Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26725
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ พ่วงพิศ-
dc.contributor.advisorธิติมา พิทักษ์ไพรวัน-
dc.contributor.authorสิริรัตน์ เกตุษเฐียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-28T11:04:37Z-
dc.date.available2012-11-28T11:04:37Z-
dc.date.issued2522-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26725-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractในการเตรียมการเพื่อที่จะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินใหม่ และการดำเนินงานภายหลังการปฏิรูปการครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีถึงความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความจงรักภัคดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ มาเป็นกำลังสำคัญในการเตรียมการ และดำเนินงานปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าว ดังนี้ จึงเป็นการเริ่มต้นบทบาทของพระราชวงศ์ อันได้แก่พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอ ในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มบุคคลซึ่งทรงสามารถไว้วางพระราชหฤทัยได้มากที่สุด ทั้งนี้รวมไปถึงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งไปศึกษาต่อทางวิชาการทหารบก ณ ประเทศเยอรมนี จากการนี้ทำให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงมีโอกาสเข้ามามีบทบาททางการทหารทั้งทหารบกและทหารเรือ ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าพระองค์จะทรงอยู่ในราชการทหารนานกว่า 20 ปี แต่ในขณะเดียวกันบทบาททางด้านการทหารของพระองค์ก็มิได้ทำให้สถานภาพทางการเมืองของพระองค์ด้อยความสำคัญลงไปแต่อย่างใด กลับยิ่งเป็นการส่งเสริมให้พระองค์ทรงมีอำนาจต่อรองทางการเมืองมากขึ้น นับเป็นการปูทางสำหรับการก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงมีฐานอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองสูงสุด และจากจุดนี้เองที่ทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จึงเป็นการเสนอข้อเท็จจริงในเชิงวิเคราะห์ถึงสภาพการณ์ทางการเมือง การปกครอง และการทหาร ในช่วงสามรัชกาลสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเอื้อต่อการเข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศในทุก ๆ ด้านของกลุ่มพระราชวงศ์ และวิเคราะห์ถึงบทบาททางการทหารและการเมืองของสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ที่ทรงได้รับการกล่าวอ้างว่าทรงเป็นผู้นำกลุ่มพระราชวงศ์ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในข้อปัญหาและนโยบายต่าง ๆ ของชาติ จนกลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งซึ่งคณะราษฎรใช้เป็นข้ออ้างในการที่จะยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ. 2475-
dc.description.abstractalternativeIn preparing for government reform and the necessary procedure after that, King Rama V realised that he had to be very careful in selecting intellectual as well as loyal officers to serve him for that purpose. Thus began the role of the royal family, which included the King’s brothers and sons, in helping to administrate the affairs of the country. They are the group of people whom, according to the King, was most trustworthy. His Royal Highness Prince Paribatra of Nakorn Sawan, one of his royal children, was undoubtedly one of them. He was sent for military training in Germany which allowed him the chance to play important role in the army as well as in the navy in the later part of King Rama V’s reign. Although he was in military career for over twenty years, it did not, by all means, hurt his political status, As a matter of fact, it even increased his political power, which led him to the possibility of attaining his power in the reign of King Rama VII. By that time, he was the most influential and powerful officer. This provided one important reason for government reforming in 2475 B.E. The purpose of this thesis is to present the political situation, the form of government and military, which made important the role of the royal family in administrating the country’s affairs in the last three regimes under Absolute Monarchy by means of analytical approach. The political and military role of His Royal Highness Prince Paribatra of Nakorn Sawan is also analised. He was accused of having influence upon the King’s decision over problems and policies of the country, which finally became one key factor that the People’s Party used as an excuse to revolt against Absolute Monarchy and commenced the Constitutional Monarchy in 2475 B.E.-
dc.format.extent677119 bytes-
dc.format.extent2679744 bytes-
dc.format.extent2633864 bytes-
dc.format.extent2692723 bytes-
dc.format.extent2159019 bytes-
dc.format.extent1333559 bytes-
dc.format.extent2104348 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระ, 2424-2487-
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-2435-
dc.titleบทบาททางการเมืองของสมเด็จพระจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2475)en
dc.title.alternativeThe political role of His Royal Highness Prince Paribatra of Nakorn Sawan (1903-1932)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat_Ke_front.pdf661.25 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ke_ch1.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ke_ch2.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ke_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ke_ch4.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ke_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ke_back.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.