Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29775
Title: การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอแรนซ์
Other Titles: The development of creative thinking of prathom suksa five students by using torrance's future problem solving model
Authors: หงส์สุนีย์ เอื้อรัตนรักษา
Advisors: ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอแรนซ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก จำนวนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 38 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ในระยะการทดลองนั้นนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการสอนตามรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอแรนซ์จำนวน 15 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติ โดยใช้เนื้อหาของกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หน่วยที่ 11 เกี่ยวกับข่าว เหตุการณ์ และวันสำคัญ ผู้วิจัยทำการทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทุกคนในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า สมมติฐานการวิจัยได้รับการสนับสนุน โดยที่คะแนนความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลอง และระยะติดตามผลหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองและระยะติดตามผลหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001
Other Abstract: The purpose of this research was to study the development of creative thinking of Prathom Suksa five students by using Torrance's Future Problem Solving Model. The subjects were 76 Prathom Suksa five students from Tedsaban Saunsanuk School. They were randomly assigned into experimental group and control group with thirty-eight each. Pretest posttest control group design was used in this study. The experimental group was taught fifteen sessions using Torrance's Future Problem Solving Model while the control group was taught by traditional teaching within the content of the life experience area, unit II "Current news events and important days". Subjects in both experimental group and control group were tested on Torrance's Test of Creative Thinking before, after treatment and one - month follow up. The data were analyzed by using the t-test. The results were as follows : Students in experimental group got scores on creative thinking on post-test and follow-up significantly higher than students in control group, (p<.001). Students in experimental group also got post-test and the follow-up scores on creative thinking test significantly higher than their scores on the pretest (p<.001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29775
ISBN: 9745833975
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hongsunee_ua_front.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Hongsunee_ua_ch1.pdf13.22 MBAdobe PDFView/Open
Hongsunee_ua_ch2.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Hongsunee_ua_ch3.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Hongsunee_ua_ch4.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Hongsunee_ua_ch5.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Hongsunee_ua_back.pdf14.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.