Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29374
Title: ปัญหาการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีสุขาภิบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Problems of upgrading sanitary districts to municipality : case studies of sanitary districts in Phra Nakhon Si Ayutthaya province
Authors: พิษณุวัตร วรรธนะกุล
Advisors: ประหยัด หงษ์ทองคำ
สมบูรณ์ สุขสำราญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบแรกของประเทศไทยที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งแม้ว่าสุขาภิบาลจะถูกยกเลิกไปเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยนำรูปแบบเทศบาลมาใช้แทน แต่สุขาภิบาลก็ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งในปีพ.ศ. 2495 แต่จัดในรูปแบบคณะกรรมการ (commission form)และการที่มีสมาชิกทั้งโดยตำแหน่งและโดยการแต่งตั้งรวมอยู่ด้วย และรวมทั้งสุขาภิบาลส่วนหนึ่งบริหารโดยข้าราชการทำให้สุขาภิบาลถูกมองว่า เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นที่ไม่ตรงตามหลักการปกครองตนเอง จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาล การศึกษาวิจัย จึงมุ่งเน้นที่จะวัดความคิดเห็นในการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลของประธานกรรมการฯ และกรรมการสุขาภิบาล ทั้งที่มาโดยตำแหน่งและโดยการเลือกตั้ง รวมทั้งอุปสรรคและปัญหา การศึกษาเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีสุขาภิบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลสรุปของการศึกษาวิจัยจะพบว่า หลักเกณฑ์เรื่องรายได้ จำนวนประชากร และความหนาแน่นจะเป็นปัญหาอุปสรรคในการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาล ซึ่งกรรมการสุขาภิบาลเห็นว่าควรจะแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม และควรยกฐานะสุขาภิบาลให้เป็นเทศบาล เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยและสอดคล้องกับหลักการปกครองตนเองโดยอิสระ แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างของที่มา ทำให้กรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่งเห็นว่ารูปแบบสุขาภิบาลก็ยังพอใช้ได้ และทำให้กรรมการสุขาภิบาลโดยการเลือกตั้งขาดการกระตือรือร้นที่จะริเริ่มผลักดัน ทำให้การขอยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลที่ผ่านมาเป็นเพียงความคิดและความตั้งใจเท่านั้น
Other Abstract: Sanitary district is the earliest form of local government in Thailand. It has been developed since the reign of King rama V but was terminated in 1932 A.D., after the revolution, and substituted by municipality. However, sanitary district was brought into use again in 1952 A.D. in a commission form which obviously shared and partly administrated by government officials and has been considered as not a local self-government unit and, for this reason, sanitary district should be upgraded to municipality. The study aims at measuring the attitudes of Chairman and committee members of sanitary district both exofficio and elected towards upgrading sanitary district to municipality including its problems and difficulties in sanitary districts in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The conclusion of the study reveals that the criteria of income, number and density of population will be the major problems in upgrading sanitary district to municipality. According to the commission members, the criteria should be adjusted. Sanitary district should be upgraded to municipality in order to be allied with local self-government and fully independent. However, by different backgrounds, the exofficio member believes that sanitary district is still effective and this conveys no enthusiamsm among elected members in supporting to upgrade sanitary district to municipality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29374
ISBN: 9746346946
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phisanuvat_va_front.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Phisanuvat_va_ch1.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Phisanuvat_va_ch2.pdf17.53 MBAdobe PDFView/Open
Phisanuvat_va_ch3.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Phisanuvat_va_ch4.pdf18.39 MBAdobe PDFView/Open
Phisanuvat_va_ch5.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Phisanuvat_va_back.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.