Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28394
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
dc.contributor.authorอรรณพ หอมจันทร์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-01-14T04:10:14Z
dc.date.available2013-01-14T04:10:14Z
dc.date.issued2535
dc.identifier.isbn9745820091
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28394
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractศึกษาความเป็นพิษของโลหะหนัก ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง นิกเกิล ตะกั่ว และแคดเมียมที่ถูกปลดปล่อยออกจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียชุมชน ณ อัตราเดิม 20 เมตริกตัน/เฮกตาร์ (50 กรัม/กระถาง) ในรูปน้ำหนักแห้งของกากตะกอนต่อผักคะน้า (Brassica oleracea L. Var. alboglabra Bailey) และผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) ดินทดลองนำมาจากพื้นที่เกษตรกรรม ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ส่วนกากตะกอนนำมาจาก anaerobic digester ของโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนห้วยขวาง วางแผนการทดลองแบบ 2 X 4 factorial incompletely randomize design ทำ 3 ซ้ำ โดยปลูกผักคะน้าและผักกาดหอมบนดิน ซึ่งเติมเกลืออนินทรีย์ของโลหะ หนัก 4 ระดับ ให้เที่ยบเท่ากับปริมาณโลหะหนักจากตะกอน ตั้งแต่ปริมาณที่พืชอาจใช้ได้ทันที (ระดับที่ 1) จนถึงปริมาณทั้งหมดที่มีในกากตะกอน (ระดับที่ 4) แล้วติดตามปริมาณโลหะหนักที่สะสมในดินและในพืชตลอดจนผลผลิตพืชที่ได้ ผลการศึกษาพบว่าสังกะสีแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเติมเกลืออนินทรีย์ของโลหะหนักทั้งในดินหลังปลูกผักคะน้าและผักกาดหอมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.01) ตลอดจนปริมาณสังกะสีในส่วนบริโภคได้ของพืชทั้ง 2 ชนิด ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเติมเกลืออนินทรีย์ของโลหะหนักเช่นกัน n 520 และยังพบว่าปริมาณสังกะสีในส่วนบริโภคได้ของผักกาดหอมที่ปลูกบนดินเติมเกลืออนินทรีย์ของโลหะหนักเทียบเท่ากับปริมาณโลหะหนักทั้งหมดในกากตะกอนมีค่าสูงกว่าระดับปกติที่พบในพืชโดยทั่วไป แต่ปริมาณที่พบนั้นยังไม่ถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืช จึงเสนอว่าน่าจะเลือกสังกะสีเป็นดัชนี เพื่อบ่งชี้ถึงแนวโน้มของความเป็นพิษของโลหะหนักจากกากตะกอน สำหรับทองแดงและแคดเมียมในดินหลังปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด รวมทั้งตะกั่วในดินหลังปลูกผักคะน้ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามปริมาณการเติมเกลืออนินทรีย์ของโลหะหนัก แต่ไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจนสำหรับปริมาณพืช ส่วนเหล็ก แมงกานีส และนิกเกิลในดินหลังปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด รวมทั้งตะกั่วในดินหลังปลูกผักกาดหอมไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจนทั้งปริมาณในดินละในพืช สำหรับการปลดปล่อยโลหะหนักจากกากตะกอนนั้นพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งฤดูเพาะปลูก โลหะหนักแต่ละธาตุจะถูกปลดปล่อยออกจากตะกอนได้ช้าเร็วต่างกัน โดยทองแดงจะถูกปลดปล่อยจากกากตะกอนได้เร็วที่สุด รองลงมาได้แก่ สังกะสี และแคดเมียม ตามลำดับ นอกจากนี้ไม่พบอาการผิดปกติเนื่องจากความเป็นพิษของโลหะหนักในพืชทดลองทั้ง 2 ชนิด แต่กลับพบว่าการเติมเกลืออนินทรีย์ของโลหะหนักทำให้ได้ผลผลิตพืชสูงขึ้น โดยเห็นได้ชัดเจนจากผักกาดหอม ซึ่งให้ผลผลิตที่สูงกว่าการเติมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และเทียบเท่ากับผลผลิตที่ได้จากการเติมกากตะกอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.01) อีกทั้งยังทำให้พืชมีลักษณะสมบูรณ์อีกด้วย อาจกล่าวได้ว่าไม่มีความเสี่ยงต่อความเป็นพิษของโลหะหนัก เนื่องจากการเติมกากตะกอน ณ ระดับ 20 เมตริกตัน/เฮกตาร์ และช่วงเวลาการเติมกากตะกอนลงสู่พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมนั้นน่าจะมีระยะห่างกันอย่างน้อย 2 ฤดูเพาะปลูกของผักคะน้าและผักกาดหอม
