Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27147
Title: การลอยแร่เฟลด์สปาร์เกรดต่ำในสภาวะเป็นกลาง
Other Titles: Flotation of low grade feldspar in neutral condition
Authors: ศิวโรฒม์ ศิริลักษณ์
Advisors: ภิญโญ มีชำนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การถลุงแร่
การแต่งแร่
หินฟันม้า -- โฟลเทชัน
Smelting
Ore-dressing
Feldspar -- Flotation
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการลอยแร่เฟลด์สปาร์เกรดต่ำในสภาวะเป็นกลางโดยใช้แร่จากเหมืองพาแคท อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นเฟลด์สปาร์เกรดต่ำ( 6.65 %Na₂O , 3.74 %K₂O และ 0.7 %Fe₂O₃ คิดเป็น K₂O:Na₂O เท่ากับ 0.56:1) ประกอบไปด้วยแร่โปแตชเฟลด์สปาร์แร่โซดาเฟลด์สปาร์ แร่ควอทซ์ และแร่มลทินกลุ่มเหล็กซึ่งได้แก่ แร่การ์เน็ต แร่ทัวร์มาลีน แร่ไบโอไทต์ และ แร่มัสโคไวต์ และมีขนาดแร่ที่เหมาะสมในการลดขนาดคือ มีขนาดเล็กกว่า 60 เมช การแต่งแร่มลทินกลุ่มเหล็กวิธีการแยกโดยใช้เครื่อง High Intensity Wet Magnetic Separator ได้ปัจจัยที่ดีที่สุดคือทำการป้อนแร่(-60 เมช)ที่ %Solids เท่ากับ 15 ได้ส่วนที่ไม่ติดแม่เหล็กเท่ากับ 98.51 โดยมี%Fe₂O₃ เท่ากับ 0.0795 ซึ่งจัดเป็นค่าที่ดีที่สุดหลังจากนั้นแล้วนำส่วนที่ไม่ติดแม่เหล็กผ่านการลอยแร่ เพื่อแยกแร่โปแตชเฟลด์สปาร์ผสมแร่ควอทซ์ ออกจากแร่โซดาเฟลด์สปาร์ผสมแร่ควอทซ์ พบว่าปัจจัยที่ดีที่สุดคือใช้ปริมาณของสารสะลายLead(II) Nitrate ที่ปริมาณ 300 กรัมต่อตันแร่ป้อน และใช้ Na-Oleate ที่ 2,000 กรัมต่อตันแร่ป้อน ให้ผลในส่วนที่ลอยได้ 49.22% โดยน้ำหนัก โดยมี %Recovery ของ K₂O เท่ากับ 93.44 และ %Recovery ของ Na₂O เท่ากับ 27.09 (โดยมีอัตราส่วน K₂O: Na₂O ในส่วนที่ลอยได้มีค่าประมาณ 2:1) การแต่งแร่มลทินกลุ่มเหล็กสามารถทำได้อีกวิธีหนึ่งคือการลอยแร่ ปัจจัยที่ดีที่สุดในลอยแร่คือปริมาณNa-Oleate 2,000 กรัมต่อตันแร่ป้อน ซึ่งได้ส่วนที่จมคิดเป็น %น้ำหนักเท่ากับ 88.08 โดยมี % Fe₂O₃ เท่ากับ 0.0923 หลังจากนั้นจึงทำการแต่งแร่โปแตชเฟลด์สปาร์ผสมแร่ควอทซ์ออกจากแร่โซดาเฟลด์สปาร์ผสมแร่ควอทซ์ พบว่าปัจจัยที่ดีที่สุดคือใช้ปริมาณของสารละลาย Lead(II) Nitrate ที่ปริมาณ 300 กรัมต่อตันแร่ และใช้ Na-Oleate ที่ 2,000 กรัมต่อตันแร่ป้อน ให้ผลในส่วนที่ลอยได้ 49.56% โดยน้ำหนัก โดยมี %Recovery ของ K₂O เท่ากับ 95.28 และ %Recovery ของ Na₂O เท่ากับ 28.24 (โดยมีอัตราส่วนK₂O: Na₂O ในส่วนที่ลอยได้มีค่าประมาณ 2:1) จากการทดลองดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า Pb(II)Nitrate มีผลต่อการคัดเลือก (Selective) ลอยแร่โปแตชเฟลด์สปาร์มากกว่าแร่โซดาเฟลด์สปาร์ที่สภาวะการลอยแร่ที่เป็นกลาง
Other Abstract: The aim of this research is to separate the low grade feldspar by neutral flotation from the ore of Pakat Co.Ltd., Amphoe Saiyoke , Kanchanaburi Province . The low grade feldspar ore (6.65%Na₂O, 3.74 %K₂O and 0.7%Fe₂O₃ with K₂O : Na₂O ratio = 0.56 : 1) consists of the common minerals of potash feldspar , soda feldspar and quartz . The ferrous impurity minerals of garnet , tourmaline , biotite and muscovite are also found The liberation size of these minerals is at about 60 mesh. The optimum separation of ferrous impurity minerals from the feldspar ore can be done by feeding the ground ore (-60 mesh) at 15% solids through the high intensity wet magnetic separator to recover the non-magnetic fraction with the yield of 98.51% at %Fe₂O₃ = 0.0795 .Later this fraction is processed by floating using Lead(II)Nitrate as an activator at 300 g/ton before adding 2,000 g/ton of Na-Oleate to collect the froth fraction with 49.22 %weight . The recoveries of K₂O and Na₂O in the froth fraction are 93.44% and 27.09% respectively (K₂O:Na₂O is about 2:1). The separation of ferrous impurity minerals is also tried by floating using Na-Oleate as collector at 2,000 g/ton to separate the ferrous impurity minerals as the froth product leaving the higher quality sink product with 0.0923 % Fe₂O₃. This product is further processed again by flotation using activator of Lead(II)Nitrate at 300 g/ton and Na-Oleate as collector at 2,000 g/ton to obtain optimum condition for the separation .The 49.56% weight of the froth product with the respective recoveries of K₂O and Na₂O 95.28% and 28.24% are obtained from that condition (K₂O:Na₂O is about 2:1). It can be concluded from these experiments that Lead(II)Nitrate can selectively separate potash feldspar in the froth rather than soda feldspar.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเหมืองแร่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27147
ISBN: 9741761309
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siwarote_si_front.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Siwarote_si_ch1.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Siwarote_si_ch2.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open
Siwarote_si_ch3.pdf7.87 MBAdobe PDFView/Open
Siwarote_si_ch4.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Siwarote_si_back.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.