Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29347
Title: ระบบจินตทัศน์อัลกอริทึมการเรียงลำดับข้อมูล
Other Titles: A sorting algorithm visualization system
Authors: ภูมิศักดิ์ วงศ์จงรุ่งเรือง
Advisors: สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจินตทัศน์อัลกอริทึม เป็นกรรมวิธีหนึ่งในการศึกษาทำความเข้าใจในหลักการทำงานของอัลกอริทึมด้วยการใช้ภาพและการเปลี่ยนแปลงของภาพเป็นสื่อในกรแสดงถึงขั้นตอนการทำงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอระบบจินตทัศน์อัลกอริทึมการเรียงลำดับข้อมูล 7 วิธี คือ การเรียงลำดับข้อมูลแบบเลือก แบบแทรก แบบฟอง แบบเชลล์ แบบเร็ว แบบฮีบ และแบบผสาน ประกอบด้วยมุมมองการนำเสนอรายการข้อมูลระหว่างการทำงาน 3 รูปแบบคือ มุมมองแบบจุด แบบแท่ง และแบบแถบสี และผู้ใช้สามารถตั้งค่าเริ่มต้นของรายการข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือแบบสุ่มโดยอัตโนมัติ ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ทำงานภายใต้สภาพปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ โดยใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบพลวัตในการสั่งการโปรแกรมต่าง ๆ ในระบบ และใช้เทคนิคการประสานแบบหลายเอกสารในการนำเสนอมุมมอง ผู้ใช้สามารถจินตทัศน์ได้หลาย ๆ อัลกอริทึมพร้อม ๆ กันเพื่อการเปรียบเทียบภายใต้การประสานจังหวะเพื่อให้เวลาการทำงานสัมพัทธ์เป็นไปตามความเป็นจริง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถแสดงพฤติกรรมการเรียงลำดับข้อมูลต่างๆ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
Other Abstract: Algorithm visualization is a means to study the behavior of how algorithms work by using graphical views and animations of each algorithm in action. This thesis presents an algorithm visualization system for seven sorting algorithms : selection sort, insertion sort, bubble sort, shell sort, quick sort, heap sort, and merge sort. Three presentation views of data are provided. In addition, the initial values of data can be manually or randomly set. The system was developed for running under the Microsoft Windows operating environment by using Dynamic Data Exchange for passing commands among programs and using Multiple Document Interface for presenting graphical views. Multiple algorithms can be called and visualized simultaneously for comparison where the algorithms are synchronized, so that relative running times among the algorithms are preserved. Experimental results showed that the system exhibited algorithm behaviors with satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29347
ISBN: 9746320165
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poomsak_vo_front.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_ch1.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_ch2.pdf919.05 kBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_ch3.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_ch4.pdf10.19 MBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_ch5.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_ch6.pdf793.53 kBAdobe PDFView/Open
Poomsak_vo_back.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.