Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26504
Title: | วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน : กรณีศึกษาทางนางมหาเทพกษัตริยสมุห (ครูบรรเลง สาคริก) |
Other Titles: | A musical analysis of Ja-Khay solo : a case study of nang maha thep kasatamuha's kraw nai solo (Mrs.Balang Sakrik's composition) |
Authors: | เกียรติศักดิ์ ทองจันทร์ |
Advisors: | ขำคม พรประสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2548 |
Abstract: | จากการวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน กรณีศึกษาทางนางมหาเทพกษัตริยสมุห (ครูบรรเลง สาคริก) สรุปผลการวิจัยได้ว่า เพลงกราวใน เป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครฝ่ายยักษ์ เป็นเพลงที่ประกอบด้วยเนื้อทำนองและกลุ่มลูกโยนเสียงต่างๆ 10 กลุ่ม 6 เสียง มีคุณลักษณะเหมาะสมในการนำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยว เนื่องจากในกลุ่มลูกโยนต่างๆ ที่ปรากฏในเพลงนั้น เปิดอิสระในการคิดประดิษฐ์ทำนองให้พลิกแพลงได้อย่างหลากหลาย ตลอดทั้งมีการเปลี่ยนกลุ่มเสียงภายในตัวเองมากถึง 3 กลุ่มเสียง จึงทำให้เพลงกราวในโดดเด่นในเรื่องของการดำเนินทำนองและระดับเสียง ส่วนในทางเดี่ยวจะเข้นั้นเลือกกลุ่มลูกโยนเพื่อประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวจากทำนองหลักเพียง 8 กลุ่มเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มลูกโยนที่ 9 และ 10 เป็นกลุ่มลูกโยนที่ซ้ำเสียงและสำนวนกับกลุ่มลูกโยนที่ 1 และ 2 ตลอดทั้งข้อจำกัดในเรื่องขอบเขตเสียงของเครื่องดนตรี นอกจากนี้ในเรื่องของจังหวะพบว่าในทางเดี่ยวเลือกใช้หน้าทับกราวนอกตีประกอบแทนหน้าทับกราวใน เนื่องจากลักษณะของกระสวนจังหวะที่กระชับเอื้อต่อการบรรเลงในทางเดี่ยว ตลอดทั้งในเรื่องของระดับเสียง พบว่าระดับเสียงที่ใช้ในการบรรเลงเดี่ยวลดลงมาจากปกติ 1 เสียง อนุมานได้ว่าเป็นการลดเพื่อต้องการดึงความปลั่งจำเพาะของจะเข้มาใช้ให้มากที่สุด ส่วนลักษณะของการดำเนินทำนองทั้งหมดยกเว้นในกลุ่มลูกโยนที่ 8 นอกจากนี้พบลักษณะเด่นในเรื่องของการดำเนินทำนองแบบลอยจังหวะ การดำเนินทำนองที่ต้องคาบเกี่ยวด้วยสายลวดในอาการต่างๆ และการดำเนินทำนองที่มีเสียงใดเสียงหนึ่งยืนเป็นพื้น และผันเสียงตกสุดท้ายในแต่ละห้องให้แตกต่างกันออกไป พบการใช้กลวิธีพิเศษต่างๆ มากถึง 11 แบบ เช่น การสะบัด การขยี้ การดีดรูดสาย เป็นต้น ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นสิ่งยืนยันความเป็นยอดของเดี่ยวจะเข้เพลงกราวในทางนางมหาเทพกษัตริยสมุห (ครูบรรเลง สาคริก) ได้เป็นอย่างดี |
Other Abstract: | The musical analysis of Phleng Kraw Nai for Jakhay solo composed by Mrs. Mahakasadsamudhra reveals that Phleng Kraw Nai belongs to the category of Phleng Na Phat. It is performed to accompany the marching of demonic characters from the Ramayana epic during the masked dance-drama. The structure comprises of ten groups of "Yon" a tonal non - meter section and six modes. In analyzing of form and modes, it reveals that Phleng Kraw Nai is ranked as the top solo piece in Thai classical music because of all ten "Yon" sections provide a composer to create and play with musical ideas as freely as one wishes; the "Yon" section is only fixed by a tonality but the rhythm and length of the section is left up to a composer's desire and creativity to explore. In addition, metabole is occurred three times. Thus, the melody is outstanding in terms of melodic movements and changes of melodic mode. When the Kraw Nai is arranged for a Jakhay solo, only eight groups of "Yon" are found. Apart from the register of the Jakhay pitches, the ninth and the tenth "Yon" is a repetition of the first and the second groups of "Yon". Regarding rhythmic analysis, it reveals that a rhythmic cycle of Kraw Nok is used instead of the Kraw Nai cycle. The Kraw Nok rhythmic cycle is more compatible with the solo piece than the Kraw Nai cycle. In terms of pitches, the Jakhay solo is one pitch lower than the original piece due to the tonal timber of the instrument. With regards to melodic phrases, it shows that all groups of “Yon” in the solo piece is based on the essential melody of Kraw Nai except the eight group of “Yon”. The special techniques employ free rhythmic improvisation, brass string strumming, and the use of similar melodic patterns with a change of the last pitch within eight measures to make the effects of different sound of drone. In conclusion, there are altogether eleven kinds of special techniques found in Mrs. Mahakasadsamudhra’s Plheng Kraw nai for Jakhay solo, i.e., sabad, kayee, deed rood sai. The musical analysis proves that the Kraw Nai is rightfully ranked as the highest solo piece for Jakhay by Mrs. Mahakasadsamudra. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26504 |
ISBN: | 9745327999 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kiatisak_th_front.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kiatisak_th_ch1.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kiatisak_th_ch2.pdf | 9.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kiatisak_th_ch3.pdf | 8.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kiatisak_th_ch4.pdf | 29.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kiatisak_th_ch5.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kiatisak_th_back.pdf | 5.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.