Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27495
Title: เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังคมศึกษา เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตการศึกษา 8
Other Titles: A comparison of administrators' and social studies teachers' opinions concerning problems of social studies remedial instruction at the lower secondary education level in the education region eight
Authors: อุไทยวรรณ พูลทวี
Advisors: วลัย อารุณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษาในด้านต่างๆ เช่น หลักสูตร บุคคลากร กิจกรรม การเรียนการสอน อุปกรณ์ การวัดผลและการประเมินผลของผู้บริหารและครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตการศึกษา 8 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษาของผู้บริหารและครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) ของฌรงเรียนรัฐบาลในเขตการศึกษา 8 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย แบบตรวจคำตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด แบบสอบถามชุดที่ 1 ใช้ถามผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 115 คน ในโรงเรียนรัฐบาลรวม 35 แห่ง ในเขตการศึกษา 8 แบบสอบถามชุดที่ 2 ใช้ถามครูสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 215 คน ในโรงเรียนรัฐบาลรวม 35 แห่งในเขตการศึกษา 8 รวม 330 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบแบ่งเป็นพวกหรือชั้น ( Stratified Random Sampling) ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนจากผู้บริหารคิดเป็นร้อยละ 93.91 จากครูสังคมคิดเป็นร้อยละ 96.28 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยคิดเป็นค่าร้อยละ มัฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที ( t-test ) แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฎว่า ผู้บริหารประมาณร้อยละ 71.30 เป็นชายประมาณร้อยละ 88.89 มีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ผู้บริหารประมาณร้อยละ 32.41 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ผู้บริหารประมาณร้อยละ 55.12 สอนสังคมศึกษานอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งด้วย ผู้บริหารประมาณร้อยละ 60.19 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริม จากตำราและเอกสารต่างๆ ด้วยตนเอง และประมาณร้อยละ 92.59 มีประสบการณ์เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ครูสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 55.56 เป็นหญิง ประมาณร้อยละ 75.85 มีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ครูสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 56.04 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมจากตำราและเอกสารต่างๆ ด้วยตนเอง และประมาณร้อยละ 77.78 มีประสบการณ์เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษาที่ผู้บริหารและครูสังคมศึกษามีความเห็นตรงกันว่าเป็นปัญหาในระดับกลาง ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่ซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคนิควิธีสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษาและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ส่วนปัญหาที่ผู้บริหารและครูสังคมมีความเห็นต่างกัน โดยผู้บริหารเห็นว่าเป็นปัญหาระดับน้อย แต่ครูสังคมเห็นว่าเป็นปัญหาระดับปานกลาง ได้แก่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับครูผู้สอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ปัญหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษา เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนซ่อมเสริมวิชาสังคมศึกษาของผู้บริหารและครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตการศึกษา 8 พบว่า ผู้บริหารและครูสังคมศึกษามีความคิกเห็นในเรื่องดังกล่าวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: Purpose : The purposes of this research were 1. To study administrators and social studies teachers opinions concerning problems of social studies remedial instruction as follows : curriculum, personnel, teaching learning activities, instructional materials, measurement and evaluation at lower government secondary schools in the Educational Region Eight. 2. To compare administrators and social studies teachers opinions concerning problems of social studies remedial instruction at the lower government secondary schools in the Education Region Eight. Procedure : Two sets of questionnaires, each consisting of three parts; multiple choice, rating scale and open-ended were constructed, by the researcher. The first set of questionnaires was sent to 115 administrators in 35 government schools in the Education Region Eight. The second set of questionnaires was sent to 215 social studies teachers in 35 government schools in the Education Region Eight. The amount of 330 administrators and social studies teachers at the lower secondary Level were selected by stratified random sampling technique. The returned questionnaires presented 93.91 percent of the administrators and 96.28 percent of the social studies teachers. The obtained data were statistically analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test and then presented in tables with explanation. Conclusions : The findings of the research showed that about 71.30 percent of administrators were males, 88.89 percent had Bachelor’s degree, 32.41 were head-departments of social studies and 28.70 percent were assistant head-departments. About 55.12 percent of administrators taught social studies, 60.19 percent self-studied remedial teaching from documentary material, and 92.59 percent had experiences in remedial teaching. About 55.56 percent of social studies teachers were females, 75.85 percent had Bachelor’s degree, 56.04 percent self-studied remedial teaching from documentary material, and 77.78 percent had experiences in remedial teaching. The problems which administrators and social studies teachers agree on the medial degrees are : curriculum students assigned for remedial instruction, planning, techniques of teaching, and instructional material. The problems that administrators and social studies teachers viewed in different degrees are : Administrators, teachers teaching-learning activities, measurement and evaluation and other aspects concerning remedial instruction. The results of comparing the opinions of administrators and social studies teachers concerning the problems of remedial instruction did not show significant differences at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27495
ISBN: 9745619973
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Utaivun_Po_front.pdf503.22 kBAdobe PDFView/Open
Utaivun_Po_ch1.pdf783.43 kBAdobe PDFView/Open
Utaivun_Po_ch2.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Utaivun_Po_ch3.pdf396.05 kBAdobe PDFView/Open
Utaivun_Po_ch4.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Utaivun_Po_ch5.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Utaivun_Po_back.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.