Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27008
Title: การศึกษาขนาดที่เหมาะสมของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเขต 6 จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: A study on the optimum size of Udon Thani Regional cancer center
Authors: ศุภกิจ สัตยารัฐ
Advisors: จารุมา อัชกุล
สิริศักดิ์ ภูริพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาจำนวนเตียงที่เหมาะสมสำหรับแผนกผู้ป่วยในของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง เขต 6 จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพื้นที่บริการใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย อุดรธานี สกลนคร หนองคาย นครพนมและเลย และคาดการณ์ความต้องการบริการรักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิด ในเขตพื้นที่บริการระหว่างปี 2534-2543 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นข้อมูลของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลระหว่างปี 2522-2533 จำนวน 12,915 คน และข้อมูลซึ่งแสดงจำนวนวันพักรักษาตัวของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มารับการรักษา ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติเมื่อปี 2533 จำนวน 1,162 คน ผลการศึกษาพบว่า ในเขตพื้นที่บริการ มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่มีอัตราการป่วยสูงกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ ทั้งในช่วงที่ศึกษาย้อนหลัง (ปี 2522-2533) และในช่วงที่คาดการณ์ (ปี 2534-2543) นอกจากนี้การศึกษาใช้แบบจำลองเชิงเส้นตรงเพื่อคาดการณ์อัตราป่วยโรคมะเร็งในเขตพื้นที่บริการ สามารถใช้คาดการณ์กับมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ดี ยกเว้นมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งช่องปาก ซึ่งต้องใช้แบบจำลองเชิงเส้นโค้งเอ็กกซโปเนนเชียลในการคาดการณ์อัตราป่วย การศึกษาพบว่าจำนวนวันพักรักษาตัวเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากมีค่ามากที่สุด คือ 69.13 วัน ขณะที่จำนวนวันพักรักษาตัวเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งโดยทั่วไปมีค่า 41.164 วัน พิสัยของจำนวนเตียงที่เหมาะสมของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง เขต 6 จังหวัดอุดรธานี ระหว่างปี 2539 ซึ่งเป็นปีที่คาดว่าจะเปิดดำเนินการ ถึงปี 2543 มีค่าอยู่ในช่วง 359-496 เตียง โดยประมาณ
Other Abstract: The study attemps to estimate the optimal number of beds for inpatients of Udon Thani Regional Cancer Center. The hospital serve five provinces namely Udon Thani, Sakhon Nakhon, Ngongkai, Nakhoon Phanom, and Leoi. Demand for beds of each site of cancer is predicted for the year 1991 to 2000. The data used in this study included 12,915 medical records of cancer in inpatients of the 5 provinces between 1979 to 1990 and the length of stays of 1,162 cancer inpatients treated at the National Cancer Institute in 1990. The morbidity rates of liver cancer and cervix uteri cancer, which were the highest in the service area between 1979 and 1990, are predicted to be the highest from 1992 to 2000. In order to forecast the morbidity rates, linear forecasting model perform well for all sites of cancer, except for skin cancer and oral cavity cancer which are better fitted by exponential forecasting model. The average length of stays of oral cavity cancer inpatients is 69.13 days which is very high comparing to the average of 41.164 days for all samples. The estimated optimal number of beds until the year 2000 ranges from 359 to 469 beds.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27008
ISBN: 9745830763
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppakit_sa_front.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Suppakit_sa_ch1.pdf7.33 MBAdobe PDFView/Open
Suppakit_sa_ch2.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Suppakit_sa_ch3.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Suppakit_sa_ch4.pdf9.17 MBAdobe PDFView/Open
Suppakit_sa_ch5.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Suppakit_sa_back.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.