Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27085
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบเทคนิคและผลการสัมภาษณ์: การศึกษาพหุกรณี
Other Titles: A comparative analysis of interview techniques and results : a multi-case study
Authors: ศรีพรรณ ใจธรรม
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การสัมภาษณ์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การสัมภาษณ์ -- เทคนิค
Interviewing -- Case studies
Interviewing -- Technique
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วิเคราะห์เทคนิคและผลการสัมภาษณ์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อการเรียนของกรณีศึกษาที่เป็นครูแนะแนวและไม่ใช่ครูแนะแนว 2) เปรียบเทียบเทคนิคและผลการสัมภาษณ์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อการเรียนระหว่างครูแนะแนวกับครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนว ใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมและการวิเคราะห์เอกสารกับนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาทั้ง 4 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน ปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว ปัญหาการศึกษาต่อ และปัญหาการทะเลาะวิวาทกับเพื่อน โดยยึดหลักเทคนิคการสัมภาษณ์ของ Gorden, R., L. (1984) ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนาม 5 เดือนในการสังเกต สัมถาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมกัน การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป และนำเสนอข้อมูลในรูปการบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1. เทคนิคที่ใช้ในการสัมภาษณ์ 1.1 ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์ : ครูแนะแนวจะเตรียมการสัมภาษณ์มากกว่าครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนว และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ที่เป็นภาษาพูด ได้แก่ การเตรียมบริบทเฉพาะสำหรับการถามคำถาม การเลือกคำศัพท์ที่เหมาะสมกับคำถามและการจำกัดขอบเขตของคำถาม ในขณะที่ครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนว ใช้เพียงเทคนิค 2 อันดับแรกเท่านั้น 1.2 ขั้นเริ่มต้นการสัมภาษณ์ : กรณีศึกษาที่เป็นครูแนะแนวจะเริ่มต้นการสัมภาษณ์โดยการสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวก่อนและใช้เวลาในการเริ่มต้นการสัมภาษณ์น้อยกว่าครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนว และการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ของครูที่เป็นครูแนะแนว จะใช้เทคนิคที่เป็นการพูด ได้แก่ การเตรียมบริบทเฉพาะสำหรับการถามคำถาม การเลือกคำศัพท์ที่เหมาะสมกับคำถาม การจำกัดขอบเขตของคำถาม และการแนะคำตอบโดยใช้และไม่ใช้คำถามนำ แต่กรณีศึกษาที่ไม่ใช่ครูแนะแนวจะใช้เพียงเทคนิคการเตรียมบริบทเฉพาะสำหรับการถามคำถามเท่านั้น และการใช้เทคนิคที่ไม่ใช่ภาษาพูดพบว่ากรณีศึกษาที่เป็นครูแนะแนวใช้เทคนิค proxemics แต่ครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนวไม่มีการใช้เลย 1.3 ขั้นดำเนินการสัมภาษณ์ : การใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ของครูที่เป็นครูแนะแนว ปรากฏว่าใช้เทคนิคที่เป็นภาษาพูดครบทั้ง 5 เทคนิค และเทคนิคที่ไม่ใช่ภาษาพูดก็ครบทั้ง 4 เทคนิคเช่นกัน และกรณีศึกษาที่ไม่ใช่ครูแนะแนวนั้น จะใช้เทคนิคที่เป็นภาษาพูด 4 เทคนิค ซึ่งขาดเพียงเทคนิคการแนะคำตอบโดยใช้และไม่ใช้คำถามนำ และมีการใช้เทคนิคที่ไม่ใช่ภาษาพูดครบถ้วนเช่นกัน 1.4 ขั้นยุติการสัมภาษณ์ : การยุติการสัมภาษณ์ของครูแนะแนวจะใช้วิธีการให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์และวิธีการแก้ไขปัญหา และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ที่เป็นภาษาพูดได้แก่ การเตรียมบริบทเฉพาะสำหรับการถามคำถาม และการกำหนดลักษณะของคำตอบ แต่ไม่พบการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ของครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนว 1.5 ขั้นบันทึกผลการสัมภาษณ์ : กรณีศึกษาที่เป็นครูแนะแนวมีการบันทึกผลการสัมภาษณ์ และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ที่เป็นภาษาพูดประกอบการบันทึกผล คือ การเตรียมบริบทเฉพาะสำหรับการถามคำถาม แต่กรณีศึกษาที่ไม่ใช่ครูแนะแนวไม่ได้บันทึกผลการสัมภาษณ์ 2. ผลการสัมภาษณ์ของกรณีศึกษา : ผลการสัมภาษณ์ของทั้งครูแนะแนวและไม่ใช่ครูแนะแนว ได้ผลดังนี้ คือ ด้านครู : ครูแนะแนวรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนได้ละเอียด ลึกซึ้ง และพัฒนาการคิดของนักเรียนให้คิดอย่างมีระบบเพื่อช่วยนักเรียน แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากกว่าครูที่ไม่ใช่ครูแนะแนว ด้านนักเรียน : นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางพฤติกรรม จิตใจ ทัศนคติ และมุมมองไปในทางบวก
