Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิลปชัย สุวรรณธาดา-
dc.contributor.advisorสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต-
dc.contributor.authorพิมพา ม่วงศิริธรรม, 2503--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-05T11:42:53Z-
dc.date.available2006-06-05T11:42:53Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741706766-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/262-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายของโรงเรียนกีฬา กรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 11-14 ปี จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 4 คน ได้รับการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยการฝึกทักษะทางจิต ได้แก่ เทคนิคการตั้งเป้าหมาย การจินตภาพ การพูดกับตนเองในทางที่ดี การดูตัวแบบ และการให้แรงเสริมทางบวก ควบคู่กับการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาฟุตบอล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ โดยบันทึกพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ของนักกีฬาที่เกิดในแต่ละวัน จากการสังเกตนักกีฬาทั้งสองกลุ่มโดยผู้สังเกตในระยะเส้นฐาน ระยะทดลอง และระยะติดตามผล และนักกีฬา ตอบแบบวัดความมีระเบียบวินัยในตนเองก่อนการทดลอง หลังสิ้นสุดการทดลอง และหลังสิ้นสุดการทดลอง 3 สัปดาห์ นำผลที่ได้จากการสังเกตโดยผู้สังเกต และจากการตอบแบบวัดพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเองโดยนักกีฬา มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละเฉลี่ยของพฤติกรรมที่เกิด วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ และทดสอบค่าทีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1. การปรับพฤติกรรมทางปัญญามีผลต่อพฤติกรรม ความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬา นักกีฬากลุ่มทดลองที่ได้รับการปรับพฤติกรรมทางปัญญา มีพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างจากระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกัน 2. ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล นักกีฬากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในตนเอง ไม่แตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeTo study the effects of Cognitive Behavioral Modification (CBM) on athletes' self-discipline. Subjects were eight male athletes from Bangkok Sport School, aged 11-14 years. They were purposely selected from football team and divided into two groups, the CBM and the control groups. The only CBM subjects were trained the psychological skills techniques: goal setting, imagery, and positive self-talk. Modeling and positive reinforcement techniques were also assigned for the CBM group during the training and competition sessions. Both groups were daily observed self-discipline behaviors by the well-trained observers and recorded the data on the baseline, treatment, and follow-up phases. In each phase, all the subjects were asked to complete self-discipline behavioral forms. Data from observers and Self-discipline Behavioral Forms from three different phases were analyzed. The percentage, two-way Analysis of Variance with Repeated Measures, and t-test were taken into account. The results revealed that: 1. The CBM effected to athletes' self-discipline behaviors. The CBM group showed statistically significant difference between the treatment and follow-up phases from the baseline phase at the .05 level but not on the control group. 2. There was no significant difference between groups on self-discipline behaviors at the treatment and follow-up phases.en
dc.format.extent4232628 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.643-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการปรับพฤติกรรมen
dc.subjectวินัยen
dc.subjectนักกีฬาen
dc.subjectพฤติกรรมen
dc.titleผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักกีฬาen
dc.title.alternativeEffects of cognitive behavioral modification on self-discipline of athletesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพลศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSilpachai.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorSompoch.I@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.643-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimpa.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.