Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29358
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฟอง เกิดแก้ว
dc.contributor.advisorกาญจนา โกศลพิศิษฐ์กุล
dc.contributor.authorพิศิษฐ์ ไตรรัตน์ผดุงผล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-07T04:11:30Z
dc.date.available2013-03-07T04:11:30Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745644854
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29358
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถทางด้านร่างกายของนักเรียนปัญญาอ่อนประเภทพอเรียนได้ ระดับความสามารถทางสติปัญญา 50-70 ในด้านของกลไก ได้แก่ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว ความอดทน ความแข็งแรง การทรงตัว ความแม่นยำ และกำลัง ประชากรที่ได้ศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนของโรงเรียนปัญญาวุฒิกร และโรงเรียนราชานุกูล ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลตามกลุ่มอายุเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มอายุ 5-9 ปี กลุ่มอายุ 10-12 ปี กลุ่มอายุ 13-15 ปี กลุ่มอายุ 16-18 ปี และกลุ่มที่ความพิการอื่นร่วม เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถแต่ละรายการของแต่ละกลุ่มอายุดังกล่าวตามวิธีการทางสถิติ โดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนที่ปกติ ค่าทดสอบที ค่าสหสัมพันธ์วิธีการของเพียร์สัน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยวิธีของนิวแมนคูลส์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถทางด้านร่างกายแต่ละรายการปรากฏว่า ความสามารถในการวิ่ง 20 เมตรเฉลี่ย 5.53 วินาที ความสามารถในการยืนทรงตัวเฉลี่ย 2.69 วินาที ความสามารถในการวิ่งซิกแซกเฉลี่ย 9.50 วินาที ความสามารถในการยืนกระโดดไกลเฉลี่ย 101.95 เซนติเมตร ความสามารถในการลุก-นั่งเฉลี่ย 8.96 ครั้งใน 30 วินาที ความสามารถของแรงบีบมือซ้ายเฉลี่ย 6.89 กิโลกรัม ความสามารถของแรงบีบมือขวาเฉลี่ย 6.60 กิโลกรัม และความสามารถในการโยนลูกบอลลงตะกร้าเฉลี่ย 3.75 ครั้ง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสถิติปัญญากับความสามารถทางร่างกายของเด็กปัญญาอ่อนเพียงอย่างเดียวประเภทพอเรียนได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี กลุ่มอายุ10-12 ปี กลุ่มอายุ13-15 ปี และกลุ่มอายุ 16-18 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 130 คน พบว่า กลุ่มอายุ 10-12 ปี ความสามารถทางสติปัญญามีความสัมพันธ์กับความสามารถทางร่างกายในการวิ่ง 20 เมตร ยืนทรงตัวอยู่กับที่ วิ่งซิกแซก และคะแนนความสามารถทางร่างกายรวม แต่มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ส่วนรายการและกลุ่มอายุอื่นไม่ปรากฏความสัมพันธ์กันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสติปัญญากับความสามารถทางร่างกายของเด็กปัญญาอ่อนที่มีความพิการอื่นร่วมประเภทพอเรียนได้ ซึ่งประกอบด้วยความพิการของการได้ยิน การมองเห็น และสภาพทางสมอง เป็นต้น จำนวนกลุ่มตัวอย่างมี 25 คน อายุเฉลี่ย 12.56 ปี ปรากฏว่าไม่มีความสัมพันธ์กันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. การเปรียบความสามารถทางร่างกายของเด็กปัญญาอ่อนอย่างเดียวกับความสามารถทางด้านร่างกายของเด็กปัญญาอ่อนที่มีความพิการอื่นร่วม ปรากฏผลดังนี้ ความสามารถเฉลี่ยในการยืนทรงตัว และความสามารถเฉลี่ยของแรงบีบมือขวาของเด็กปัญญาอ่อนอย่างเดียวแตกต่างและดีกว่าความสามารถเฉลี่ยของเด็กปัญญาอ่อนที่มีความพิการร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความสามารถรายการอื่นไม่ปรากฏความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. การเปรียบเทียบความสามารถทางร่างกายแต่ละรายการระหว่างกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มพบว่า ความสามารถในการวิ่ง 20 เมตร วิ่งซิกแซก ยืนกระโดดไกล ของกลุ่มอายุ 16-18 ปี และกลุ่มอายุ 10-12 ปี กับกลุ่มที่มีความพิการอื่นร่วมไม่ปรากฏความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ความสามารถในการยืนทรงตัวอยู่กับที่ กลุ่มที่มีอายุ 13-15 ปี ปรากฏความแตกต่างกับกลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มที่มีความพิการอื่นร่วม ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ไม่ปรากฏความแตกต่างกัน ความสามารถในการลุก-นั่ง กลุ่มอายุ 16-18 ปี ปรากฏความแตกต่างกับกลุ่มอายุ 5-9 ปี กลุ่มอายุ 10-12 ปี และกลุ่มที่มีความพิการอื่นร่วม กลุ่มที่มีอายุ 13-15 ปี ปรากฏความแตกต่างกับกลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-12 ปี นอกจากนี้กลุ่มที่มีความพิการอื่นร่วมปรากฏความแตกต่างกับอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-12 ปี แต่กลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-12 ปี ไม่ปรากฏความแตกต่างกัน และกลุ่มที่มีอายุ 13-15 ปี กับกลุ่มอายุ 5-9 ปี ไม่ปรากฏความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ความสามารถของแรงบีบมือซ้าย กลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-12 ปี ไม่ปรากฏความแตกต่างกัน แต่กลุ่มอื่นๆ ปรากฏความแตกต่างกัน ความสามารถของแรงบีบมือขวา กลุ่มอายุ 5-9 ปี และกลุ่มอายุ 10-12 ปี และกลุ่มที่มีความพิการอื่นร่วมต่างก็ไม่ปรากฏความแตกต่างกันและกัน และทั้ง 3 กลุ่มปรากฏความแตกต่างกับกลุ่มอายุ 13-15 ปี และกลุ่มอายุ 16-18 ปี ตามลำดับ และยังพบว่ากลุ่มอายุ 13-15 ปี กับกลุ่มอายุ 16-18 ปี มีความแตกต่างกัน ความสามารถในการโยนลูกบอลลงตะกร้าของเด็กปัญญาอ่อนทั้ง 5 กลุ่มไม่ปรากฏความแตกต่างกัน
