Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27157
Title: ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ
Other Titles: Strategies for developing higher education institutions toward becoming health promotion organizations
Authors: สมศิริ นนทสวัสดิ์ศรี
Advisors: อัจฉรา ไชยูปถัมภ์
ธิดารัตน์ บุญนุช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Atchara.C@Chula.ac.th
Thidarat.B@chula.ac.th
Subjects: ยุทธศาสตร์
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
สถาบันอุดมศึกษา -- บริการส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพในระดับอุดมศึกษา 2) นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ วิธีดำเนินการวิจัยใช้เทคนิควิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพในระดับอุดมศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 14 สถาบัน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 14 คน และการสัมภาษณ์แบบ Focus Group กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากสถาบันอุดมศึกษา 14 สถาบัน จำนวน 68 คน และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้เทคนิค SWOT Matrix Analysis ส่วนการตรวจสอบร่างรูปแบบและยุทธศาสตร์ ใช้การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน ผลการวิจัย พบว่า สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 14 แห่งนี้ มีบริบทแตกต่างกันในด้านวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา การจัดการเรียนการสอน และลักษณะของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ 1) โครงสร้างของสถาบันอุดมศึกษา 2) หอพักในสถาบันอุดมศึกษา 3) ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาพเป็นทีมสุขภาพ 4) จำนวนปีที่รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ถึงแม้สถาบันอุดมศึกษามีบริบทต่างกัน แต่สามารถใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเหมือนกันได้ รูปแบบองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพในระดับอุดมศึกษาที่ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพนี้ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาคมในสถาบันอุดมศึกษาทุกระดับ บูรณาการในพันธกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย 1) การพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ 3) บูรณาการกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา 4) การพัฒนาเครือข่ายและขยายงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพเชื่อมโยงสู่สังคมภายนอกสถาบันอุดมศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพมียุทธศาสตร์หลักระดับองค์กร คือ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ 3 ระยะ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ระดับแผนงาน 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบที่สอดคล้องกับบริบทสถาบันอุดมศึกษา 2) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสู่ความสำเร็จ 3) ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพภายใน/ภายนอกสถาบันอุดมศึกษา 4) ยุทธศาสตร์การบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพสู่พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา และ5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
Other Abstract: The purposes of this qualitative research are (1) to develop a health promotion organizational model at the higher education level; and, (2) to propose strategies for the development of higher education institutions into health promotion organizations. It uses the EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) technique to develop a health promotion organizational model for the higher education level based on literature from fourteen higher education institutions participating in the empowerment program, on interview with fourteen higher education institution administrators, and, on focus group interview with 68 personnel from the fourteen institutions. Strategies for the development of higher education institutions into health promotion organizations are formulated using the SWOT Matrix Analysis. The strategies and model obtained are reviewed by a connoisseurship of eighteen qualified individuals. The research has found the fourteen higher education institutions participating in the empowerment program to have different contexts in terms of institutional objectives, instruction and classification as determined by (1) institutional structure, (2) dormitory, 3) health team in charge of the health promotion program, and, 4) the number of years for which funding is provided by Thai Health Promotion Foundation. Nevertheless, these institutions can use the same health promotion organizational model despite their different contexts as this model focuses on the involvement of higher education institution community members of all levels, integration with mission, and, sustainable development. This is achieved through (1) consistent improvement of health promotion capabilities of individuals; (2) alteration of the environment to accommodate health; (3) integration of health promotion activities into the mission of the institution; and, (4) development of a health promotion network which encompasses the larger society outside of the institution. At the corporate level, the strategies for the development of higher education institutions into health promotion organizations are designed into three phases with five operational strategies: (1) strategy for the development of systems to reflect the context of the institution; (2) strategy for successful management; (3) strategy for the development of health promotion networks inside and outside of the institution; (4) strategy for the integration of health promotion activities into the mission of the institution; and, (5) strategy for the development of health promotion personnel.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27157
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1935
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1935
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somsiri_no.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.