Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26759
Title: การสอนวิธีใช้ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
Other Titles: Instruction in the use of libraries in universities in Thailand
Authors: สุพัตรา ไชยศิริ
Advisors: สุนทรี หังสสูต
ประคอง กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการสอนวิธีใช้ห้องสมุดในมหาวิทยาลยทุกแห่งในประเทศไทย และศึกษาโดยละเอียดถึงการเรียนการสอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดที่จัดเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกในหลักสูตรสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาดังกล่าวนี้ 9 แห่ง ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร อันจะทำให้ทราบถึงความเหมาะสมของจุดมุ่งหมาย เวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เนื้อหา วิธีสอน และการใช้อุปกรณ์การสอนรวมทั้งการวัดผล ปัญหาของการเรียนการสอน ตลอดถึงความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้สอนและนิสิตนักศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การค้นคว้าจากหนังสือ บทความวารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิธีใช้ห้องสมุด สัมภาษณ์ และส่งแบบสอบถามไปยังผู้สอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุด 31 คน และนิสิตนักศึกษาที่ได้เรียนวิชานี้ในภาคต้น ปีการศึกษา 2517 จำนวน 2,155 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจากผู้สอน 30 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.77 และจากนิสิตนักศึกษา 1,817 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.32 จากการสำรวจทำให้ทราบว่า ได้มีการสอนวิธีใช้ห้องสมุดแก่นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งระดับปริญญาตรี และระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี การสอนแบ่งออกเป็นสองแบบ คือแบบไม่เป็นทางการ (Informal Library Instruction )และเป็นแบบทางการ (Formal Library Instruction ) การสอนวิธีใช้ห้องสมุดแบบเป็นทางการ หมายถึง การปฐมนิเทศ เรื่องห้องสมุด (Library Orientation) และการสอนเรื่องห้องสมุด (Library Instruction) การปฐมนิเทศ เรื่องห้องสมุด ได้แก่ การบรรยายเรื่องห้องสมุดในวันปฐมนิเทศ นิสิตนักศึกษา (Orientation Lecture) และการนำชมห้องสมุด (Library Tour) ส่วนการสอนเรื่องห้องสมุดนั้น เป็นการให้ความรู้เรื่องห้องสมุดอย่างละเอียด การสอนเรื่องห้องสมุดแก่นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี แตกต่างกัน กล่าวคือ การสอนเรื่องห้องสมุดแก่นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่จัดเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกในหลักสูตร และให้หน่วยกิต แต่การสอนเรื่องห้องสมุดแก่นิสิตนักศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรียังไม่กำหนดเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตร เท่าที่ปฎิบัติกันอยู่จัดสอนเป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิจัยเท่านั้น สำหรับผลการวิจัยการเรียนการสอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดที่จัดเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกในหลักศูตรสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน 9 มหาวิทยาลัย ปรากฏว่าผู้สอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุด 24 คน จากจำนวนทั้งหมด 30 คน เป็นหญิง 25 คน มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ และผู้สอน 18 คน มีวุฒิปริญญาโทสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ผู้สอน 26 คน ไม่เคยได้รับการศึกษาอบรมเกี่ยวกับวิธีสอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดโดยเฉพาะ แต่ได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง นอกจากต้องสอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดแล้ว ผู้สอนส่วนใหญ่จำนวน 12 คน ต้องสอนวิชาอื่นและช่วยงานของห้องสมุดด้วย ในการสอนวิชานี้ผู้สอน 22 คน ชอบสอนวิชานี้มาก จึงพยายามปรับปรุงการสอนอยู่เรื่อย ๆ เท่าที่เวลาจะอำนวย นิสิตนักศึกษาที่ได้เรียนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.75 เป็นหญิงร้อยละ 85.31 ไม่เคยเรียนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดมาก่อนที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และส่วนใหญ่ร้อยละ 95.60 เรียนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยของตนเป็นวิชาบังคับและได้มีโอกาสใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าสำหรับการเรียนวิชาการต่าง ๆ พอสมควร สำหรับความมุ่งหมายของหลักสูตรวิชาวิธีใช้ห้องสมุด เนื้อหาวิชา และเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยเฉลี่ยแล้วผู้สอนและนิสิตนักศึกษามีความเห็นว่าเหมาะสมแล้ว ในด้านการเรียนการสอน ผู้สอน 29 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 30 คนเตรียมการสอนเป็นรายสัปดาห์ และโดยเฉลี่ยแล้วใช้วิธีสอนแบบบรรยายมาที่สุด ให้ค้นคว้าและทำรายงานปานกลาง ให้ทำแบบฝึกหัดน้อย อภิปรายและเชิญวิทยากรมาบรรยายน้อยที่สุด ผู้สอนทุกคนได้ใช้อุปกรณ์การสอนเป็นบางครั้ง