Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2692
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาพร ลักษณียนาวิน-
dc.contributor.authorปราจรีย์ แท่นทอง, 2513--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-21T10:18:40Z-
dc.date.available2006-09-21T10:18:40Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741744935-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2692-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสำเหนียกรู้ระบบเสียง กับสมิทธิภาพในการอ่านหนังสือของเด็กไทยกลุ่มอายุ 10 ปีในประเด็นดังต่อไปนี้ การสำเหนียกรู้ระบบเสียง อันได้แก่ ความสามารถในการอ่านรายการคำที่เป็นคำและไม่เป็นคำในภาษา และความสามารถในการหาคำที่ไม่เข้าพวก สมิทธิภาพในการอ่าน ความสัมพันธ์ระหว่างการสำเหนียกรู้ระบบเสียงกับสมิทธิภาพในการอ่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบที่ใช้กับประชากร 2 แบบ ได้แก่ แบบวัดสมิทธิภาพในการอ่าน และแบบวัดความเฉลียวฉลาดซึ่งแบบวัดความเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยแบบทดสอบ 2 แบบคือ แบบวัดการใช้เหตุผลของราเวนเป็นแบบวัดความเฉลียวฉลาดในด้านการใช้เหตุผล กับสิ่งที่ไม่ได้เป็นถ้อยคำและแบบทดสอบการจำตัวเลขแบบไปข้างหน้าและย้อนกลับ เป็นแบบวัดความเฉลียวฉลาดในด้านความจำระยะสั้นๆ ทางด้านเสียง 2) แบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 2 แบบ ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านรายการคำที่เป็นคำและไม่เป็นคำ และแบบทดสอบการหาคำที่ไม่เข้าพวก การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยคัดเลือกจากประชากร 152 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีอายุ 10 ปี ได้กลุ่มตัวอย่าง 28 คน โดยการนำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ยของทุกแบบทดสอบ เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่จะนำมาศึกษาเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่มีสมิทธิภาพในการอ่านสูง กลุ่มที่มีสมิทธิภาพในการอ่านต่ำ และกลุ่มที่มีสมิทธิภาพในการอ่านต่ำและความเฉลียวฉลาดต่ำ จากนั้นจึงใช้แบบทดสอบการสำเหนียกรู้ระบบเสียง ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านรายการคำที่เป็นคำ และไม่เป็นคำโดยให้เด็กอ่านรายการคำที่เป็นคำและคำที่ไม่เป็นคำ และแบบทดสอบการหาคำที่ไม่เข้าพวก โดยเด็กจะได้ฟังชุดคำแล้วต้องตอบว่าคำใดในชุดนั้นไม่เข้าพวก ผลการวิจัย พบว่า 1) สมิทธิภาพในการอ่านกับการอ่านรายการคำที่เป็นคำและไม่เป็นคำ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.579) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.01 2) สมิทธิภาพในการอ่านกับการหาคำที่ไม่เข้าพวก มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.443) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 3) สมิทธิภาพในการอ่านกับการสำเหนียกรู้ระบบเสียง (ซึ่งวัดจากการอ่านรายการคำที่เป็นคำและไม่เป็นคำและการหาคำที่ไม่เข้าพวก) มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.621) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 ผลความสัมพันธ์กันที่ได้ทั้งหมดมีความสัมพันธ์กันทางบวกตรงกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ และผลที่ได้จากการวิจัยสนับสนุนแนวคิดที่เสนอว่าการมีสมิทธิภาพในการอ่านต่ำเกิดเนื่องมาจากความบกพร่องของการประมวลผลภาษาในระดับสูงen
dc.description.abstractalternativeTo investigate the relationship between phonological awareness and reading proficiency of 10 year-old Thai children. The phonological awareness is the ability to understand phonological representations. This paper sets out to investigate the link between phonological awareness and reading proficiency in a more systematic way, by controlling word reading ability, and by using a wide range of phonologically based assessment. The method used in this study was the assessment of reading ability using vocabulary and inference making tests. The phonological awareness was assessed using the word and non-word pronunciation task, and the odd-one-out task, which was a strong predictor of reading proficiency even after IQ, vocabulary and single word reading had been tested, However, the less memory-dependent phonological task was not. The sample used in this study was 28 students from the population of 152 students, in prathom suksa 4 and 5 from Somapa 2 school. The collected data was analysed by Pearson's Product Moment Correlation Coefficient by using SPSS for Windows. The finding of this study were 1) There was a significant relationship between the reading proficiency and the word and non-word pronunciation task of 10 year-old Thai children, at the level of 0.01; the correlation coefficient was 0.579. 2) There was a significant relationship between the reading proficiency and the odd-one-out task of 10 year-old Thai children, at the level of 0.05; the correlation coefficient was 0.443. 3) There was a significant relationship between phonological awareness (the word and non-word pronunciation task and the odd-one-out task) and reading proficiency of 10 year-old Thai children, at the level of 0.05; the correlation coefficient was 0.621. This study supports previous work, which indicates that poor reading proficiency problems arise from higher-level processing difficulties.en
dc.format.extent6042131 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.766-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย--หน่วยเสียงen
dc.subjectภาษาไทย--การอ่านen
dc.subjectความสามารถในการอ่านen
dc.subjectเด็ก--หนังสือและการอ่านen
dc.subjectเด็ก--ไทยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการสำเหนียกรู้ระบบเสียงกับสมิทธิภาพในการอ่านหนังสือ ของเด็กไทยกลุ่มอายุ 10 ปีen
dc.title.alternativeThe relationship between phonological awareness and reading proficiency of 10 year-old Thai childrenen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSudaporn.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.766-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prajaree.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.