Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29089
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิช-
dc.contributor.authorยศวนันท์ หงส์พิริยะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-02-23T07:01:44Z-
dc.date.available2013-02-23T07:01:44Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29089-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการศึกษาการกำจัดตะกั่ว ที่ปนเปื้อนในดินและน้ำ โดยทำการปลูกบอนเขียวลงในดิน ที่ปนเปื้อนตะกั่ว 13,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดการทดลอง ที่ดินปนเปื้อนตะกั่วแต่ไม่เติมสาร EDTA และชุดการทดลองที่ดินปนเปื้อนตะกั่วและเติมสาร EDTA 1, 2 และ 3 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน ทำการเก็บตัวอย่างที่ 30, 60, 90, 120 และ 150 วัน ผลการศึกษา พบว่า ชุดการทดลองที่ดินปนเปื้อนตะกั่วและเติมสาร EDTA 3 มิลลิโมลต่อ กิโลกรัมดิน บอนเขียวสามารถดูดดึงตะกั่วได้ดีที่สุด ที่ระยะเวลาการเก็บตัวอย่าง 150 วัน โดย พบในส่วนใต้ดิน เท่ากับ 8,561.26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และในส่วนเหนือดิน ได้แก่ ก้านใบ และใบ เท่ากับ 806.56 และ 611.82 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนการแสดงความเป็น พิษของบอนเขียว พบว่า ที่ระดับความเข้มข้นของสาร EDTA 3 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมดิน บอนเขียวแสดงอาการเป็นพิษ คือ ใบเหี่ยว ใบหงิก และขอบใบมีสีเหลือง นอกจากนี้ได้ ทำการศึกษา การปลูกบอนเขียวในน้ำเสียสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้นของตะกั่ว 5 มิลลิกรัมต่อลิตร แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดการทดลองน้ำเสียสังเคราะห์แต่ไม่เติม สาร EDTA และชุดการทดลองน้ำเสียสังเคราะห์และเติมสาร EDTA 0.01, 0.02 และ 0.03 มิลลิโมลต่อลิตร ทำการเก็บตัวอย่างที่ 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน ผลการศึกษา พบว่า บอนเขียวมีความสามารถในการดูดดึงตะกั่ว ได้ดี ในชุดการทดลองน้ำเสียสังเคราะห์และเติม สาร EDTA 0.02 มิลลิโมลต่อลิตร ซึ่งสามารถดูดดึงได้มากที่สุดที่ระยะเวลา 90 วัน ในส่วนใต้ น้ำเท่ากับ 502.84 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และในส่วนเหนือน้ำ (ก้านใบ และใบ) เท่ากับ 126.19 และ 91.06 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ สำหรับการแสดงความเป็นพิษของบอนเขียว พบว่า บอนเขียวแสดงอาการเป็นพิษที่ระดับความเข้มข้นของสาร EDTA 0.03 มิลลิโมลต่อ ลิตร โดยบอนเขียวแสดงอาการ ใบไหม้ ใบหงิก เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า บอนเขียวมีความสามารถในการดูดดึงตะกั่ว ที่ปนเปื้อนในดินและน้ำเสียสังเคราะห์ได้ เมื่อมี การใช้สาร EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมของดิน และ 0.02 มิลลิโมลต่อ ลิตรของน้ำ ซึ่งเป็นระดับที่สาร EDTA ไม่แสดงความเป็นพิษต่อบอนเขียวen
dc.description.abstractalternativeThis study investigated lead removal using Elephant ear from contaminated soil and water. Elephant ear were grown in soil contaminated with lead concentration of 13,000 mg/kg. The experiment was conducted in 4 stages: with lead but without EDTA and with lead and EDTA at concentrations of 1, 2 and 3 mM/kg soil. Plants were harvested after 30, 60, 90, 120 and 150 days. The result of this study showed that the Elephant ear had the highest lead absorption with EDTA 3 mM/kg soil at 150 days. Those plants absorbed 8,561.26 mg/kg in underground parts and aboveground (petiole and leaves) parts absorbed 806.56 and 611.82 mg/kg respectively. EDTA toxicity was expressed in the Elephant ear by kinking and yellowing of the leaves at concentration 3 mM/kg soil. Lead removal with Elephant ear using hydroponics was also studied using wastewater having lead concentration of 5 mg/L. The experiment was conducted in 4 groups : with lead but without EDTA and with lead and EDTA at 0.01, 0.02 and 0.03 mM/L. Plants were harvested 15, 30, 45, 60, 75 and 90 days after planting. The results of this study showed that the Elephant ear had the highest lead absorption with EDTA of 0.02 mM/Lafter 90 days. The highest absorption levels, with the plants absorbing 502.84 mg/kg in underground and 126.19 and 91.06 mg/kg in aboveground (petiole and leaves), respectively. At EDTA concentration of 0.03 mM/L toxicity was expressed in the Elephant ear by kinking of the leaf. The results indicate Elephant ear is suitable for the remediation of lead contaminated soil and water and adding EDTA in concentrations less than 2 mM/kg soil and 0.02 mM/L.of water did not produce toxic reactions in the Elephant ear.en
dc.format.extent3448737 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1988-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบอนเขียว -- ไทย -- ห้วยคลิตี้ (กาญจนบุรี)en
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดตะกั่วen
dc.subjectมลพิษในดิน -- ไทย -- ห้วยคลิตี้ (กาญจนบุรี)-
dc.subjectการกำจัดของเสียในดิน -- ไทย -- ห้วยคลิตี้ (กาญจนบุรี)-
dc.titleการกำจัดตะกั่วที่ปนเปื้อนในดินและน้ำโดยใช้บอนเขียว บริเวณห้วยคลิตี้จังหวัดกาญจนบุรีen
dc.title.alternativeLead removal by Colocasia esculata from contaminated soil and water at Huay Klity, Kanchanaburi Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpantawat.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1988-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yotsavanun_ho.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.