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the physical performance on muscular speed, agility, endurance, strength, balance, accuracy, and power of educable mentally retarded students. The samples were 155 students in Panya Wuttikorn School and Rajanukul School. They were divided into 5 different age groups : 5 - 9 years, 10 – 12 years, 13 – 15 years, 16 – 18 years and the complex deficient retarded group. The method used was the battery of test comparison in 7 categories : 20 metre sprint, static balance, zigzag run, standing broad jump, sit-up, left and right hand grips strength and trowing a ball. The obtained data were computed into means, standard deviations, normalized T-score, t-test, Pearson’s product moment coefficient of correlation, analyzed by one-way analysis of variance and Student Newman Keuls multiple comparison.The results indicated that: 1. The average ability of physical performance of educable mentally retarded students were as follows: The 20 metre sprint of 5.53 seconds, static balance of 2.69 seconds, zigzag run of 9.50 seconds, standing broad jump of 101.95 centimetres, sit-up of 8.96 times, left hand grip strength of 6.89 kilograms, right hand grip strength of 6.60 kilograms and throwing ball of 3.57 times. 2. The correlation between intellectual abilities and physical performance of general mentally retarded children were as follows : There was low correlation between intellectual abilities and physical performance with statistical significance at the .05 level on 20 metre sprint, static balance, zigzag run and total physical performance in the group of 10 – 12 years old students. However there was no correlation in other categories and in the other three groups. 3. There was no correlation between intellectual abilities and physical performance with statistical significance at the .05 level in complex deficient retarded children. 4. A comparison of physical performance between general mentally retarded and complex deficient retarded children were as follows : Average abilities on static balance and right hand grip strength in the general mentally retarded children were better than the complex deficient retarded children with significant differences at the .05 level. However, in other categories of ability, There were no statistical differences at the .5 level. 5. A comparison of physical performance among 5 age groups were as follows: Abilities on 20 metre sprint, zigzag run, standing broad jump in students between the age groups of 13 -15 years and 16 -18 years were not significantly different at .05 level. The age group of 10 – 12 years and the complex deficient retarded children group were not significantly different, either. However, there were significant differences at the .05 level among the other groups. Ability on static balance in the age groups of 13 -15 years, 5 – 9 years and the complex deficient retarded children groups were significantly different, but other groups were not significantly different at the .05 level. Ability on sit-up among the age groups of 16 -18 years, 5 – 9 years, 10 - 12 years and complex deficient retarded children groups were significantly different. The age groups of 5 – 9 years, 10 -12 years and the complex deficient retarded children groups were significantly different. However, the age groups of 5 – 9 years, 10 – 12 years were not significantly different. The age groups 13 -15 years and 16 – 18 years were not significantly different at the .05 level, either. Ability on the left hand grip strength among the age groups 5 – 9 years, 10 - 12 years and the complex deficient retarded children were not significantly different. However, there was a significant difference between the group of 13 – 15 years and the group of 16 -18 years. It was found that, in the age groups 13 – 15 years and 16 – 18 years, the left hand grip strength were significantly different, also. Ability on the right hand grip strength in the age groups 5 – 9 years, 10 – 12 years were not significantly different. However, in the other age groups, the right hand grip strength were significantly different. There was no significant difference in throwing a ball among the 5 age groups.
dc.format.extent7011154 bytes
dc.format.extent8313840 bytes
dc.format.extent15177890 bytes
dc.format.extent1503139 bytes
dc.format.extent16554186 bytes
dc.format.extent9587386 bytes
dc.format.extent10216338 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการแสดงความสามารถทางร่างกายของเด็กปัญญาอ่อนประเภทพอเรียนได้en
dc.title.alternativePhysical performances of educable mentally retarded childrenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisith_tr_front.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_tr_ch1.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_tr_ch2.pdf14.82 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_tr_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_tr_ch4.pdf16.17 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_tr_ch5.pdf9.36 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_tr_back.pdf9.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.