โดยใช้กระดานดำและของจริงมากที่สุด ใช้รูปภาพและคู่มือการใช้ห้องสมุดน้อย ใช้ภาพยนตร์ ฟิล์มสตริป และสไลด์น้อยที่สุด เพื่อเป็นการทดสอบผลการเรียนการสอน ผู้สอนได้กำหนดให้มีการทดสอบวิชานี้ 2 ลักษณะ คือ ทดสอบปลายภาคการศึกษาครั้งเดียว และทดสอบสองครั้งในตอนกลางภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัยมากที่สุด ผู้สอนส่วนใหญ่ 17 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 30 คนไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรที่ใช้อยู่ ผู้สอน 20 คน ไม่มีปัญหาในด้านการวัดผล แต่ผู้สอนส่วนใหญ่จำนวน 20 คนและ 22 คน มีปัญหาในด้านการสอนและการใช้อุปกรณ์การสอนตามลำดับ กล่าวคือ ในด้านการสอนนิสิตนักศึกษาลอกแบบฝึกหัดซึ่งกันและกัน ตลอดจนขาดหนังสือ สิ่งพิมพ์ที่จะใช้ค้นคว้าประกอบบทเรียนและการสอน ในด้านการใช้อุปกรณ์การสอนมีปัญหาเนื่องจากอุปกรณ์การสอนมีไม่พอเพียง เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุด โดยเฉลี่ยแล้วผู้สอนต้องการหนังสือ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิธีใช้ห้องสมุดมากขึ้น เพื่อที่จะได้ใช้ค้นคว้าศึกษาหาความรู้มากที่สุด ต้องการให้เพิ่มจำนวนผู้สอนวิชาวิธีใช้ห้องสมุด จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำอุปกรณ์การสอนปานกลาง สิ่งที่ต้องการน้อยที่สุด คือ ให้ลดชั่วโมงการช่วยทำงานในห้องสมุด และนิสิตนักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีความต้องการให้ผู้สอนใช้อุปกรณ์การสอนให้มากขึ้น และให้มีการเรียนโดยการปฏิบัติบ้างเพื่อที่จะทำให้เข้าใจและจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอนและนิสิตนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาวีใช้ห้องสมุดในแต่ละมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. อาจารย์ผู้สอนวิชาการต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ไม่ควรสอนด้วยวิธีบรรยายเพียงวิธีเดียว จะทำให้นิสิตนักศึกษามองไม่เห็นความจำเป็นในการค้นคว้าเพิ่มเติม และขาดทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ควรใช้วิธีสอนหลาย ๆ แบบ เพื่อกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเห็นคุณค่าของห้องสมุด และมีโอกาสได้ใช้ทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยจัดกิจกรรมที่ใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าให้นิสิตนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตามความเคลื่อนไหวของห้องสมุดเป็นประจำ เพื่อจะได้แนะนำหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ในสาขาวิชาที่ตนสอนแก่นิสิตนักศึกษา 2. ควรจัดให้มีการสอนวิธีใช้ห้องสมุดในช่วงระยะเวลาอันสั้น หรือจัดสอนวิธีใช้ห้องสมุดเป็นเส่วนหนึ่งของวิชาต่าง ๆ แก่นิสิตนักศึกษาในคณะที่ไม่มีโอกาสได้เรียนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดที่จัดเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกเสรี 3. ข้อมูลจากการวิจัย ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในครั้งนี้ ผู้สอนวิธีใช้ห้องสมุดควรใช้เป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนวิธีใช้ห้องสมุด
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the situation of instruction in the use of libraries in all universities in Thailand, with an emphasis on required or elective courses for undergraduates offered in nine universities. They are Chulalongkorn, Thammasat, Kasetsart, Silpakorn, Chiangmai, Khon Kaen, Songkhlanakharin, Ramkhamhaeng University and Srinakharinwirot University Prasarnmitr. The study is expected to yield an insight into the objectives, the time allotted, the course content, teaching methods of these courses as well as the use of audiovisual materials, and evaluation methods. The study also covers the problems and needs of instructors and students in these courses. The research methods used in this thesis were documentary research through books, periodicals and other printed materials on instruction in the use of libraries. This is followed by interviews and questionnaire distribution to 31 instructors and 2,155 students taking these courses during the first semester of academic year 1974. 30 questionnaires (96.77%) have been returned from the instructors and 1,817 questionnaires (84.32%) from the students. Research results conclude as follows: Instruction in the use of libraries in Universities in Thailand is offered at both undergraduate and graduate levels. The instruction can be either formal or informal. The formal instruction is Library Orientation and Library Instruction. Library Orientation is offered as a part of the orientation for new students and library tours. Library Instruction is information on libraries given in some details. There is a difference between the course for undergraduates and graduates. The undergraduate course is offered as a required or elective course in the curricula and also carries academic credits. The course for graduate students is only an integral part in the Research Methods courses and carries no academic credits by itself. The study of the required or elective courses on the use of library for undergraduates in nine universities, revealed that 24 instructors from a total number of 30 were female, 25 were faculty members and 18 had master degrees in Library Science. 