Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2691
Title: การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว
Other Titles: A diachronic study of /laeaew/, /yuu/ and /yuulaeaew/
Authors: มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์, 2521-
Advisors: ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Natthaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- คำกริยา
ภาษาไทย -- ประวัติ
ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
ภาษาไทย -- วากยสัมพันธ์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว ในเชิงประวัติตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารที่ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วในช่วงเวลาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1826-2546 ผลการวิจัยคำว่า แล้ว พบว่าปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีหน้าที่ไม่เท่ากันในแต่ละสมัย คือ เพิ่มจำนวนขึ้นมาจาก 3 หน้าที่ ได้แก่ คำกริยา คำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะสมบูรณ์ และคำเชื่อมอนุพากย์ เป็น 7 หน้าที่ ได้แก่ คำกริยา คำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะสมบูรณ์ คำเชื่อมอนุพากย์ วลีตายตัวที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ วลีตายตัวที่เป็นคำกริยา วลีตายตัวที่เป็นคำบอกเวลา และดัชนีปริจเฉท ในด้านความหมาย คำว่า แล้ว ที่เป็นคำกริยามีหลายความหมาย แต่ความหมายที่น่าจะกลายมาเป็นความหมายบอกการณ์ลักษณะ และ ความหมายของคำเชื่อมอนุพากย์ รวมทั้งวลีตายตัวน่าจะคือความหมายว่า "เสร็จสิ้น" มากกว่าความหมายอื่นๆ เนื่องจากความหมายต่างๆ เหล่านี้มีมโนทัศน์ของการสิ้นสุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกันอยู่ ผลการวิจัยคำว่า อยู่ พบว่าปรากฏใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีหน้าที่ไม่เท่ากันในแต่ละสมัย คือ เพิ่มจำนวนขึ้นมาจาก 1 หน้าที่ ได้แก่ คำกริยา เป็น 4 หน้าที่ ได้แก่ คำกริยา คำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะบอกการดำเนินอยู่ วลีตายตัวที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ และคำเชื่อมอนุพากย์ ในด้านความหมาย คำว่า อยู่ ที่เป็น คำกริยามีหลายความหมาย แต่ความหมายที่เกิดกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์น่าจะได้แก่ความหมาย "พักอาศัย, ไม่ไปจากที่"และ "มี, ปรากฏ" ผลการวิจัยคำว่า อยู่แล้ว พบว่าเริ่มปรากฏใช้ครั้งแรกในสมัยอยุธยา และมีหน้าที่เพิ่มขึ้นจาก 1 หน้าที่ ได้แก่ คำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะบอกการดำเนินอยู่และการณ์ลักษณะสมบูรณ์ เป็น 2 หน้าที่ คือ มีหน้าที่ที่เป็นดัชนีปริจเฉทเพิ่มขึ้นมาในสมัยปัจจุบัน คำว่า อยู่แล้ว เกิดจากการปรากฏร่วมกันของคำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะบอกการดำเนินอยู่ อยู่ กับคำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะสมบูรณ์ แล้ว ต่อมาจึงรวมเป็นหนึ่งหน่วยและมีความหมายแสดงความแน่ใจเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ จากนั้นจึงพัฒนาไปทำหน้าที่เป็น ดัชนีปริจเฉทซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของภาษาระดับข้อความเพื่อบอกความแน่ใจของผู้พูดในภาษาปัจจุบัน ส่วนหน้าที่เดิมก็ยังคงปรากฏใช้อยู่ในภาษาด้วยเช่นเดียวกัน กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว มีระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงไม่พร้อมกัน คำว่า แล้ว น่าจะเป็นคำที่เกิดกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ก่อนคำว่า อยู่ และ อยู่แล้ว เนื่องจากพอใช้เป็นคำช่วยหลังกริยา และคำเชื่อมอนุพากย์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แสดงว่า อาจจะมีการกลายเป็นคำไวยากรณ์มาแล้วในสมัยก่อนสุโขทัย ส่วนคำว่า อยู่ เริ่มปรากฏใช้เป็นคำช่วยหลังกริยาในสมัยอยุธยา ในขณะที่คำว่า อยู่แล้ว มาจากคำที่ผ่านการกลายเป็นคำไวยากรณ์มาแล้ว คือ กลายมาจากคำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะบอกการดำเนินอยู่ อยู่ และคำช่วยหลังกริยาแสดงการณ์ลักษณะสมบูรณ์ แล้ว เป็นคำที่มีหน้าที่และความหมายทางไวยากรณ์เพิ่มขึ้น และพบใช้ครั้งแรกในสมัยอยุธยา กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของทั้งสามคำนี้มีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป และมีการเปลี่ยนแปลงแบบทิศทางเดียว ซึ่งสอดคล้องกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์ที่เป็นสากล
Other Abstract: This thesis is a diachronic study of /laeaew/, /yuu/ and /yuulaeaew/ from the Sukhothai period to the present. The data elicited is based on published documents between 1826 B.E. 2546 B.E. According to the study, it is found that the functions of /laeaew/ are not identical in the 6 different periods. In the Sukhothai period /laeaew/ had 3 functions that is verbs, perfective aspect markers and conjunctions and the 4 new functions{7f2014}idiomatic phrases functioned as adverbs, idiomatic phrases functioned as verbs, idiomatic phrases functioned as time markers and discourse markers are evolved at present. A semantic analysis indicates that /laeaew/ has 21 meanings including 4 content meanings and 17 functional meanings, but the meaning which has been grammaticalized to functional meanings is the meaning "finish". As for /yuu/, it is found that the functions of /yuu/ are not identical in the 6 different periods. In the Sukhothai period /yuu/ had 1 function that is verbs and 3 new functions-- continuative/progressive aspect markers, idiomatic phrases functioned as adverbs and conjunctions are evolved in the present. A semantic analysis shows that /yuu/ which have been grammaticalized to functional meanings are the meaning "to stay, to live" and "to be in/at". In the case of /yuulaeaew/, the finding shows that it functions only as a post-verbal auxiliary in every periods. In the Ayudhaya period, it co-occurs with 2 types of verbs whereas at the present period, /yuulaeaew/ can co-occur with various verbs. A semantic study points out that /yuulaeaew/ is a combination of the continuative/progressive aspectual meaning of /yuu/ and the perfective aspectual meaning of /laeaew/. Later on, the semantic feature 'certainty' is added to the item in the reign of King Rama I - King Rama III. Nowadays, it is found that /yuulaeaew/ also functions as a discourse marker in a daily conversation with the meaning of 'certainty' and the post-verbal auxiliary with the aspectual meaning still can be found. The findings suggest that the process of grammaticalization of /laeaew/, /yuu/ and /yuulaeaew/ do not occur at the same period of time. The development of /laeaew/ into function words start earlier than the other 2 items as it is found as a post-verbal auxiliary and a conjunction since the Sukhothai period whereas /yuu/ has functioned as a post-verbal auxiliary in Ayudhaya period. As for /yuulaeaew/, the item is found as a post-verbal auxiliary in the Ayudhaya period as it grammaticalized from 2 function words--continuative/progressive aspect marker /yuu/ and perfective aspect marker /laeaew/. The grammatical process found in the data coincide with the universal phenomenon of grammaticalization in terms of unidirection and gradual change.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2691
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.792
ISBN: 9741757042
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.792
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mingmit.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.