Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28557
Title: การศึกษาการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดชลบุรี
Other Titles: Study of motorcycle accident prevention of the upper secondary school students in Changwat Chon Buri
Authors: เอื้อมพร รักจรรยาบรรณ
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
พัชรา กาญจนารัณย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การขับขี่จักรยานยนต์ -- อุบัติเหตุ -- การป้องกัน
อุบัติเหตุ -- การป้องกัน
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างนักเรียนที่เคยประสบอุบัติเหตุและไม่เคยประสบอุบัติเหตุ และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติกับการปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษาโรงเรียนในเขตเทศบาล จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามโดยให้เนื้อหาครอบคลุมในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย และนำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลด้วยตัวเองในกลุ่มนักเรียนที่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้จำนวน 400 คน โดยแยกเป็นนักเรียนที่เคยประสบอุบัติเหตุจำนวน 164 คน และนักเรียนที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจำนวน 234 คน ได้แบบสอบถามคืนมา 400 ฉบับ นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t – test) และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง นักเรียนที่เคยประสบอุบัติเหตุและนักเรียนที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทัศนคติ เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนอยู่ในระดับพอใช้ นักเรียนที่เคยประสบอุบัติเหตุและนักเรียนที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนอยู่ในระดับดี พอใช้ นักเรียนที่เคยประสบอุบัติเหตุและนักเรียนที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความรู้ในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางลบกับทัศนคติในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ความรู้ในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับการปฏิบัติในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ทัศนคติในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางลบกับการปฏิบัติในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to compare and study the relationship among knowledge, attitudes, and practices concerning motorcycle accident of the upper secondary school students in Changwat Chon Buri. The subjects of 400 students of 400 students were devided into 2 groups, one was the accident experienced students, the other was the non accident experienced students. There were 164 students in the first group, and 236 students in the second group. The data were then analyzed to obtain percentages, means and standard deviations. The t – test was utilized to determine the significant differences. The Pearson product moment method was also applied to determine the intercorrelation coefficeient. The results were as follows : 1. The students’ knowledge was at the “moderate” level. There were no statistically significant differences of students’ knowledge between the accident experienced students and the non accident experienced students at .05 level. 2. The students’ attitudes were at the “fairly good” level. There were no statistically significant differences of students’ attitudes between the accident experienced students and the non accident experienced students at .05 level. 3. The students’ practices were at the “good” level. There were no statistically significant differences of students’ practices between the accident experienced students and the non accident experiences students at .05 level. 4. The relationships between knowledge and attitudes of the upper secondary school students were found negatively significant correlated at the .05 level. 5. The relationships between knowledge and practices of the upper secondary school students were found positively significant correlated at the .05 level. 6. The relationships between attitudes and practices of the upper secondary school students were found negatively significant correlated at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28557
ISBN: 9746322583
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oumporn_ru_front.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Oumporn_ru_ch1.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Oumporn_ru_ch2.pdf14.38 MBAdobe PDFView/Open
Oumporn_ru_ch3.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Oumporn_ru_ch4.pdf14.41 MBAdobe PDFView/Open
Oumporn_ru_ch5.pdf11.71 MBAdobe PDFView/Open
Oumporn_ru_back.pdf12.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.