26 instructors neither studied nor had to teach other courses and worked in their libraries besides teaching these courses. 22 instructors enjoyed teaching these courses and were willing to improve their teaching continuously. The majority of the students (61.75%) who studied these courses were female. 85.31% had never studied a course in the use of libraries before entering the universities. 95.60% studied these courses as required courses. They had the opportunity to use libraries to supplement other courses adequately. The average of the instructors and students commented that the objectives of the courses the course content and the amount of time allotted in all curricula were appropriate. In the teaching of these courses, 29 instructors planned their lessons one week before the class. Lecturing is most used in teaching whereas research reports were moderately used, class assignment was less. Discussion and lectures by special lecturers was least prevalent. They all sometimes used audiovisual materials to supplement the teaching, particularly chalk-boards and real objects, pictures and library handbooks less, films, filmstrips and slides least of all. The evaluation fell into two types. The first was to test only once at the end of the semester. The second was to test twice, in the middle of the semester and at the end of the semester. Objective tests were greatly used. 17 out of 30 instructors had no problems about the curricula and 20 instructors had no problems concerning evaluation but 20 and 22 instructors faced problems in teaching and using audiovisual materials respectively. The teaching problems were that students copied the assigned exercises from one another and a lack of books and other printed materials to consult. The lack of audiovisual materials was another problem. In order to improve their teaching, the average of instructors very much wanted more books, other printed materials concerning instruction in the use of libraries for further studies, more instructors and budget for making audiovisual materials, moderately, and decreasing the amount of hours worked in the libraries least. The majority of the students in each university needed more audiovisual materials used and the chance to do practical work in order to understand and remember the content better. In addition the instructors and the students gave their opinions and suggestions on how to improve learning and teaching these courses effectively in each university. The main recommendations were as follows: 1. The instructors should not teach only by lecturing. Further research and independent study should be encouraged. They should use several methods in teaching to urge the students to appreciate the value of libraries and provide them with the opportunity to show their ability by giving them some activities involving the use of libraries. They should know the movement of libraries in order to recommend books and other printed materials in their fields to their students. 2. Instruction in the use of libraries as abridged courses or as part of other courses should be provided for the students in faculties which cannot directly offer such courses. 3. The data, the ideas and proposals suggested in this thesis should serve as guidelines for instructors in improving instruction in the use of libraries.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26759
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supatra_Ch_front.pdf758.09 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Ch_ch1.pdf695.34 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Ch_ch2.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_Ch_ch3.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_Ch_ch4.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_Ch_ch5.pdf742.31 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Ch_back.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.