Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28539
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกหมาก
Other Titles: Cost and return on investment of betel nut growing
Authors: เอมอร อิ่มทิพย์
Advisors: สุภาพรรณ รัตนาภรณ์
เสริมศักดิ์ รักธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกหมาก โดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจปีการเพาะปลูก 2532/2533 เฉพาะเขตภาคตะวันออกที่มีการปลูก 2 วิธี คือ แบบยกร่องในจังหวัดฉะเชิงเทราและแบบพื้นที่ราบในจังหวัดระยองของเกษตรกร จำนวน 100 ราย ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการปลูกหมากแบบยกร่องและแบบพื้นที่ราบมีจำนวนต้นหมากต่อ 1 ไร่ ต่างกันคือ แบบยกร่องมี 160 ต้น แต่แบบพื้นที่ราบมี 260 ต้น ในการผลิตหมากสดในระยะเวลา 10 ปี การปลูกหมากแบบยกร่องมีต้นทุนเฉลี่ยทั้งสิ้นไร่ละ 71,031.01 บาท รายได้เฉลี่ยทั้งสิ้นไร่ละ 115,273.79 บาท กำไรสุทธิทั้งสิ้นต้นละ 276.50 บาท กำไรสุทธิทั้งสิ้นไร่ละ 44,242.78 บาท กรณีที่เกษตรกรเช่าที่ดินขนาดเนื้อที่ 4 ไร่ มีระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 1 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิหากใช้อัตราส่วนลด 10% เท่ากับ 50,073.10 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง 20.06 % กรณีที่เกษตรกรไม่ต้องเช่าที่ดินมีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 288 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 63,591.00 บาท อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง 23.17 % สำหรับการปลูกหมากในพื้นที่ราบการผลิตหมากสดในระยะเวลา 10 ปี มีต้นทุนเฉลี่ยทั้งสิ้นไร่ละ 78,937.32 บาท รายได้เฉลี่ยทั้งสิ้นไร่ละ 137,155.51 บาท กำไรสุทธิทั้งสิ้นต้นละ 233.92 บาท กำไรสุทธิทั้งสิ้นไร่ละ 58,218.19 บาท กรณีที่เกษตรกรเช่าที่ดินมีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 11 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิหากใช้อัตราส่วนลด 10% เท่ากับ 72,780.27 บาท อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง 22.62% กรณีที่เกษตรกรไม่ต้องเช่าที่ดินมีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 265 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 83,840.37 บาท อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง 24.86% ในการผลิตหมากแห้ง (หมากแว่น) 1 กิโลกรัมต้องใช้หมากสด 222.22 ผล โดยมีต้นทุนส่วนเพิ่ม 8.83 บาท และมีรายได้ส่วนเพิ่ม 2.50 บาท การผลิตหมากแห้งควรทำต่อเมื่อรายได้ส่วนเพิ่มสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มหรือเมื่อราคาหมากสดต่ำมาก จากการศึกษาพบว่าถ้าราคาหมากแห้ง 1 ก.ก. เท่ากับ 57.50 บาท เกษตรกรควรจำหน่ายในรูปหมากแห้งเมื่อราคาหมากสดต่อร้อยผลต่ำกว่า 21.90 บาท จากผลการศึกษาข้างต้นแสดงว่าการลงทุนปลูกหมากทั้ง 2 วิธี ให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารซึ่งในขณะที่ศึกษาคือ 9.5% โดยการปลูกหมากบนพื้นที่ราบให้ผลตอบแทนดีกว่าการปลูกแบบยกร่องเนื่องจากมีจำนวนต้นต่อไร่มากกว่า แม้ว่ากำไรต่อต้นของการปลูกแบบยกร่องจะสูงกว่าแบบพื้นที่ราบเนื่องจากการปลูกแบบยกร่องมีการดูแลรักษาที่ดีกว่า
Other Abstract: This thesis is a study of the cost and return on investment of 1989/1990 betel nut growing by 100 farmers in the eastern part which has two methods of planting : “low land” planting in Chachoengsao and “high land” planting in Rayong. The result of the study shows that the amount of betel nut trees planted in one rai of land of the two methods is different, i.e. the “low land” planting has 160 trees and the “high land” planting, 260 trees. For the “low land” planting, the average total planting cost and the average total income of fresh nut for ten years period are baht 71,031.01 and baht 115,273.79 respectively per rai. The average net profit for one betel nut tree is baht 273.50 while the total profit is baht 44,242.78 per rai. If the farmer has to rent a piece of land about 4 rais, the payback period is 7 years and 1 month. The net present value is baht 50,073.10 at the discount rate of 10% and the internal rate of return is 20.06%. If the farmer has his own land, the payback period is 6 years and 288 days. The net present value is baht 63,591.00 and the internal rate of return is 23.17 %. For “high land” planting, the average total planting cost and the average total income of fresh nut for ten years period are baht 78,937.32 and baht 137,155.51 respectively per rai. The average net profit for one betel nut tree is baht 223.92 while the total profit is baht 58,218.19 per rai. If the farmer has to rent a piece of land about 4 rais, the payback period is 6 years and 11 months. The net present value is baht 72,780.27 and the internal rate of return is 22.62%. If the farmer has his own land, the payback period is 6 years and 265 days. The net present value is baht 83,840.37 and the internal rate of return is 24.86%. For sliced dry nut, 222.22 fresh nuts would be used to make one kilo of dry nut with the incremental cost of baht 8.83 and the incremental revenue of baht 2.50. The dry nut should be made if the incremental revenue is more than the incremental cost. Thus if the selling price of one kilo of dry nut is baht 57.50, it is better to make and sell the dry nut if the price of the fresh one is lower than baht 21.90 for 100 nuts. The above result indicates that the two planting methods yield a satisfactory return, comparing to the present bank fixed deposit interest of 9.5%. But the return of the “high land” planting is higher than that of the “low land” planting due to more betel nut trees in one rai of land even though the net profit per one tree of the “low land” planting is higher because of better maintenance and care of the farmer.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28539
ISBN: 9745791415
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Emorn_im_front.pdf11.58 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_ch1.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_ch2.pdf30.46 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_ch3.pdf49.03 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_ch4.pdf27.15 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_ch5.pdf8.49 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_ch6.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_im_back.pdf10.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.