Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28151
Title: Factors and their relationships affecting land use change during 1988-2007 and predicting future land use by clue-s model in Huai Thap Salao watershed, Changwat Uthai Thani
Other Titles: ปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2531-2550 และการคาดคะเนการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตโดยใช้แบบจำลอง คลู-เอส บริเวณลุ่มน้ำห้วยทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี
Authors: Katawut Waiyasusri
Advisors: Sombat Yumuang
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Sombat.Y@Chula.ac.th
Subjects: Land use -- Surveys -- Thailand -- Uthai Thani
Land use -- Remote sensing -- Thailand -- Uthai Thani
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: GIS and remote sensing data interpretation, field investigation, and laboratory analysis were carried out to investigate dynamic spatial patterns of land use changes and to identify driving factors that caused land use changes during 1988-2007 in Huai Thap Salao watershed, Changwat Uthai Thani. Besides, the purpose of study was to simulate model of land use changes using CLUE-s model to predict the future land use change in current. Dynamic spatial patterns of land use changes in Huai Thap Salao watershed during 1988-2007 were detected from remote sensing interpretation and field surveys that were complied into a GIS database. Various maps were constructed from those relevant parameters derived from the database. Deforestation which the major change was mostly found in the central part (Huai Rabam stream) and the eastern part (Huai Thap Salao and Huai Rang stream) of Huai Thap Salao watershed. The affecting parameters, namely elevation, slope, mean annual precipitation, distance to streams, distance to roads, distance to villages and soil textures were analyzed by logistic regression analysis. The result revealed that the forest land had been changed to agriculture land and were related to the distance to villages and the distance to roads in Huai Thap Salao watershed during 1988-2007. The CLUE-s model was simulated from two scenarios, namely, scenario without restriction area and scenario with reserved area in 2027. Without restriction area, the result revealed that the highest rate of deforestation would be 63% (from previously 68% in 2007) and mostly in the central part of Huai Thap Salao watershed whereas with reserved area, it revealed that the mostly increased land use category would be urban and built-up land surrounding Amphoe Lan Sak in the eastern part of Huai Thap Salao watershed. The final results from this research can be used as a spatial data for decision making in handling, monitoring, and controlling the land use and forest management in order to enhance the land use and forest management efficiency.
Other Abstract: การศึกษาปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2531-2550 ในบริเวณลุ่มน้ำห้วยทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี ได้ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูล 3 ประเภทประกอบด้วย ข้อมูลที่จัดทำด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม และข้อมูลจากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้การศึกษาวิจัยยังได้คาดคะเนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตโดยใช้แบบจำลองคลู-เอส เพื่อจำลองรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจจะเกิดขึ้น และสังเคราะห์คาดคะเนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวแต่ละช่วงเวลาตามลำดับ การวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำห้วยทับเสลาระหว่างปี พ.ศ. 2531-2550 ได้จากการแปลความหมายโดยกระบวนการโทรสัมผัสและการออกภาคสนาม จากนั้นนำผลที่ได้มาจัดทำและแสดงผลเป็นแผนที่ ผลการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่ป่ามีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำห้วยทับเสลา (ห้วยระบำ) และบริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำห้วยทับเสลาซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ห้วยทับเสลา และห้วยรัง) การวิเคราะห์ปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระดับความสูงของภูมิประเทศ ความลาดชัน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย ระยะห่างจากลำน้ำ ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน และลักษณะเนื้อดิน มาทำการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากปัจจัยระยะห่างจากถนนและปัจจัยระยะห่างจากชุมชนเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การคาดคะเนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตโดยใช้แบบจำลองคลู-เอส ได้จำลอง 2 ภาพเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน ในปี พ.ศ.2570 คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในอดีตโดยไม่มีการกำหนดขอบเขตอนุรักษ์ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในอดีตโดยมีการกำหนดขอบเขตอนุรักษ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาพเหตุการณ์ที่ 1 พบว่าพื้นที่ป่าไม้ได้ลดจำนวนลงเป็นอย่างมากเหลือเพียงร้อยละ 63 ของพื้นที่ทั้งหมด (จากร้อยละ 68 ในปี 2550) พบการเปลี่ยนแปลงบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำทับเสลา ขณะที่ภาพเหตุการณ์ที่ 2 พบการเพิ่มขึ้นของรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินชุมชนและสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบๆ ตัวอำเภอเมืองลานสัก และบริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำห้วยทับเสลา ข้อมูลและผลวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลเชิงพื้นที่ไปใช้สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการกำกับ ติดตามและควบคุมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับเสลามีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมที่มีเป้าหมายในเชิงพื้นที่ที่ชัดเจนในการดำเนินการที่ดีขึ้นในอนาคต
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Earth Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28151
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1790
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1790
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
katawut_wa.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.