Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29681
Title: Professional competences of the new graduates from bachelor degree programs of physical therapy in Thailand
Other Titles: ความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่หลักสูตรปริญญาตรีกายภาพบำบัด ในประเทศไทย
Authors: Suwit Amnakkittikul
Advisors: Chaloem Varavithya
Kitpramuk Tantayaporn
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 1991
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purposes of this study were to evaluate and compare the professional competence of the new graduates from three schools (Mahidol, Khon Kaen and Chiangmai University) upon the standard competence, to analyse the relationship between the professional competence and the educational factors in those schools and academic achievement, and to compare the professional competence between the new and 1989 graduates. The standard competence was constructed by reviewing both Thai and Foreign literatures and was agreed by the group of twelve experts in physical therapy. Only “must do” category of skill component of standard competence was included in the questionnaires. Three questionnaires; new graduates, 1989 graduates, and supervisors were developed, checked for content validity by the group of ten experts in profession education and physical therapy, and then pretested by eight 1988 graduates and their supervisors. The internal consistency of the new graduates and the supervisors calculated by using Hoyt’s ANOVA were 0.8683 and 0.7874 respectively. Mailing was the strategy used with most subjects. The three follow-up methods were used to maximize the responses; firstly with postcard reminder, secondly with second questionnaire and finally with telephone contact. The direct access was used with the subjects who worked in the hospitals which were in Bangkok and many subjects were working in. The sampled population included fifty three of new graduates (completed in 1990) and their supervisors, and forty six of 1989 graduates and their supervisors. The final response rates of these four groups were 96.23%, 96.23%, 97.83% and 95.65% respectively. The total available questionnaires were 94.34%, 97.83%, 96.23% and 91.30% respectively. The academic achievement of the new graduates were collected from the students’ records from three schools. The obtained data were analysed by using mean, standard deviation, standard error of the means, proportion, Kruskal-Wallis one-way ANOVA, paired and unpaired t-test, Mann-Whitney U test, Wilcoxon signed rank test, and multiple regression. The professional competence were obtained from two sources; self- and supervisors- appraisal. The self- and supervisors- appraisal were agreed on the professional competence of all new graduates. In the cognitive and affective component, the professional competence of all graduates were classified as “fairly high” level in almost all items and in all except two areas; professional ethics and attitude and personal qualities. The professional competence in these two areas were classified in “high” level. In the skill component, there were no graduates who perform without sufficiently safety. Their competence were classified in “perform safety and frequently accurate” in almost all items and in all areas. The data about the professional competence of the new graduates from three schools from the self- and supervisors- appraisal were not the same. The difference of the professional competence among three groups was still questionable. The clinical experience were highly related with the professional competence in the skill component. The “characteristic of clinical instructors outside University” and “the applicability of all clinical practice” were related with the professional competence of the new graduates with more competence items than other variables. The academic achievement were related with the professional competence only in the skill component. The 1989 were more confident than the new graduates but their professional competence were not higher in the actual practice as perceived by their supervisors. The study recommended on the the improvement of the measuring instrument, the development of standard competence and curriculum revision.
