Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29307
Title: การเสริมสร้างค่านิยมทางการเมืองให้แก่นักเรียน ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The promotion of political values to students as perceived by teachers and students in secondary schools Bangkok Metropolis
Authors: ภิญโญ คล้ายบวร
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างค่านิยมทางการเมืองให้แก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สาขาวิชาที่สอน และประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของอาจารย์และนักเรียนเกี่ยวกับการเสริมสร้างค่านิยมทางการเมืองให้แก่นักเรียนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์และนักเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 375 และ 385 คน ตามลำดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 702 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.37 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การเสริมสร้างค่านิยมทางการเมืองให้แก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามการรับรู้ของอาจารย์ เมื่อพิจารณารวมทุกด้านและแยกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการรับรู้ของอาจารย์ที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านเพศ อายุ และสาขาวิชาที่สอน เมื่อพิจารณารวมทุกด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านระดับการศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเชื่อมั่นในหลักความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพและความยุติธรรม และด้านมุ่งมั่นในหลักการมีส่วนร่วมและความร่วมมือ ส่วนการรับรู้ของอาจารย์ที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านประสบการณ์ในการทำงาน เมื่อพิจารณารวมทุกด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเชื่อมั่นในหลักความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ และความยุติธรรม 3. การเปรียบเทียบการรับรู้ของอาจารย์และนักเรียนเกี่ยวกับการเสริมสร้างค่านิยมทางการเมืองให้แก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา เมื่อพิจารณารวมทุกด้าน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีเพียงด้านเดียวที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านถือมั่นในหลักวินัยในตนเอง และความรับผิดชอบต่อตนเอง หมู่คณะ และสังคมส่วนรวม
Other Abstract: The purposes of this research were to study the promotion of political values to secondary school students in Bangkok Metropolis as perceived by teachers with different backgrounds in sex, ages, level of education, teaching fields and work experience, and to compare teachers and students’ perception concerning the promotion of political values to students in Bangkok Metropolis. Questionnaires were used as the research instrument. The subjects used in this research were 375 teachers and 385 students in Bangkok Metropolis, and 702 questionnaires or 92.37 percent were returned. The data obtained were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the intergroup differences were analyzed by t-test. The findings were : 1. The promotion of political values to secondary school students in Bangkok Metropolis as perceived by teachers in all aspects and each aspect remained at the high degree. 2. A comparison of the teachers’ perception with different backgrounds in sex, ages, and teaching fields in all aspects showed no statistical significant difference at .05 level, but it was a statistical significant difference at .05 level in the level of education, and when comparing each aspect in details, it showed no statistical significant difference at .05 level in confidence in equality, right and freedom, and equity, and the purpose in participation and co-operation. The teachers’ perception with different background in work experience in all aspects showed no statistical significant difference at .05 level, and when comparing each aspect in details, it was a statistical significant difference at .05 level in confidence in equality, right and freedom, and equity. 3. A comparison of the teachers and students’ perception concerning the promotion of political values to secondary school students in all aspects showed no statistical significant difference at .05 level, and when comparing each aspect in details, only showed a statistical significant difference at .05 level in belief in self-discipline, overall societies, groups and self-responsibility.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พื้นฐานการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29307
ISBN: 9745770094
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinyo_kl_front.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_kl_ch1.pdf9.14 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_kl_ch2.pdf29.41 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_kl_ch3.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_kl_ch4.pdf31.12 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_kl_ch5.pdf14.32 MBAdobe PDFView/Open
Pinyo_kl_back.pdf16.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.