Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28405
Title: ความเปลี่ยนแปรของสำนึกทางประวัติศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึง พ.ศ. 2475
Other Titles: The transformation of historical consciousness and the changes in Thai society from the reign of King Mongkut to 1932 A.D.
Authors: อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
Advisors: นิธิ เอียวศรีวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งแสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปรของสำนึกทางประวัตศาสตร์มีพลังอย่างมากในการผลักดันให้คนในสังคมไทยกระทำการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือการเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการเปลี่ยนระบอบการปกครอง พ.ศ. 2475 ทั้งนี้โดยการวิเคราะห์ที่คำนึงถึงพลวัตภายในสังคมไทย สังคมไทยในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองมาก ทำให้ชนชั้นนำมีความคิดทางเวลากับความคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์แตกต่างจากเดิม นำไปสู่การเกิดสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้กำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้มีความต่อเนื่องและก้าวหน้า และพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพันธกิจที่จะต้องหาให้วิถีของประวัติศาสตร์ดำเนินไปสู่ ความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป สำนึกนี้เป็นพลังทางภูมิปัญญาที่ผลักดันให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำการรวมอำนาจเขาสู่ศูนย์กลาง เพื่อที่พระองค์จะทรงสามารถกำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง ภายใต้เงื่อนไข สภาพแวดลอมที่มีความเปลี่ยนแปลงรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงได้ก่อตัวขึ้นในรัชกาลที่ 4 และมีพัฒนาการ เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มรูปในรัชกาลที่ 5 พลวัตภายในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สำคัญคือ การเมืองของราชวงศ์จักรีที่มีความขัดแย้งภายในระบบ ประกอบกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ส่งผลให้ข้าราชการและราษฎร กลุ่มหนึ่งเกิดความสำนึกในศักยภาพของตนและสำนึกเชิงปัจเจกชน นำไปสู่การปฏิเสธหลักชาติวุฒิและการเกิดความสำนึกว่าสามัญชนมีบทบาทในการกำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทย ให้ชาติอันเป็น "ผลรวมของหน่วยย่อย" ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดขึ้นในขอบเขตจำกัดทำให้ข้าราชการและราษฎรเหล่านี้มีสำนึกเชิงปัจเจกชนไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดความสำนึกในมหาบุรุษซึ่งไม่จำเป็นต้องมีชาติกำเนิดสูง สำนึกทางประวัติศาสตร์ที่สามัญชนเป็นผู้กำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของมหาบุรุษนี้เป็นหลังทางภูมิปัญญาที่ผลักดันให้ข้าราชการกลุ่มหนึ่งกระทำการเปลี่ยนระบอบการปกครองเพื่อที่ตนจะสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการกำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง
Other Abstract: The thesis, based on the recognition of dynamism in Thai Society, shows how the transformation of historical consciousness driving man to change his own history. The establishment of the absolute-monarchy in Thai history and the political change of 1932 are two historical phenomena studied. Since the time of Mongkut, economic and political changes caused the elite to revise their conceptions of Time, state and Kingship. These new conceptions formed the basis of a new historical consciousness emphasising the King's role as the prime mover of history, ensuring continuity and progress. The King of the Chakri dynasty had a royal obligation to accelerate historical progress. This historical consciousness was the intellectual force driving Mongkut and Chulalongkorn to centralize power, so that they could become the prime mover of historical development. Under such conditions, an absolutist state was established. Dynamism within this absolutist state, especially the politics of the Chakri dynasty, with its internal contradictions, and the expansion of the money economy, caused some officials and commoners to realize their own potential and individual consciousness. They renounced the principle of birthright, and instead believed that commoners also had important roles in historical development. However; the limitation of economic and social' changes was also responsible for the rather limited individual consciousness; inclining towards the "Great Man" theory in history. The historical consciousness of the commoners as the prime mover of history, under the leadership of a "Great Man," drove a group of officials to involve themselves in the Revolution of 1932.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28405
ISBN: 9745693626
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attachak_sa_front.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open
Attachak_sa_ch1.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Attachak_sa_ch2.pdf80.55 MBAdobe PDFView/Open
Attachak_sa_ch3.pdf88.28 MBAdobe PDFView/Open
Attachak_sa_ch4.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open
Attachak_sa_back.pdf16.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.