Other Abstract: The purpose of this research was to : 1) analyzed techniques and results of interviewing to help the primary students who had educational problems of multi-case study, 2) compared techniques and results of interviewing to help the primary students who had educational problems of multi-case study. The qualitative approach was employed involving field work, interview, participant observation and document analysis with students who had problems. There were adaptation, family relationship, further education and student argument problems by Gorden, R. L. (1984) techniques. Research was at the site for a period of five months, observing, interviewing for collect data and analyzed together. The data was analyzed by inductive method and presented in narrative description format. It has been found that : 1. Techniques in interviewing : 1.1 The prepare interviewing : counselling teachers prepared interviewing more than teachers who was not counselling teachers. Verbal techniques in interviewing forms was used by the counselling teachers was providing specific context for the question, selecting the appropriate vocabulary in wording the question and delimiting the scope of the question. But the teachers who was not counselling teachers used only the first and second techniques. 1.2 The start interviewing : the counselling teachers started interviewing by asked about diary life and had spend time shorter than the counselling teachers. Verbal techniques in interviewing forms was used by the counselling teachers was providing specific context for the question, selecting the appropriate vocabulary in wording the question, delimiting the scope of the question and suggesting answers by question. But the teachers who was not counselling teachers used providing specific context for the question only. Nonverbal techniques in interviewing forms was used by the counselling teachers was proxemics. 1.3 The process of interviewing : all verbal and nonverbal techniques in interviewing forms was used by the counselling teachers. Verbal techniques in interviewing forms was used by the teachers who was not counselling teachers was providing specific context for the question, selecting the appropriate vocabulary in wording the question, delimiting the scope of the question and supplying answers categories and all nonverbal techniques in interviewing forms was used by them, too. 1.4 The end of interviewing : the counselling teachers and students concluded from what they said about their interviewing and solving together. Verbal techniques in interviewing forms was used by the counselling teachers was providing specific context for the question and supplying answers categories. Not found about interviewing techniques in the teachers who was not counselling teachers. 1.5 The record interviewing : the counselling teachers recorded the results of interviewing but the teachers who was not counselling teachers did not recorded the results of interviewing. Verbal techniques in interviewing forms was used by the counselling teachers was providing specific context for the question. 2. The results of interviewing : teachers : they received the data of the students deeply and developed thinking of the students into systematic thinking for helping and solving their problems. students : they had positive behavior, mental, attitude and idea.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27085
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1323
ISBN: 9741763603
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1323
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriphan_ja_front.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_ch1.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_ch2.pdf22.83 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_ch3.pdf13.26 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_ch4.pdf9.31 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_ch5.pdf21.81 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_ch6.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open
Sriphan_ja_back.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.