Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27549
Title: การสอนคติชชชนวิทยาในวิทยาลัยครูภาคใต้
Other Titles: The teaching of folklore in teachers colleges in the southern region
Authors: วิมล ดำศรี
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: คติชาวบ้าน -- การศึกษาและการสอน
วิทยาลัยครู -- ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง ความคิดเห็น และความต้องการของครูอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนคติชนวิทยา ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงในวิทยาลัยครูภาคใต้ ในด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชา วิธีสอนและกิจกรรม เอกสารและวัสดุ อุปกรณ์ การวัดผลและประเมินผล และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุง และส่งเสริมการเรียนการสอนคติชนวิทยาให้น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัย คือ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ถามครูอาจารย์ที่สอนคติชนวิทยา และนักศึกษาที่เรียนคติชนวิทยา ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ในวิทยาลัยครูภาคใต้ทั้งห้าแห่ง แล้วนำคำตอบมาวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า ซี สรุปผลการวิจัย คือ ครูอาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ และมองเห็นคุณค่าหรือความสำคัญของคติชนวิทยา นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกเรียนวิชานี้ด้วยความสมัครใจ ครูอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาษาถิ่น ปริศนา เพลงกล่อมเด็ก ฯลฯ มาก แต่ให้ความรู้เรื่อง สถาปัตยกรรมชาวบ้าน ละครชาวบ้าน ระบำชาวบ้าน น้อย สาระสำคัญที่ครูอาจารย์เน้นมากเป็นอันดับแรกๆ คือ ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลประเภทต่างๆ วิธีการเก็บรวบรวมและประโยชน์ของข้อมูลประเภทต่างๆ ทางคติชนวิทยา ทั้งครูอาจารย์และนักศึกษาต่างเห็นว่าหลักสูตรและเนื้อหาวิชาคติชนวิทยาน่าสนใจ น่าศึกษา เพราะก่อให้เกิดคุณค่าในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก คือ ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรักความภูมิใจในท้องถิ่น ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบของวัฒนธรรมและพฤติกรรมสร้างสรรค์ของกลุ่มชนในท้องถิ่น ช่วยให้นักศึกษาเป็นคนใจกว้างสามารถปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในกลุ่มชน และช่วยให้นักศึกษาได้อนุรักษ์และพัฒนาตลอดจนเผยแพร่วัฒนธรรมให้กว้างขวางออกไป เป็นต้น แต่ควรปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับเวลาเรียน ด้านวิธีสอนและกิจกรรมครูอาจารย์และนักศึกษาต่างเห็นว่าการเรียนการสอนคติชนวิทยา จะมีประสิทธิภาพสูงหากใช้วิธีสอนแบบฝึกปฏิบัติจริง แบบศูนย์การเรียน แบบสาธิต แบบอภิปราย รายงาน และมีกิจกรรมหลายอย่าง แต่ในทางปฏิบัติครูอาจารย์ยังใช้การบรรยายและบอกจดอยู่มาก ไม่ค่อยมีกิจกรรมอื่น ด้านเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ ครูอาจารย์และนักศึกษาต่างเห็นความสำคัญและคุณค่าของเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ แต่มีเอกสารและวัสดุอุปกรณ์อยู่น้อย แหล่งวิชาการในท้องถิ่น ผลงานนักศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมของวิทยาลัย เป็นแหล่งเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนคติชนวิทยามากที่สุด แต่ครูอาจารย์ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพราะมีปัญหาหลายประการ ด้านการวัดผลและประเมินผล ครูอาจารย์ มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ทางสติปัญญาเป็นสำคัญ ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูอาจารย์และนักศึกษาต่างเห็นคุณค่า และได้ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมขึ้นหลายๆ ประเภท ประเภทที่เน้นมาก เช่น กิจกรรมส่งเสริมภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น กิจกรรมส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น แต่ก็มีปัญหาอยู่บางประการ เช่น มีเวลาในการจัดกิจกรรมน้อย ครูอาจารย์และนักศึกษาต้องการได้รับความรู้ต่างๆ ทางคติชนวิทยาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิธีการศึกษาและเนื้อหาวิชา ข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรพัฒนาสมรรถภาพทางวิชาการ และเสริมสร้างคุณลักษณะเฉพาะให้แก่ครูอาจารย์ที่สอนคติชนวิทยา 2) ควรจะเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคลากรฝ่ายต่างๆ ภายในวิทยาลัยและระหว่างวิทยาลัยกับชุมชน เพื่อให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับคติชนวิทยาอย่างจริงจัง 3) การวิจัยอื่นๆ ควรวิจัยต่อจากงานวิจัยครั้งนี้
Other Abstract: The Purposes of this research were to study the real predicaments, opinions and needs of teachers and students about the teaching and learning of folklore at the upper certificate level of education in teachers colleges in the southern region The study was concentrated on curriculum and contents, instructional methods and activities, materials and audio-visual aids, measurement and evaluation, and co-curricular activities. The finding of this study will be valuable for improving and promoting the methodology of teaching and learning of folklore to be interesting and to have ever more efficiency. Procedures Questionaires were sent to the respondents who were teachers teaching folklore and upper level certificate students attending folklore classes at five teachers colleges in the southern region. The data received was analyzed by means of percentages, means, standard deviation and Z- test. Conclusions The following conclusions were drawn from the findings: Most teachers revealed their wide experience and recognized the significance of folklore. The majority of students intentionally chose folklore as their subject of study. The teachers had exposed the students with various kinds of folklore data. However, much attention was paid on the aspects involving dialects, riddle, and lullaby, whereas less attention was on folk architecture, folk drama, and folk dances. The 'subject matters remarkably emphasized were the understanding of patterns and content of various types of data, methods of collecting data, and advantages of folklore data respectively. In addition, both teachers and students viewed the curriculum and content of folklore interesting and worth-while to study The study of folklore had great benefits. First, it enhanced the students love and pride for their locality. Second, it also helped the students understand cultural patterns, traits, and creative behavior of people in a certain community. Third, it helped establish the students' broad-mindedness to be able to adjust themselves to local environments and promote mutual understanding among folks in a specified community Finally, it helped students conserve, develop, as well as spread out local culture but an appropriate time should be taken into account. According to the method of teaching and conducting some activities during teaching; teachers, and students viewed that teaching and studying folklore would be efficient if studying by practising, learning center, demonstration, discussion and report were employed, practically, most teachers got used to giving lecture and dictation. Other activities were rarely introduced. Teaching equipments and teaching documents were recognized important and worth-while, but they were inadequate. Local academic resoures, colleges’ cultural centers and students' works were considered the most useful sources for teaching and studying folklore, but they were not intensively used. The scholastic achievement test was the only instrument usually applied for evaluating the students achievementร Teachers and students felt that holding co-curricular activities were very valuable, so various types of co-curricular activities were set for students, especially the activities involving dialect, folk literature, and folk customs. However, there were some problems, for instance, time spent for co-curricular activities was not sufficient. Teachers and students need to know more about folklore, especially the procedure of acquiring knowledge as well as subject matters. Recommentdation 1. Teachers' academic competency should be developed and specific characteristics should be created for teachers who teach Folklore. 2. Human relationship among colleges, personnel and community should be created for the co-operation of supporting and promoting any activity dealing with folklore. 3. Any research of this kind should be encouraged
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27549
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimon_Da_front.pdf391.49 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Da_ch1.pdf404.72 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Da_ch2.pdf717.6 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Da_ch3.pdf151.21 kBAdobe PDFView/Open
Wimon_Da_ch4.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wimon_Da_ch5.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Wimon_Da_back.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.