dc.description.abstractalternativeToxicity of heavy metals (iron, managanese, zinc, copper, nickel, lead and cadmium) from sewage sludge at application rate 20 tonnes DM sludge/ha. (50 gm./pot) on Chinese kale (Brassica oleracea l. Var. alboglabra Bailey) and lettuce (Lactuca sativa L.) was studied. Agricultural soils from Tambon Ban-chang Amphore Mueng Changwat Pathumthani and sewage sludge from anaerobic digester of Havi Khavang treatment plant were example of case study. Pot experiment was conducted at a greenhouse. The experimental design was 2x4 factorial imcompletely randomize design with 3 replications. Kale and lettuce were planted on treated soils design with 3 replications. Kale and lettuce were planted on treated soils that had applied with certain amount of heavy metal inorganic salts 4 level 1, total form = level 4). Both heavy metal contents in soils and plants, and plant productivity were observed. The results showed that zinc contents in the soils increased signify-cantly (P≤0.01) by increasing the heavy metal content of inorganic salts. This behavior of zinc appeared in edible part of both kale and lettuce. However, this zinc contents in edible parts of lettuce planted in the soils applied the heavy metal inorganic salts equal to total content in the sludge was higher than the contents of various plants, but it was still lower than the toxic dose. Hence, zinc will be chosen as an indicator to indicated the risk tendency of heavy metals from the sludge. Copper and cadmium contents in the soils for both kale and lettuce and only lead contents in the soil for kale followed the same pattern as already dircribed for zinc. However, there was no obvious tendency in plants. In addition iron, manganese and nickel contents in both soils and plants including lead in the soils for lettuce showed no obvious tendency to follow the pattern. Each heavy metal could be released from sludge differently after the first harvest in an order with the three fastest ones as follow : copper, zinc and cadmium respectively. When plant productivity was considered the adverse effect of heavy metals was not observed. Not only the productivity, especially lettuce, applied with the heavy metal inorganic salts was higher than the productivity applied with chemical fertilizer (formula 15-15-15) and equal to productivity applied with the sludge significantly (P≤0.01), but also yielded the more healthier plants. Risk of heavy metal toxicity applied at the rate of 20 tonnes DM sludge/ha. For kale and lettuce cultivation was unnoticeable. However, the result suggested that with mentioned rate safe application time should lie at two harvests interval.
dc.format.extent5701924 bytes
dc.format.extent2137722 bytes
dc.format.extent27945809 bytes
dc.format.extent4148365 bytes
dc.format.extent26912446 bytes
dc.format.extent13566053 bytes
dc.format.extent3115344 bytes
dc.format.extent28126133 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความเป็นพิษของโลหะหนักบางชนิดจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียชุมชน ต่อผักคะน้า (Brassica oleracea L. Var. alboglabra Bailey)และผักกาดหอม(Lactuca sativa L.) ในสภาพเรือนทดลองen
dc.title.alternativeToxicity of some heavy metals from treated municipal waste water sludge on chinese kale (Brassica oleracea L.Var. alboglabra bailey) and lettuce (Lactuca sativa L.) in greenhouseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unnop_ho_front.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_ch1.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_ch2.pdf27.29 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_ch3.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_ch4.pdf26.28 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_ch5.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_ch6.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
Unnop_ho_back.pdf27.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.