Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28958
Title: ประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ตาลโตนดของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: The effectiveness of communication in palmyra conservation in Phetchaburi province
Authors: พรพิมล สงกระสันต์
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร -- แง่สังคม
การอนุรักษ์ป่าไม้
ตาลโตนด
สื่อมวลชนกับการพัฒนาชุมชน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารในการอนุรักษ์ตาลโตนดในจังหวัดเพชรบุรี (2) ศึกษาการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนดของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนดของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษากระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารในการอนุรักษ์ตาลโตนดในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนดของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน ผลการวิจัยในส่วนของกระบวนการสื่อสารและกลยุทธ์การสื่อสารในการอนุรักษ์ตาลโตนดในจังหวัดเพชรบุรี พบว่า กระบวนการสื่อสารในการอนุรักษ์ตาลโตนดในจังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร ได้แก่ สมาคมชาวเพชรบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานราชการต่างๆ (2) สาร ได้แก่ เน้นในเรื่องประโยชน์ของตาลโตนดและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของตาลโตนด เชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนด การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ และสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติประเภทอื่นๆ ตามมา (3) สื่อ / ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อมวลชนในท้องถิ่น สื่อบุคคลในท้องถิ่น สื่อเฉพาะกิจในท้องถิ่น และสื่ออินเทอร์เน็ต (4) ผู้รับสาร ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยเน้นไปที่กลุ่มเยาวชน และประชาชนทั่วไป กลยุทธ์การสื่อสารในการอนุรักษ์ตาลโตนดในจังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้ (1) กลยุทธ์ด้านสาร ได้แก่ กลยุทธ์การชี้ให้เห็นประโยชน์ กลยุทธ์ดึงความสนใจและทำให้เกิดความอยากรู้ และกลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือ (2) กลยุทธ์ด้านสื่อ ได้แก่ กลยุทธ์การใช้สื่อให้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์การใช้บุคคลที่น่าเชื่อถือ กลยุทธ์การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง กลยุทธ์การใช้สื่อกิจกรรม และกลยุทธ์การใช้เครือข่ายการสื่อสาร (3) กลยุทธ์ด้านอื่นๆ ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารด้วยความจริงใจ และกลยุทธ์การสร้างความรู้สึกรักและหวงแหน ผลการวิจัยในส่วนของการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนดของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี พบว่า (1) ประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ตาลโตนดอยู่ในระดับต่ำ (2) ประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีมีการรับรู้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ตาลโตนดอยู่ในระดับสูง (3) ประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนดอยู่ในระดับปานกลาง (4) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ตาลโตนด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ตาลโตนด และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (5) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ตาลโตนด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนด และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง (6) การรับรู้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ตาลโตนด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตาลโตนด และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ
Other Abstract: The objectives of this research are (1) to study communication process and communication strategies in palmyra conservation in Phetchaburi province (2) to study perceived information, perceived utility and participation in palmyra conservation of people in Phetchaburi province (3) to study the relationship between perceived information, perceived utility and participation in palmyra conservation of people in Phetchaburi province. This research will be divided into 2 parts. Part 1 is qualitative research about communication process and communication strategies in palmyra conservation in Phetchaburi province. The information gathered from interviews and documents from various studies. Part 2 is quantitative research about perceived information, perceived utility and participation in palmyra conservation of people in Phetchaburi province. The questionnaire is a tool used to collect data from a total of 400 people in Phetchaburi province. The research in the process of communication and communication strategies in palmyra conservation in Phetchaburi province found that communication process in palmyra conservation in Phetchaburi province include (1) Sender including the association of Phetchaburi, Phetchaburi provincial governor, provincial administrative organization, tambon administrative organization and various government agencies. (2) Message are focused on the benefits of palmyra and suggests the importance of palmyra, invite people to participate in conservation palmyra, to create knowledge and understanding and create awareness for the conservation of natural resources as the other types. (3) Media or Channel including local media, people in local media, specialized in local media and internet. (4) Receiver including people in Phetchaburi province by focusing on the youth group and the general public. Communication strategies in palmyra conservation in Phetchaburi province are as follows (1) Message strategies including strategy suggest benefit, strategy and draw attention cause curiosity and strategy to build credibility. (2) Media strategies including media strategy to target specific groups, strategies people use reliable, strategies for people with a reputation, strategies for media activities and strategic use of communications network. (3) Other strategies including strategies to communicate with sincerity and strategy to create love and cherish feelings. The research section of the perceived information, perceived utility and participation in palmyra conservation of people in Phetchaburi province found that. (1) People in Phetchaburi province perceived information about palmyra conservation low. (2) People in Phetchaburi province perceived utility about palmyra conservation high. (3) People in Phetchaburi province participation in palmyra conservation medium. (4) Perceived information about palmyra conservation has positive relationship with perceived utility about palmyra conservation and these relationships are low. (5) Perceived information about palmyra conservation has positive relationship with participation in palmyra conservation and relationships in the medium. (6) Perceived utility about palmyra conservation has positive relationship with participation in palmyra conservation and these relationships are low.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28958
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.626
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.626
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornpimol_so.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.