Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28984
Title: การพัฒนาแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมาก
Other Titles: Development of cement board reinforced with betel nut leaf sheath fiber
Authors: ระวิวรรณ สหัสธรรมรังษี
Advisors: วิทิต ปานสุข
ณัฐพร โทณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
nattaporn.t@chula.ac.th
Subjects: ซีเมนต์เสริมแรง
ซีเมนต์เส้นใย
ตัวเสริมแรงแบบเส้นใย
วัสดุเชิงประกอบ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการนำเส้นใยกาบหมาก ซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงให้กับซีเมนต์เพสต์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากให้มีการจัดเรียงตัวของเส้นใย มีปริมาณเส้นใยและอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่ให้ค่าความต้านแรงดัดมากที่สุดและเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆคือ ปริมาณเส้นใยโดยปริมาตร การจัดเรียงตัวของเส้นใย อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ และการขึ้นรูปโดยใช้การอัดความดันซึ่งควบคุมปริมาตรของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยก่อนและหลังการขึ้นรูป ที่มีผลต่อคุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมาก การศึกษานี้แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนแรก ศึกษาการจัดเรียงตัวและความยาวของเส้นใย ส่วนที่สอง ศึกษาอัตราส่วนผสมของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยโดยใช้การจัดเรียงและความยาวเส้นใยในส่วนที่แรก ในส่วนสุดท้าย ศึกษาคุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากประกอบด้วย ทดสอบความหนาแน่น ปริมาณความชื้น ค่าการดูดซึมน้ำ ความต้านแรงดัด มอดุลัสยืดหยุ่น ค่าความเป็นกรด/ด่างที่ผิวหน้า ความต้านการรั่วซึม การนำความร้อน การเลื่อย การตอก/ถอนตะปู และสกรู ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน ASTM 1185 และ มอก.1427 และเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากกับผลิตภัณฑ์ที่ขายตามท้องตลาดและงานวิจัยที่ผ่านมา ผลการศึกษาพบว่าเส้นใยที่ผสมในแผ่นลักษณะแบบสุ่มที่อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.5 และปริมาณเส้นใย 8% โดยปริมาตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่ให้ค่าความต้านแรงดัดมากที่สุด และจากการทดลองนำเส้นใยมาผสมในซีเมนต์เพสต์จะทำให้มีปริมาณความชื้น ค่าการดูดซึมน้ำและค่าความต้านแรงดัดเพิ่มขึ้นแต่ค่าความหนาแน่นและมอดุลัสยืดหยุ่นลดลง นอกจากนี้แผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยธรรมชาติยังสามารถเป็นฉนวนกันความร้อนได้
Other Abstract: The research is a study of using betel nut leaf sheath fibers which is a natural fiber used as a supplementary strength to the cement paste. The objective of this study was to develop of cement board reinforced with betel nut leaf sheath fiber for the highest flexural strength and investigations focused on parameters, fiber orientation, fiber length, volume of fiber, mixture ratio and methodology cast by pressure which controlling the volume of cement boards before and after that affect the mechanical and physical properties of boards. This research was divided into three parts. The first one was aimed at determining the fiber orientation and fiber length. In the second, investigation was conducted to determine the optimum mixture ratio at the optimum length of fiber determined in the first part. Finally, to determine the mechanical and physical properties of cement board reinforced with betel nut leaf sheath fiber. All properties of board were acceptable to use as insulating boards in accordance with ASTM C1185 and TIS 1427 and compare properties of cement board reinforced with betel nut leaf sheath fiber with commercial board and another researches. Test results indicated that the optimum mix of the composite was a mix having freeform fiber length with water-cement ratio of 0.5 and 8% fiber by volume fraction showed a higher flexural strength. The experimental investigation shows that the addition of these fibers increases moisture content, water absorption and flexural strength, while their densities and modulus of elasticity decrease.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28984
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1587
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1587
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rawiwan_sa.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.