Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทยา ยศยิ่งยวด-
dc.contributor.authorวันธณี ฟองแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-02-01T11:55:16Z-
dc.date.available2013-02-01T11:55:16Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745768146-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28747-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en
dc.description.abstractงานนี้มีจุดมุ่งศึกษาความสำคัญของกรดอะมิโน 4 ชนิด ได้แก่ กลูตามีน, เฟนนิลอาลานีน, ไอโซลูซีน และเมทไธโอนีน ต่อการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของเอมบริโอของแฮมสเตอร์จากระยะ 1 เซลล์ เป็นเอมบริโอระยะ 2 เซลล์ ภายนอกร่างกาย โดยเติมกรดอะมิโนเหล่านี้ในน้ำยาปฏิสนธิ m-TALP และน้ำยาเพาะเลี้ยง TL-PVA เป็นกลุ่มหรือครั้งละหนึ่งชนิดเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ การเจริญและการแบ่งตัวของเอมบริโอจากระยะ 1 เซลล์ เป็นเอมบริโอระยะ 2 เซลล์ ในน้ำยาเหล่านี้หลังจากนั้นติดตามศึกษาถึงความอยู่รอดของเอมบริโอระยะ 2 เซลล์ ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่ดีที่สุด โดยทำการถ่ายฝากเอมบริโอเหล่านั้นไปยังท่อนำไข่หนูแฮมสเตอร์ที่ตั้งท้องเทียม แล้วตรวจนับจำนวนฟีตัสในวันที่ 8 ของการตั้งท้อง และจำนวนลูกที่คลอดออกมา ผลการทดลองพบว่าอัตราการปฏิสนธิในน้ำยาปฏิสนธิที่เติมกรดอะมิโนทุกชนิด สูงกว่า 90% แต่ไม่แตกต่างจากอัตราการปฏิสนธิในน้ำยาปฏิสนธิที่ไม่ได้ เติมกรดอะมิโน น้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมเมทไธโอนีน ช่วยส่งเสริมการเจริญและการแบ่งตัวของเอมบริโอจนถึงระยะ 2 เซลล์ได้มาก (66.67%) ใกล้เคียงกับน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมกรดอะมิโนทั้ง 4 ชนิด พร้อมกัน (73.49%) รองลงมาได้แก่ น้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมเฟนนิลอาลานีน (60.77%) และไอโซลูซีน 1(43.09%) สำหรับน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมกลูตามีนให้ผลในการส่งเสริมการแบ่งตัวของเอมบริโอน้อยที่สุด (20.30%) และไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) กับน้ำยาเพาะเลี้ยงที่ไม่เติมกรดอะมิโน (38.31%) หลังจากการถ่ายฝากเอมบริโอระยะ 2 เซลล์ ที่ได้จากการปฏิสนธิและเพาะเลี้ยงในน้ำยาเพาะเลี้ยงที่เติมกรดอะมิโนทั้ง 4 ชนิด ภายนอกร่างกายเข้าสู่ ท่อนำไข่ของแฮมสเตอร์ที่ตั้งท้องเทียมพบว่า เอมบริโอที่ได้จากกลุ่มทดลองสามารถเจริญถึงระยะฟีตัส (10.83%) น้อยกว่าการถ่ายฝากเอมบริโอระยะ 2 เซลล์ที่ได้จากการปฏิสนธิและเจริญในตัวแม่ไปสู่ท่อนำไข่ของตัวรับที่ตั้งท้องเทียมซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม (18.33%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) แต่ฟีตัสเหล่านี้ไม่สามารถเจริญต่อจนครบกำหนดคลอดเป็นลูกปกติได้ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การทดลองครั้งนี้ชี้แนะว่า กรดอะมิโนทั้ง 4 ชนิด ที่ศึกษาไม่มีผลต่อการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในแฮมสเตอร์แต่มีผลต่อการเจริญและการแบ่งตัวในขณะเพาะเลี้ยงและความอยู่รอดของเอมบริโอภายหลังการถ่ายฝาก ไม่มากก็น้อย นอกจากนั้นการเติมเมทไธโอนีนเพียงอย่างเดียวในน้ำยาเพาะเลี้ยงก็ให้ผลส่งเสริมการเจริญและการแบ่งตัวได้ไม่แตกต่างจากการเติมกรดอะมิโนทั้ง 4 ชนิด-
dc.description.abstractalternativeThis work aims to find out the importance of four amino acids namely glutamine, phenylalanine, isoleucine and methionine, on fertilization and development of 1-cell hamster embryos to 2-cell stage in in vitro. These amino acids were added, either as a group or one at a time to m-TALP and TL-PVA media. Percentages of fertilized eggs and development of 1-cell to 2-cell embryos in these media were compared. Subsequent study on the viability of these 2-cell embryos obtained form the best culture medium was performed by transferring them into the oviduct of pseudo pregnant hamster. Number of fetuses were recorded at the time of laparotomy on day 8 of pregnancy as well as number of young born at term. Results showed that fertilization rate in all amino acid supplemented media were higher than 90% but were not significantly different (p > 0.05) from that in the medium without amino acid (the control). The culture medium supplemented with methionine alone supported the development of embryos from 1-cell to 2-cell stage (66.67%) as good as when the four amino acids were added together (73.49%). Phenylalanine and isoleucine supplemented media supported such development to a lesser extent (60.77% and 43.09% respectively). The least was glutamine supplemented medium (20.30%) which was not significantly different from amino acid void medium (38.31%). Transfer of in vitro fertilized and cultured 2-cell embryos from the medium containing 4 amino acids into oviducts of pseudo pregnant hamster resulted 10.83% fetuses, which was significantly lower (p < 0.05) than the similar transfer of 2-cell embryos develops in vivo (18.33%). Nevertheless, fetuses of both groups were not able to develop to term. These results suggest that the four amino acids have no effect on in vitro fertilization in hamster but more or less concern the development and viability of embryos after transfer. Furthermore, medium supplemented with methionine alone is as good in supporting the development of 1-cell embryo as the medium containing all four amino acids.-
dc.format.extent5864879 bytes-
dc.format.extent12013944 bytes-
dc.format.extent9443610 bytes-
dc.format.extent11361418 bytes-
dc.format.extent7063975 bytes-
dc.format.extent23379045 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของกรดอะมิโนต่างๆ ต่อการปฏิสนธิและการเจริญของเอมบริโอแฮมสเตอร์ในหลอดทดลองen
dc.title.alternativeEffects of amino acids on fertilization and development of hamster embryos in vitroen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสรีรวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wantanee_fo_front.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open
Wantanee_fo_ch1.pdf11.73 MBAdobe PDFView/Open
Wantanee_fo_ch2.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Wantanee_fo_ch3.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open
Wantanee_fo_ch4.pdf6.9 MBAdobe PDFView/Open
Wantanee_fo_back.pdf22.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.