Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสะเทื้อน ปิ่นน้อย
dc.contributor.advisorบุญเสริม วิมุกตะนันทน์
dc.contributor.authorแก้วตา แสงพันธุ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-11T01:17:50Z
dc.date.available2012-12-11T01:17:50Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745640506
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27456
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractในปัจจุบันจำนวนประชากรของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ปลาซึ่งเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาตินั้นมีจำกัดและไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสนใจกับการแสวงหาผลผลิตปลามากขึ้น ผลผลิตปลาน้ำจืดจึงเป็นผลผลิตที่สามารถหามาทดแทนความต้องการดังกล่าวได้ง่าย โดยเฉพาะ “ผลผลิตปลานิล” เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการมาก ดังนั้นในปัจจุบันปลานิลจึงกลายเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการลงทุน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค ในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินในเขตภาคกลาง โดยได้ทำการศึกษาในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนครปฐม ข้อมูลที่ทำการศึกษาครั้งนี้ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 50 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และขนาดฟาร์มจัดแบ่งเป็น 3 ขนาด คือ ฟาร์มขนาดเล็ก (2-4 ไร่) จำนวน 15 ตัวอย่าง ฟาร์มขนาดกลาง (มากกว่า 4-10 ไร่) จำนวน 19 ตัวอย่าง และฟาร์มขนาดใหญ่ (มากกว่า 10-40 ไร่) จำนวน 16 ตัวอย่าง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลในปีการผลิต 2525 ผลการศึกษาปรากฏว่า ในปีการผลิต 2525 เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลมีเงินลงทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 83,981.25 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 11,073.21 บาท รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 59,317.64 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 7,110.85 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 74,121.13 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 9,597.40 บาท ทำให้เกิดผลขาดทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 14,803.49 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 2,486.56 บาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินขาดทุน เนื่องจากได้นำต้นทุนค่าเสียโอกาส อันได้แก่ ค่าแรงงานในครัวเรือน ค่าเช่าที่ดิน และค่าดอกเบี้ยเงินทุนส่วนตัวมาคำนวณต้นทุนด้วย จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงปลานิลค่อนข้างสูง ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินคือ ปัญหาปลาสูญหาย ปัญหาพันธุ์ปลานิลลูกผสม ปัญหาปลานิลมีราคาขายต่ำ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาอาหารปลานิลแพง และปัญหาเกษตรกรขาดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลภาครัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาอาชีพนี้ต่อไป ในการแก้ไขปัญหาผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล ก. เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ปรับปรุงการเลี้ยงปลานิล เช่น การคัดเลือกพันธุ์ปลา และการกำจัดศัตรูของปลานิลในบ่อ เป็นต้น ข. เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรหาทางลดค่าอาหารปลาโดยการเลี้ยงแบบผสมผสาน (Integrated Culture) ได้แก่ การเลี้ยงปลานิลร่วมกับสุกร หรือเป็ด หรือไก่ ค. เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลเพื่อจะได้มีอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลางมากยิ่งขึ้น ง. ในการขยายการผลิตนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรจะพิจารณาเพิ่มปัจจัยการผลิต ได้แก่ จำนวนแรงงาน ค่าอาหารปลา ให้มีจำนวนที่ได้สัดส่วนกับขนาดเนื้อที่บ่อที่ขยายเพิ่มเติมออกไป 2. ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐบาล ก. รัฐบาลควรช่วยเหลือด้านเงินทุน โดยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาคืนเงินกู้ยาวนานพอสมควร มีระยะเวลาปลอดหนี้ในช่วงการกู้ยืมระยะแรก รวมทั้งการให้ความสะดวกรวดเร็วในการให้กู้ยืมด้วย ข. รัฐบาลควรจัดส่งนักวิชาการไปให้ความรู้ทางด้านวิชาการสมัยใหม่แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตปลานิลให้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาเลี้ยงปลานิลในบ่อดินดังกล่าว ถ้าได้รับการแก้ไขและได้รับความร่วมมืออย่างดีพร้อมกันทุกฝ่ายแล้ว จะทำให้การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินสามารถพัฒนากลายมาเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของประชาชนต่อไป
dc.description.abstractalternativeAt present, the population of Thailand is increasing at a higher rate than the growth of certain natural food resources especially in fish meat. Thus, the nation is facing with the problem of how to increase fishery product in order to meet the demand. The government has given its attention to the matter. Inland fishery production is an easy way to meet demand for fish meat, such as the productions of “Tilapia nilotica Linnaeus”. T. nilotica is easily cultured and has high efficient nutrient value so it has become one of the most important cultivable species in the country. This thesis aims to investigate fish farm economy, cost, return on investment, and the problem of T. nilotica culture in earthen ponds in the central plain of the country. Bangkok, Patumtani and Nakorn Patom are sites of study chosen. Primary data are gathered from the interview of 50 fish-farmers selected by simple random sampling method. Fish farms are divided into three categories: small (2 to 4 rais), 15 farms; medium (4 to 10 rais), 19 farms; and large (10 to 40 rais), 16 farms. The production of 1982 is selected for the study. The study revealed that during the production year, the average capital investment was 83,981.25 Baht/farm or 11,073.21 Baht/rai. The average revenue was 59,317.64 Baht/farm or 7,110.85 Baht/rai and the average production cost was 74,121.13 Baht/farm or 9,597.40 Baht/rai. Thus, there was a loss of 14,803.49 Baht/farm or 2,486.56 Baht/rai. The production cost was rather high because opportunity costs such as family labor, rent and interest on capital were also included in the calculation. Major problems encountered in T. nilotica culture were production loss; T. nilotica hybrid; the low selling price; water pollution; the lack of capital for reinvestment; the high cost of feed and lacking of knowledge on T. nilotica culture; etc. To resolve these problems, it is recommended that close collaboration among all parties concerned is essential, particularly along the following line. For fish-farmers: 1. Fish-farmers should use high technology in their undertaking such as how to select the fry and how to eliminate T. nilotica’s enemies in the ponds. 2. Fish-farmers should reduce the feed cost by using the techniques of integrated culture such as combining T. nilotica culturing with rearing of hogs, ducks or chicken. 3. Fish-farmers should try to establish farmers’ institutions to create collective bargaining power. 4. The farmer should see to it that increased production factors such as the labor and the feed are in line with the increasing farm size. Recommendations for the Government: 1. The government should expand credit facility to the fish farming industry. The credit facility should include low interest rate, long-term credit with certain grace period. 2. The government should assist the private sector by providing all technical support, know-how and other incentives in order to strengthen the establishment of such venture. With such efforts to alleviate all the above-mentioned problems and obstacles, T. nilotica culture could become one of the prominent income producing ventures in the country.
dc.format.extent717643 bytes
dc.format.extent600723 bytes
dc.format.extent1175453 bytes
dc.format.extent1207832 bytes
dc.format.extent1788839 bytes
dc.format.extent483900 bytes
dc.format.extent353844 bytes
dc.format.extent485302 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ในภาคกลางen
dc.title.alternativeA study on cost and return on investment of fish (Tilapia Nilotica Linnaeus) culture in earthen ponds in the Central Plainen
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kaewta_Sa_front.pdf700.82 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch1.pdf586.64 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch5.pdf472.56 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch6.pdf345.55 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_back.pdf473.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.