Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28866
Title: การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน และแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development of a non-formal education program to enhance vocational English skill based on place-based education and experiential learning approaches for taxi drivers in Bangkok Metropolis
Authors: ปิยะดา จุลวรรณา
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
สมบัติ สุวรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
BNFE01@emisc.moe.go.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ
คนขับรถแท็กซี่ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
คนขับรถแท็กซี่ -- การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน และแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ในกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน และแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ในกรุงเทพมหานครและ (4) เพื่อศึกษาปัจจัย ปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ สังกัดสหกรณ์แท็กซี่สุวรรณภูมิ จำกัด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาสภาพการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ในกรุงเทพมหานครโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน และแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตามขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาของ Brookfield (1995 ) ขั้นตอนที่สาม ทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ได้พัฒนาขึ้นกับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมเข้าร่วมโปรแกรมที่จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตบางกอกน้อย ขั้นตอนที่สี่ ศึกษาปัจจัย ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกานำโปรแกรมการศึกษานอกระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดโปรแกรมการศึกษาและผู้เรียนในกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่จัดสำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครประกอบด้วยโปรแกรมการศึกษาที่มีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละองค์ประกอบของโปรแกรมการศึกษา ได้แก่ (1) หน่วยงานที่จัดโปรแกรม (2) หัวข้อในการจัดโปรแกรม (3) วัตถุประสงค์ของการจัดโปรแกรม (4) เนื้อหาสาระในโปรแกรม (5) กิจกรรมการเรียนรู้ในโปรแกรม (6) วิทยากร (7) กลุ่มผู้เรียนและ (8) การประเมินผล 2.โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้น ดำเนินตามขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาของ Brookfield (1995 ) 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1)การศึกษาความต้องการการเรียนรู้(2)การระบุวัตถุประสงค์(3)การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ตอบสนองวัตถุประสงค์(4) การจัดวางแผนงานที่ระบุถึงขอบเขตและกระบวนการของการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และ (5) การประเมินผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ องค์ประกอบของโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ (2) กลุ่มเป้าหมาย (3) กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 7 หน่วย (4) เนื้อหาสาระ (5) วิทยากร(6) แหล่งการเรียนรู้ (7)สื่อการเรียนรู้และ (8) การประเมินผล 3.ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ (1)ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกลุ่มทดลอง มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทัศนคติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร ทัศนคติต่อการมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ ทัศนคติต่อการส่งเสริมภาพลักษณ์การให้บริการรถแท็กซี่ และความมีสำนึกแห่งความเป็นเจ้าของพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ในกลุ่มทดลอง มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทัศนคติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร ทัศนคติต่อการมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ ทัศนคติต่อการส่งเสริมภาพลักษณ์การให้บริการรถแท็กซี่ และความมีสำนึกแห่งความเป็นเจ้าของพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นไปใช้ มีดังนี้ (1) กลุ่มผู้เรียน (2)วัตถุประสงค์ (3) วิทยากร(4)กิจกรรมการเรียนรู้(5)แหล่งเรียนรู้ (6) สื่อการเรียนการสอน และ(7)สภาพแวดล้อม
Other Abstract: The objective of this research was to develop the non-formal education program to enhance vocational English skill based on Pace-Based education and Experiential Learning approaches for taxi drivers in Bangkok Metropolis. Academic achievement score is enhanced by both in class and outdoor activities, Ecological vitality will be generated base on objective of Place-Based Education and Sense of Place is cultivated through learning activities in educational program. Independent sample (t-test) was conducted to analyze the collected data whether there was a significant difference and which the difference occurred. Multiple regression was used to pinpoint the best predictors. Forty taxi-drivers in Bangkok Metropolis were purposive selected to participate in this research which were conducted into control group and experimental group. Major research purposes are as follow (1) to collect literature of non-formal education program for taxi drivers in Bangkok Metropolis developed by government and non-government sectors; (2) to develop non-formal education program to enhance vocational English skill for taxi driver in Bangkok Metropolis; (3) to compare the result of vocational English achievement score, attitude toward ecological awareness score and attitude toward place (sense of place) score between control group and experimental group; (4) to study the factors and conditions of implementation of developed non-formal education program. The result of the research were; 1.The non-formal education program for taxi drivers was set up by both government and non-government organisations. The education program consist of specific in (1) purposes (2) objectives (3) learning content (4) instructors (5) group of learners (6) learning resources (7) learning materials and (8) evaluation. 2.The non-formal education program developed under Place-Based Education and Experiential Learning in order to enhance vocational English skill for taxi drivers in Bangkok Metropolis with the components as (1) purposes (2) objectives (3) learning content (4) instructors (5) group of learners (6) learning resources (7) learning materials and (8) evaluation. 3.The experiment result of the non-formal education program were (1) the taxi drivers in the experimental group possess more knowledge about vocational English than the controlled group significance at the level of 0.05 (2) the taxi drivers in the experimental group possess more communicative skills about vocational English than the controlled group significance at the level of 0.05 (3) the taxi drivers in the experimental group possess more attitude toward Bangkok Pollution problem solving ,ethics, image of taxi service enhancement and sense of place than the controlled group significance at the level of 0.05. 4.Factors related the development and implementation of developed non-formal education program were (1) group of learners(2) learning content (3) instructor (4) learning activities (5) learning resource (6) and learning circumstance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28866
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2011
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2011
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyada_ju.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.