Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิภา อุตมฉันท์-
dc.contributor.authorปริยานุช ห้องสำเริง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-03-14T05:50:29Z-
dc.date.available2013-03-14T05:50:29Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746314653-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29768-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงแนวโน้มและทิศทางที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจโทรทัศน์ในประเทศไทยภายหลังจากการที่ประเทศไทยมีดาวเทียมเป็นของตนเอง และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ของดาวเทียมไทยคมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรทัศน์ระบบ VHF ในประเทศไทย นำดาวเทียมไทยคมมาใช้เสริมระบบการออกอากาศของแต่ละสถานีในลักษณะของการใช้ทวนสัญญาณไปยังสถานีเครือข่ายภูมิภาคเพื่อทำการออกอากาศซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีใหม่ในระบบโดยตรงสู่บ้านเรือน เนื่องจากเหตุผลในด้านค่าใช้จ่ายในการลงทุนและความไม่มั่นใจในเทคโนโลยีที่เป็นของใหม่ ตลอดจนไม่มั่นใจต่อตลาดของชุดอุปกรณ์รับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมว่าจะได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชนผู้รับชมหรือไม่ ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรทัศน์เคเบิลทีวี มีการนำดาวเทียมไทยคมมาใช้เสริมระบบการออกอากาศเพื่อใช้ทวนสัญญาณไปยังสถานีเครือข่ายภูมิภาคเพื่อทำการออกอากาศซ้ำเช่นเดียวกับโทรทัศน์ระบบ VHF แต่เคเบิลทีวีได้ประกาศว่าจะดำเนินการปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีใหม่ในระบบโดยตรงสู่บ้านเรือน เนื่องจากเหตุผลที่ว่าคุณสมบัติของเทคโนโลยีใหม่ในระบบโดยตรงสู่บ้านเรือนสามารถส่งสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วประเทศช่วยประหยัดการลงทุนจัดตั้งสถานีเครือข่ายแห่งใหม่ และเนื่องจากเหตุผลทางเทคนิคเกี่ยวกับความคมชัดของสัญญาณเพราะเป็นการรับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียม อีกทั้งผู้ประกอบการเคเบิลทีวียังเชื่อว่าตลาดของชุดอุปกรณ์รับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมจะสามารถเกิดความนิยมได้ แนวโน้มของธุรกิจโทรทัศน์ในประเทศไทยในอนาคตจะเน้นไปที่การมุ่งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชมตามเงื่อนไขของหลักการตลาดสมัยใหม่ การสร้างความพึงพอใจจะอยู่ในรูปของการนำเสนอรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพและรายการโทรทัศน์ที่ตอบสนองรสนิยมของผู้ชมได้ตรงที่สุด ซึ่งคาดว่าจะเกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้นในอนาคตทั้งในโทรทัศน์ระบบ VHF ด้วยกันเองและเคเบิลทีวีด้วยกันเองและระหว่างโทรทัศน์ทั้งสองระบบ เพื่อมุ่งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชม การแข่งขันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจโทรทัศน์จะมีการเติบโตและมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นต่อเนื่องต่อไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในโลก
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the trend and various directions of television industry in Thailand, after the launch of “THAICOM”, Thailand’s first satellite, which has created significant impact to the TV broadcasting industry. The results of the research found that, in Thailand, television broadcasters in VHF system have been using THAICOM’s C-band transponders as the medium todistribute TV programs to their provincial rebroadcast stations for re-broadcasting. However, they do not adopt the direct-to-home (DTH) broadcasting technology even through it is made available by THAICOM satellite. This due to the capital expenditure heavily invested in the existing C-Band TV distribution networks, and the unconfidence in this new technology as well as the extent of market and viewer demand and acceptance for the satellite receivers. Although, initially, cable TV broadcasters have been using THAICOM satellite to expand their broadcast coverage in the samemanner as the VHF broadcasters, they are all adopting this new direct broadcasting technology to futher enhance their broadcast service. The THAICOM DTH broadcasting technology will enable them to directly reach subscribers anywhere in the country without the need for additional investment in new network stations. With the technology’ technical and quality supiority, the cable TV broadcasters believe that the market of DTH satellite receiver will become popular. Thus, as more and new television channels using the DTH technology are introduced, more competitions are expected. Nevertheless, to succeed in the television business, broadcasters also have to put great emphasis on viewers or consumer satisfaction, as described in the new marketing theory. Dustomer satisfaction can be achieved by providing high-quality TV programs which satisfy viewer’s taste and viewing requirement. It is thus belived that the attempts to improve programs will create more competitions among the VHF system broadcasters and among the cable TV broadcasters, as well as the more competitions between the two different system. Competitions will be both in the area of program acquisition & viewer preference. These increased competitions reflect the significant impact on broadcasting businesses created by the continuously changing trend of technologies, as such impact and changes are prevalent everywhere in the world.
dc.format.extent4919222 bytes-
dc.format.extent11825249 bytes-
dc.format.extent2743383 bytes-
dc.format.extent4036102 bytes-
dc.format.extent7635418 bytes-
dc.format.extent20447223 bytes-
dc.format.extent7208250 bytes-
dc.format.extent1829030 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโทรทัศน์ตามสาย
dc.subjectไทยคม
dc.subjectโทรทัศน์ -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
dc.subjectการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์
dc.subjectผู้ประกอบการโทรทัศน์
dc.subjectดาวเทียมในโทรคมนาคม
dc.titleแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจโทรทัศน์ระบบ VHF และเคเบิลทีวีในประเทศไทยที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีของดาวเทียมไทยคมen
dc.title.alternativeChanging trends of VHF TV and cable TV in Thailand as affected by THAICOM satellite technologyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pariyanuch_ho_front.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_ch1.pdf11.55 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_ch2.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_ch4.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_ch5.pdf19.97 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_ch6.pdf7.04 MBAdobe PDFView/Open
Pariyanuch_ho_back.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.