Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29369
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รมณี สงวนดีกุล | |
dc.contributor.advisor | สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ | |
dc.contributor.author | พิษณุ นิมาชัยกุล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-03-07T06:26:31Z | |
dc.date.available | 2013-03-07T06:26:31Z | |
dc.date.issued | 2534 | |
dc.identifier.isbn | 9745788015 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29369 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีของรอยัลเยลลีแช่แข็งและรอยัลเยลลีแห้งจาการทำแห้งเยือกแข็งและศึกษาประสิทธิภาพของรอยัลเยลลีแช่แข็งและรอยัลเยลลีแห้งในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย 5 ชนิด คือ Bacillus subtilis TISTR 8, Staphylococcus aureus TISTR 118, Escherichia coli TISTR 371, Lactobacillus bulgaricus TISTR 451 และ Lactobacillus plantarum TISTR 541 ซึ่งประเมินผลโดยค่าปริมาณความเข้มข้นต่ำสุดของรอยัลเยลลีที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ (MIC) พบว่าทั้งรอยัลเยลลีแช่แข็งและรอยัลเยลลีแห้งมีผลสอดคล้องกันโดยไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ L. bulgaricus และ L. plantarum แต่สามารถยับยั้งการเจริญ B. subtilis, S. aureus และ E. coli ได้ และค่า MIC ต่อแบคทีเรียแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P 0.05) และเมื่อเทียบน้ำหนักของรอยัลเยลลีแช่แข็งและรอยัลเยลลีแห้งให้เท่ากันโดยใช้น้ำหนักแห้งแล้วรอยัลเยลลีแช่แข็งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียดีกว่ารอยัลเยลลีแห้ง จากนั้นศึกษาผลการใช้สารเพิ่มปริมาณต่อการทำแห้งรอยัลเยลลี โดยใช้สารเพิ่มปริมาณ 3 ชนิด คือ แลคโตส แป้งมันสำปะหลัง และแลคโตส ผสมแป้งมันสำปะหลังในอัตรา 1:1 โดยน้ำหนัก และเติมในปริมาณ 10, 20 และ 30% ประเมินผลโดยวิเคราะห์ปริมาณการดูดน้ำกลับของรอยัลเยลลีที่เติมสารเพิ่มปริมาณและผ่านการทำแห้งเยือกแข็งแล้ว พบว่า เมื่อใช้แลคโตสเป็นสารเพิ่มปริมาณจะมีการดูดน้ำกลับต่ำที่สุด ในขณะที่แลคโตสผสมแป้งมันสำปะหลัง และแป้งมันสำปะหลังจะมีการดูดน้ำกลับเพิ่มขึ้นตามลำดับ และเมื่อใช้สารเพิ่มปริมาณเพิ่มขึ้นจะทำให้การดูดน้ำกลับของรอยัลเยลลีลดลง จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของรอยัลเยลลีแช่แข็งที่เก็บที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส ในถุง HDPE เป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งประเมินผลโดยติดตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณความชื้น โปรตีน 10-hydroxy-2decenoic acid และค่า MIC ของรอยัลเยลลีต่อ B. subtilis พบว่าคุณภาพของรอยัลเยลลีแช่แข็งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P 0.05) ส่วนการเก็บรอยัลเยลลีแห้งไว้ในภาชนะบรรจุ 2 ชนิด คือ PE/Al และ HDPE ที่อุณหภูมิ -18, 5 และ 28 องศาเซลเซียส นาน 5 เดือน พบว่า ภาชนะบรรจุ อุณหภูมิที่เก็บ ระยะเวลาเก็บและอิทธิพลร่วมของทุกปัจจัยต่างมีผลต่อคุณภาพของรอยัลเยลลีแห้งโดยรอยัลเยลลีแห้งที่บรรจุในถึง PE/Al จะมีความชื้นและค่า MIC ต่อ B. subtilis, ต่ำกว่าเมื่อเก็บในถุง HDPE ส่วนปริมาณโปรตีนและ 10-hydrocy-2-decenoic acid จะมีค่าสูงกว่า และรอยัลเยลลีแห้งที่เก็บที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะมีความชื้นและค่า MIC ต่อ B. subtilis ต่ำกว่า เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 5 และ 28 องศาเซลเซียส ส่วนปริมาณโปรตีนและ 10-hydrocy-2-decenoic acid จะมีค่าสูงกว่าเมื่อเก็บรอยัลเยลลีแห้งไว้นาน 5 เดือน | |
dc.description.abstractalternative | The chemical composition and antibacterial action, as the minimum inhibition concentration (MIC), of frozen and freeze dried royal jelly against five species of bacteria, namely Bacillus subtilis TISTR 8, Staphylococcus aureus TISTR 118, Escherichia coli TISTR 371, Lactobacillus bulgaricus TISTR 451 and Lactobacillus plantarum TISTR 541, were investigated. The result showed that frozen and freeze dried royal jelly did not inhibit the growth of L. bulgaricus and L. plantarum while B. subtilis, S. aureus and E. coli were inhibited by both with significant differences between species (P 0.05). The antibacterial action of frozen royal jelly was higher than that of freeze dried royal jelly on the same dry weight basis. The effect of using a diluent in freeze dried royal jelly was studied. Lactose, tapioca starch, and lactose mixed with tapioca starch (1:1 weight to weight) were used as diluents at levels of 10, 20 and 30%. The moisture absorption ability of freeze dried royal jelly mixtures was determined. The results showed that royal jelly mixed with lactose had the lowest moisture absorption ability followed by royal jelly mixed with lactose and tapioca starch (1:1) and royal jelly with tapioca starch. The qualities of frozen royal jelly packed in HDPE during storage at -18C namely moisture, protein, 10-hydroxy-2-decenoic acid and MIC against B. subtilis were not significantly different after storage for 5 months. Freeze dried royal jelly was packed in PE/Al and HDPE and stored at -18, 5 and 28C. Moisture, protein, 10-hydroxy-2-decenoic acid content and MIC against B. subtilis were determined. The results showed that packaging, storage temperature, storage time and the interaction of factors affected the quality of freeze dried royal jelly (P 0.05). Moisture content and MIC against B. subtilis freeze dried royal jelly in PE/Al were lower than in HDPE but the protein and 10-hydroxy-2-decenoic acid were higher Freeze dried royal jelly stored at -18C had the lowest moisture content and MIC against B. subtilis but was highest in protein and 10-hydroxy-2-decenoic acid content after storage for 5 months. | |
dc.format.extent | 4052573 bytes | |
dc.format.extent | 681916 bytes | |
dc.format.extent | 4584940 bytes | |
dc.format.extent | 1883078 bytes | |
dc.format.extent | 7561125 bytes | |
dc.format.extent | 4277144 bytes | |
dc.format.extent | 770394 bytes | |
dc.format.extent | 4417492 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การถนอมรักษารอยัลเยลลีโดยการแช่แข็งและการทำแห้งเยือกแข็ง | en |
dc.title.alternative | Preservtion of royal jelly by freezing and freeze drying | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pisanu_ni_front.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_ch1.pdf | 665.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_ch2.pdf | 4.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_ch3.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_ch4.pdf | 7.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_ch5.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_ch6.pdf | 752.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_ni_back.pdf | 4.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.