were then analyzed by means of percentages, means, standard deviation, analysis of variance, Scheffe test, t-test and Pearson’s product moment correlation coefficient. Finding 1. Rankings of the perceived goals showed that the outcome goal area o Developing Ability and Specialization was of most importance to the administrators and instructors while students ranked Developing Self-Confidence and Pride in Profession as their most important outcome goal area. The process goal area of Institutional Unity was ranked as most important by the administrators while the instructors ranked Off-Campus Learning and the students ranked Innovation and Technology as their most important process goal area. 2. Rankings of the preferred goals showed that all of the three sample groups ranked the outcome goal area of Developing Self-Confidence and Pride in Profession and the process goal area of Off-Campus Learning as their most important goals. 3. Comparison of the perceptions on goals of vocational-technical education indicated: a. Signifcant differences between administrators’ instructors’ and students’ perceived goals for both outcome goal areas and process goal areas. b. Significant differences between administrators’ instructors’ and students’ preferred goals for outcome goal areas. c. Significant differences between Diploma Students’ and Bachelor Degree Students’ perceived goals for both outcome goal areas and process goal areas. 4. The relationships between outcome goal areas and process goal areas on both perceived and preferred goals for each sample group showed highly positive correlation at the significant level of .01 (r = 0.7845 – 0.8415)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26234
ISBN: 9745627453
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santhad_Sar_front.pdf577.6 kBAdobe PDFView/Open
Santhad_Sar_ch1.pdf565.67 kBAdobe PDFView/Open
Santhad_Sar_ch2.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Santhad_Sar_ch3.pdf805.83 kBAdobe PDFView/Open
Santhad_Sar_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Santhad_Sar_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Santhad_Sar_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.