Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29715
Title: แนวโน้มของหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ในปีพุทธศักราช 2543
Other Titles: Trends of english language curriculum and instructions at the elementary education level in B.E. 2543
Authors: อมรรัตน์ สุดสวาท
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ในปีพุทธศักราช 2543 ผลการวิจัยปรากฏว่า แนวโน้มของหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาด้านลักษณะทั่วไปของหลักสูตรจะเป็นหลักสูตรที่เน้นความสามารถในการสื่อสาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อติดต่อสื่อสารได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นว่า โครงสร้างของหลักสูตรน่าจะเป็นวิชาบังคับโดยจะเริ่มเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และใช้อัตราเวลาเรียนประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนเนื้อหาจะเน้นเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวของตนเองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเนื้อหานั้นมีทั้งสิ่งจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพโดยเน้นความสอดคล้องกับสภาพการใช้จริงที่จะเกิดขึ้น ส่วนแนวโน้มด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ปรากฏว่า ลักษณะการเรียนการสอนจะเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม บรรยากาศของการเรียนจะมีทั้งสนุกสนานและวิชาการควบคู่กันไป ทำให้ความเครียดในการเรียนลดลง ส่วนวิธีสอนจะใช้วิธีสอนแบบผสมผสานโดยนำข้อดีของวิธีสอน แต่ละวิธีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแต่ละครั้ง โดยมีเกม สถานการณ์และบทบาทสมมติเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม บทบาทของครูในการเป็นแม่แบบของการใช้ภาษาจะลดลงโดยใช้สื่อทางเทคโนโลยีมาช่วยเป็นหลัก ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนจะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น ส่วนหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษนั้นจะมีเนื้อเรื่องทันสมัยและทันต่อเหตการณื จะมีภาพป้ายประกาศต่าง ๆ ที่ผู้เรียนพบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยังสามารถใช้หนังสือแบบเรียนกับการทำงานกลุ่มได้สื่อการเรียนการสอนจะใช้สื่อประเภท เกม แถบบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ของจริง ของจำลอง บัตรคำ บัตรภาพ และแถบประโยค ส่วนจุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลจะมีการวัดและประเมินผลทั้งความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการสอนของครู และการเรียนของนักเรียนทั้งนี้โดยใช้วิธีการและเครื่องมือหลาย ๆ แบบเพื่อวัดให้ตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตร การประเมินผลจะกระทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลตนเอง โดยใช้เกณฑ์ทั้ง 2 แบบ คือ แบบอิงกลุ่ม และแบบอิงเกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้สามารถยืดหยุ่นได้
Other Abstract: The main purpose of this research was to study the trends of English language curriculum and methods of instruction at the elementary education level in B.E. 2543. The findings were: the trends of English language curriculum would emphasize the ability to communicate. The main objectives would be to teach the students to use English language for communication both in their daily life and as the basis for working. The English curriculum would be the required course to be studied by everyone, starting from Prathom Suksa 1 on. It would take approximately 5 periods of studying per week. The content would be about the learners and their environment and would stress the communication in real situations, both in daily life and life at work. The trends of English language instruction would be student – centered and group – working activities. Activities in classes would be the combination of pleasure and academic purposes. The teachers would use the eclectic methods of teaching by selecting the best approaches of each teaching method and fabricate them to make them relevant to the learning objectives. The activities would consist of games, simulation and role-playing. Thus it would decrease the role of the teachers and stress more on audio-visual teaching instrument. The interaction between teachers and learners would be more emphasized. Contents in the text books would be more up to date. Signs and symbols encountered in daily life would be included in the texts as references in group – working. The instruction media would be games, tape-recorder, video-tape, real materials, model, word cards, picture cards and sentence cards. The objectives of measurement and evaluation would be to measure and evaluate the knowledge and the ability to use the English language of the students and also use it to adjust the teaching methods. The evaluation would be more flexible according to both teachers and learners. The criteria of evaluation predicted by 31 English specialists would be two systems; group reference and criterion reference which is flexible.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29715
ISSN: 9745784273
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_la_front.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_la_ch1.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_la_ch2.pdf10.66 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_la_ch3.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_la_ch4.pdf26.75 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_la_ch5.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_la_back.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.