Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29166
Title: การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการประเมินค่า ที่ใช้รูปแบบมาตรประมาณค่าและผู้ประเมินที่แตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of rater response errors on different rating scales formats and different raters
Authors: สุภาวดี ตั้งบุปผา
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการประเมินค่าที่ใช้รูปแบบมาตรประมาณค่าและผู้ประเมินที่แตกต่างกัน โดยการให้นิสิตและผู้บริหารเป็นผู้ประเมินคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิต มาตรประมาณค่าที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 รูปแบบคือ แบบตัวเลข แบบบรรยาย และแบบกราฟิก ผลการวิจัยพบว่า 1. กรณีสถานการณ์ที่นิสิตเป็นผู้ประเมินคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษากิจการนิสิต พบว่ามาตรประมาณค่าแบบตัวเลขและแบบบรรยาย มีควมคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยหรือกดคะแนนและมีความคลาดเคลื่อนแบบขัดแย้งในขณะที่มาตรประมาณค่าแบบกราฟิกมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นทั้ง 3 ชนิด คือ ความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยหรือกดคะแนน ความคลาดเคลื่อนจากปฏิสัมพันธ์ และความคลาดเคลื่อนแบบขัดแย้ง 2. กรณีสถานการณ์ที่ผู้บริหารเป็นผู้ประเมินคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิตพบว่ามาตรประมาณค่าทั้ง 3 รูปแบบ มีความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยหรือกดคะแนนแต่ไม่มีความคลาดเคลื่อนอันเนื่องจากปฏิสัมพันธ์และความคลาดเคลื่อนแบบขัดแย้ง 3. สำหรับการเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการประเมินค่าระหว่างมาตรประมาณค่าและผู้ประเมิน พบว่า ผู้ประเมินที่เป็นนิสิต มีความคลาดเคลื่อนเชิงปล่อยหรือกดคะแนนสูงกว่าผู้ประเมินที่เป็นผู้บริหาร แต่ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าระหว่างผู้ประเมินที่เป็นนิสิตกับผู้บริหาร ในการใช้มาตรประมาณค่าทั้ง 3 รูปแบบ มีความคลาดเคลื่อนอันเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ และความคลาดเคลื่อนแบบขัดแย้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The research was aimed to compare the response errors that different (group of) raters responsed and different rating scale formats. The students and the administrators rated traits of student activity advisors. The tool used in the research was the rating scales consisting of 3 formats:numerical rating scale, descriptive rating scale and graphic rating scale. The findings could be summarized as follows: 1. Students as raters : It was found that the rating scales of numerical rating scale and the descriptive had Leniency Error and Contrast Error, whereas the rating scales of graphic had Leniency Error, Halo Error, and Contrast Error. 2. Administrators as raters : It was found that all rating scales had Leniency Error only. 3. To compare the response errors on different scales and different groups of raters : It was found that students as raters had higher Leniency Errors than administrators as raters. Besides, there was no evidence to confirm that students as raters had higher Leniency Errors than administrators as raters. Besides, there was no evidence to confirm that students as raters had different Leniency Errors and Contrast Errors from administrators as raters.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29166
ISBN: 9745816639
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_tu_front.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tu_ch1.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tu_ch2.pdf10.61 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tu_ch3.pdf7.63 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tu_ch4.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tu_ch5.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tu_back.pdf12.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.