Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27346
Title: ความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม
Other Titles: Teachers' and students' opinions concerning social studies textbooks for mathayo suksa three
Authors: สุวิชา พูลเกษ
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ที่ใช้ในปีการศึกษา 2523 ซึ่งกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ขึ้น โดยพิจารณาถึงคุณภาพของหนังสือเรียน 5 ด้าน คือคุณภาพในการจัดทำรูปเล่ม, อุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนในหนังสือเรียน, ความสอดคล้องของหนังสือเรียนกับหลักสูตร, สาระด้านความรู้ และ สาระด้านสติปัญญา ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามให้มีคุณภาพดีขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินงาน 2 วิธี คือ (1) วิเคราะห์คุณภาพของหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ขึ้น โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแนวคิดที่นักการศึกษาได้เสนอไว้ (2) ศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนและคุณภาพของหนังสือเรียน โดยการส่งแบบสอบถามไปยังครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 400 คน ในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ รวม 20 แห่งในกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามของครูได้รับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 91.27 และแบบสอบถามของนักเรียนได้รับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 100 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ หาค่ามัชฌิชเลขคณิต (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนโดยใช้ค่า t-test นำข้อมูลเสนอในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย เกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนปรากฏว่า ครูประมาณร้อยละ 50.91 ใช้หนังสือเรียนเป็นหลักในการสอนทุกชั่วโมง และค้นคว้าจากหนังสืออ่านหนังสือประกอบเล่มอื่นเพิ่มเติมเนื้อเรื่องตามหัวข้อในหนังสือเรียน วิธีใช้หนังสือเรียนครูประมาณร้อยละ 87.27 ใช้วิธีอธิบายประกอบการซักถามเนื้อหาในหนังสือเรียน ปัญหาในการใช้หนังสือเรียนที่ครูประสบได้แก่ เนื้อหาในหนังสือเรียนมีมากและกว้างเกินไป เวลาเรียนมีน้อย ไม่ได้สัดส่วนกัน และขาดส่วนประกอบที่สำคัญคือมีบทสรุป, กิจกรรมเสนอแนะ, แบบฝึกหัด, ดรรชนี, อภิธานศัพท์ และหนังสืออ้างอิง นักเรียนประมาณร้อยละ 65.5 มีความพอใจในหนังสือเรียนที่ใช้พอสมควร และเรื่องที่นักเรียนสนใจมากคือ เรื่องปัญหาในโลกปัจจุบัน เมื่ออ่านหนังสือเรียนแล้วนักเรียนต้องให้ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมเสมอ นักเรียนจึงต้องการให้ครูใช้หนังสือเรียนเป็นหลัก และค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสืออื่นประกอบ นอกจากนั้นนักเรียนมีความเห็นว่า เนื้อหาในหนังสือเรียนบางส่วนการอธิบายไม่ชัดเจนพอและบางส่วนย่อเกินไปทำให้เข้าใจยาก และต้องการให้หนังสือเรียนเพิ่มเติมส่วนประกอบที่สำคัญ คือ มีบทสรุป, ตัวพิมพ์ชัดเจน, และภาพประกอบที่มีสีสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (X̅) ของความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของหนังสือเรียนในด้านคุณภาพในการจัดทำรูปเล่ม, อุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนในหนังสือเรียน, ความสอดคล้องของหนังสือเรียนกับหลักสูตร, และสาระด้านความรู้ ปรากฏว่า ครูและนักเรียนโดยเฉลี่ยมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีคุณภาพในระดับปานกลาง ส่วนในสาระด้านสติปัญญา ครูโดยเฉลี่ยเห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง แต่นักเรียนโดยเฉลี่ยเห็นว่าอยู่ในระดับดี ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของหนังสือเรียนในด้านคุณภาพในการจัดทำรูปเล่ม, ความสอดคล้องของหนังสือเรียนกับหลักสูตร, สาระด้านความรู้ และสาระด้านสติปัญญา ปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนความคิดเห็นในด้านอุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนในหนังสือเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับผลการวิเคราะห์คุณภาพของหนังสือเรียนทั้ง 2 เล่มของผู้วิจัย ซึ่งใช้เกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ปรากฏว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
Other Abstract: Purposes: The purposes of this research were to study and to compare the teachers’ and students’ opinions concerning the quality of social studies textbooks for Mathayom Suksa Three, printed by the Educational Technique Department, Ministry of Education, during the academic year 1980. Five aspects concerning the quality of the books were examined; the format, the learning and teaching aids, the relevance of content to the curriculum, the knowledge component, and the intellectual component. The findings of this study would be valuable guidelines for the improvement of the Mathayom Suksa Three Social Studies Textbooks. Procedures: The procedures of this study consisted of two parts : (1) An analysis of the quality of two social studies Textbooks for Mathayom Suksa Three, printed by the Ministry of Education, during the academic year 1980. Criteria for analysis were developed from the recommendations of outstanding educators selected from related literatures. The results were then reported in descriptive form. (2) A study and comparison of the teachers and students opinions. Questionnaires concerning the opinions of teachers and students on the use and quality of the textbooks developed by the researcher were sent to 60 teachers and 400 students in 20 government and private secondary schools in Bangkok Metropolis. Ninety-one point sixty-seven percent of the teachers’ and one hundred percent of the students’ questionnaires were returned. The obtained data were then analyzed in percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test and presented in tables with explanations. Conclusion : Concerning the use of the textbooks it appeared that about fifty point ninety-one percent of teachers used them as means of teaching in every period. Most of them also studies from extra supplementary readings on the topics as mentioned in the textbooks. The method of teaching which about eighty-seven point twenty-seven percent of teachers used were explaining and asking questions about the contents in the textbooks. The problems of using the textbooks faced by teachers were the scope of contents required in the textbooks were too broad and the time allotment was not appropriate. The Textbooks also lacked of summaries, suggested activities, student exercises, indexes, glossary list and list of references. About sixty-five point fifty percent of students were averagely satisfied with the textbooks. Their most interesting topics were Contemporary Issues. They always needed the teachers’ help in reading and also wanted the teachers use the textbooks combined with other supplementary books. The students pointed out that some parts of the contents were vaguely explained and some parts too brief to understand. However, they recommended that the textbooks should have summaries, clear printings and colourful illustrations. The mean of both teachers’ and students’ opinions concerning the quality of the textbooks indicated by the quality of the textbooks’ format, the learning and teaching aids, the relevance of the content to the curriculum, and the knowledge component were at the average level. Concerning the intellectual component, the teachers thought that it was at the average level, but the students thought that it was at high level. To compare the opinions of teachers and students concerning the quality of the textbooks indicated by the quality of the textbooks’ format, the relevance of the content to the curriculum, the knowledge component and the intellectual component were significantly different at the level of .05. It was not significantly different at the level of .05 on the part of the learning and teaching aids. As being analyzed by the researcher herself, it was apparent that the two textbooks were qualified at the average level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27346
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suvicha_Pu_front.pdf524.63 kBAdobe PDFView/Open
Suvicha_Pu_ch1.pdf808.99 kBAdobe PDFView/Open
Suvicha_Pu_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Suvicha_Pu_ch3.pdf389.49 kBAdobe PDFView/Open
Suvicha_Pu_ch4.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Suvicha_Pu_ch5.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Suvicha_Pu_back.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.