Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29087
Title: | ผลของการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายามที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | Effects of a metacognition training together with attribution training to effort on problem - solving skills of seventh grade students |
Authors: | จีรนันท์ วงษ์มาก |
Advisors: | ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | piyawan.p@chula.ac.th |
Subjects: | จิตวิทยาเด็ก การคิดอภิมานในเด็ก การแก้ปัญหาในเด็ก การอนุมานสาเหตุ (จิตวิทยาสังคม) ในเด็ก |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไป ที่ความพยายามที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 75 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 2 กลุ่มๆละ 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายาม กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการฝึกการคิดอภิมาน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกจำนวน 11 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที และกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการฝึกใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายาม กิจกรรมการฝึกการคิดอภิมาน และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ที่ได้รับการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายามมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ที่ได้รับการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายามมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ที่ได้รับการฝึกการคิดอภิมานร่วมกับการอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายามมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกการคิดอภิมาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ที่ได้รับการฝึกการคิดอภิมานมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. หลังการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ที่ได้รับการฝึกการคิดอภิมานมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study effects of a metacognition training with attribution training on effort on problem-solving skills of seventh grade students. The subjects were 148 seventh grade students from Cholpratananukroh school who enrolled in the second semester of 2010. Students were randomly assigned to two experimental groups and a control group. Each group contained 25 students. Experimental group 1 received a training in metacognition and attribution to effort and experimental group 2 received a metacognition training. Each experimental group received eleven training sessions, with each session lasting 45 minutes. The control group did not receive any training. Instruments included a metacognition and attribution to effort training program, a metacognition training program, and a problem-solving skills test. The collected data were analyzed by means of arithmetic, standard deviation, and One-Way analysis of variance (ANOVA) was employed for data analysis. The research findings were summarized as follows: 1) After the treatment students who were trained in metacognition and attribution to effort received higher problem-solving skill scores than the control group at the .05 level of significance. 2) After the treatment students who were trained in metacognition and attribution to effort gained higher problem-solving skill scores than before the treatment at the .05 level of significance. 3) After the treatment students who were trained in metacognition and attribution to effort received higher problem-solving scores than these who were trained in metacognition at the .05 level of significance. 4) After the treatment students who were trained in metacognition received higher problem-solving skill scores than the control group at the .05 level of significance. 5) After the treatment students who were trained in metacognition gained higher problem-solving skill socres than before the treatment at the .05 level of significance. |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29087 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1987 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1987 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jeeranun_wo.pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.