Other Abstract: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่ ตามมาตรฐานความสามารถที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เปรียบเทียบความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่ ที่สำเร็จการศึกษาจาก 3 สถาบัน (มหาวิทยาลัยมหิดล, ขอนแก่น และเชียงใหม่) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในวิชาชีพ และปัจจัยทางการศึกษาของหลักสูตรปริญญาตรีของแต่ละสถาบัน รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และเปรียบเทียบความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่ และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2532 มาตรฐานความสามารถสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ จากนั้นได้นำมาตรฐานความสามารถนี้ไปตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพกายภาพบำบัดจำนวน 12 ท่าน มาตรฐานความสามารถในส่วนทักษะ ในกลุ่ม “ต้องรู้” เท่านั้น ที่นำไปบรรจุในแบบสอบถาม แบบสอบถาม 3 ฉบับถูกสร้างขึ้นสำหรับ บัณฑิตใหม่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2532 และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา และวิชาชีพกายภาพบำบัด 10 ท่าน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้กับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2531 และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ค่าความเที่ยงภายในที่คำนวณได้จากการทดสอบความแปรปรวนโดยวิธีของฮ้อยท์ (Hoyt) สำหรับแบบสอบถามบัณฑิตใหม่ และ ผู้บังคับบัญชา มีค่าเท่ากับ 0.8683 และ 0.7874 ตามลำดับ การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์เป็นกลวิธีที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร่วมกับการติดตามผล 3 ครั้ง ครั้งแรกโดยส่งไปรษณียบัตร ครั้งที่สองโดยส่งแบบสอบถามซ้ำ ครั้งที่สามโดยการโทรศัพท์ การส่งแบบสอบถามด้วยตนเองเป็นกลวิธีที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ที่ทำงานในโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และมีผู้ตอบทำงานในโรงพยาบาลเดียวกันมาก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บัณฑิตใหม่ (สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2533) จำนวน 53 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิตใหม่จำนวนเท่ากัน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2532 จำนวน 46 คน และผู้บังคับบัญชาจำนวนเท่ากัน อัตราการตอบแบบสอบถามเมื่อสิ้นสุดการเก็บข้อมูลของทั้ง 4 กลุ่ม เท่ากับ 96.23, 96.23, 97.83 และ 95.65 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คิดเป็นแบบสอบถามที่นำไปวิเคราะห์ข้อมูลได้ 94.34, 97.83, 96.23 และ 91.30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบัณฑิตเก็บจากบันทึกประวัตินักศึกษาจากทั้งสามสถาบัน ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน สัดส่วน Kruskal-Wallis one-way ANOVA paired และ unpaired t-test Mann-Whitney U test Wilcoxon signed rank test และ multiple regression ข้อมูลความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตได้จาก 2 แหล่งคือ การประเมินโดยตัวบัณฑิตเอง และโดยผู้บังคับบัญชาบัณฑิต ทั้งบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาบัณฑิต มีความเห็นตรงกันว่า ความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่ทั้งหมดอยู่ในระดับ “ค่อนข้างมาก” ในเกือบทุกข้อย่อย และในทุกกลุ่มมาตรฐาน ยกเว้น 2 กลุ่มคือ จรรยาบรรณและเจตคติแห่งวิชาชีพ กับ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความสามารถในวิชาชีพใน 2 กลุ่มนี้ เกือบทุกข้อย่อย อยู่ในระดับ “มาก” สำหรับมาตรฐานความสามารถในส่วนของทักษะนั้น ความสามารถในวิชาชีพในเกือบทุกข้อย่อยและในทุกกลุ่มมาตรฐานอยู่ในระดับ “ทำได้อย่างปลอดภัย ทำถูกต้องเป็นส่วนใหญ่” โดยที่ไม่มีข้อย่อยใดเลยที่บัณฑิตทำโดย “ไม่ปลอดภัย” เมื่อพิจารณาแยกบัณฑิตใหม่ออกตามสถาบันทั้งสามพบว่า บัณฑิตเอง และ ผู้บังคับบัญชาบัณฑิตมีความเห็นต่อความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่ไม่ตรงกัน ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความแตกต่างของความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตทั้งสามสถาบัน ประสบการณ์ทางคลินิกมีความสัมพันธ์สูงกับความสามารถในวิชาชีพในส่วนทักษะของบัณฑิตใหม่ทั้งหมด คุณลักษณะของอาจารย์พิเศษ ณ สถานที่ฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก และ ความเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของหมวดวิชาการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก มีความสัมพันธ์กับความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดลในข้อย่อยต่าง ๆ เป็นจำนวนมากกว่า ตัวแปรต้นอื่น ๆ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีความสัมพันธ์กับความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตใหม่มหิดลในมาตรฐานส่วนทักษะเท่านั้น บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2532 มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานในวิชาชีพมากกว่าบัณฑิตใหม่ ตามความเห็นของผู้บังคับบัญชาบัณฑิตพบว่า ความสามารถในวิชาชีพในการปฏิบัติงานจริงของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2532 ไม่สูงกว่าบัณฑิตใหม่ การศึกษานี้ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงเครื่องมือในการวัด การกำหนดมาตรฐานความสามารถ และการปรับปรุงหลักสูตร
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1991
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Health Development
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29681
ISBN: 9745733442
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwit_am_front.pdf8.49 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch1.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch2.pdf18.63 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch3.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch4.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch5.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch6.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch7.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch8.pdf130.12 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_ch9.pdf13.05 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_am_back.pdf56.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.