Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29698
Title: ผลกระทบต่อกฎหมายภายในของไทยจากพันธกรณี ตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน / อมรพจน์ กุลวิจิตร
Other Titles: Montreal protocol on substances that deplete the ozone layer and its impact on Thai legislation
Authors: อมรพจน์ กุลวิจิตร
Advisors: สรจักร เกษมสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบอันเกิดจากการลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศและพันธกรณีตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนรวมทั้งภายหลังจากที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแล้ว มีกฎหมายภายในรองรับเพียงพอต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีตามพิธีสารดังกล่าวหรือไม่ จากการศึกษาวิจัยผู้เขียนพบว่า การลดลงของชั้นบรรยากาศโอโซนมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์โดยทำให้ระบบนิเวศน์ผันเปลี่ยนไปในทางเลวลง นอกจากนั้นยังมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ เช่น เป็นมะเร็งที่ผิวหนัง ตาเป็นต้อ และอาจมีผลเปลี่ยนแปลงต่อพันธุกรรมของมนุษย์และจากการศึกษาพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีจะต้องลดปริมาณการใช้และการผลิตสารควบคุมที่มีผลต่อการลดลงของชั้นบรรยากาศ และในปี 2000 จะต้องเลิกใช้และเลิกผลิตสารควบคุมเหล่านั้น สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้หลายฉบับ แต่อย่างไรก็ตาม เหตุผลในการตรากฎหมายเหล่านั้นเป็นไปเพื่อป้องกันความเสียหายอันตราย หรือความเดือดร้อนรำคาญที่จะเกิดกับประชาชนในลักษณะที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจน และในเวลาอันรวดเร็ว แต่ผลกระทบอันเกิดจากการลดลงของชั้นบรรยากาศโอโซน ซึ่งจะใช้เวลานานนับสิบปี ทั้งมีลักษณะของความเสียหายเกี่ยวพันในระดับโลก ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่ากฎหมายเหล่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรออกกฎหมายเพิ่มเติมให้มีลักษณะของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และให้สามารถใช้แก้ปัญหาได้ทั่วไปไม่เฉพาะแต่ปัญหาการลดลงของชั้นบรรยากาศโอโซน
Other Abstract: This research is to study the impact of the reduction of Ozone Layer in the atmosphere. Thailand is a party to the Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer and required to possess legislation that could be efficiently enforceable in this regard. The reduction of the Ozone Layer has negative impact on the Eco-System and could be harmful to the human race, such as Skin cancer, D.N.A. distortion. The Montreal Protocol requires that the parties reduce the Consumption and Production of substances that deplete the ozone layer. By the year 2000, their consumption and production are to be completely phased out. Although several acts are concerning to the Environment protection, they were designed only to prevent loss, harm and suffering to be inflicted upon the general public. But the negative effects from the delectation of the ozone layer are to last for several decades and could cause global harm. The writer is of the view that Thailand should enact the law that could help protecting the environment on the global standard both concerning to the delectation of the ozone layer and on other environmental matters.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29698
ISBN: 9746316753
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amonpojt_ku_front.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Amonpojt_ku_ch1.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open
Amonpojt_ku_ch2.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Amonpojt_ku_ch3.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open
Amonpojt_ku_ch4.pdf16.85 MBAdobe PDFView/Open
Amonpojt_ku_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Amonpojt_ku_back.pdf55.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.