Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29813
Title: การพยากรณ์ความต้องการของคาโปรแลกตัมด้วยวิธีเศรษฐมิติในอุตสาหกรรมไทย
Other Titles: Econometric forecasting of caprolactam demand in Thai industry
Authors: ปรีชา เทพเลิศบุญ
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและวิเคราะห์นโยบายของอุตสาหกรรมคาโปรแลกตัมและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของคาโปรแลกตัมและอตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง ลักษณะของสมการแบบจำลองที่ใช้เป็นสมการแบบพึ่งพิง ซึ่งการประมาณค่าพารามิเตอร์ของสมการแบบจำลองจะใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของแบบจำลองต่างๆ เป็นดังนี้ ln C = -2.4 – 0.3185 ln P + 1.0344 ln Prod + 0.6174 ln GDPH, ln Prod = 2.4912 + 1.0336 ln Yarn – 0.3430 ln Pnet, ln Yarn = -2.1555 + 0.7688 ln Wove + 0.3365 ln Knit, Pnet = 415569 + 0.2861 Fish + 2.2651 X โดยที่ตัวแปร C = ปริมาณการนำเข้าคาโปรแลกตัม, P = ราคาต่อหน่วยของคาโปรแลกตัมที่นำเข้า, Prod = ปริมาณการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ไนล่อน, GDPH = ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นต่อคน, Yarn = ปริมาณการผลิตเส้นด้าย, Pnet = ปริมาณการผลิตแหอวน, Wove = ปริมาณการผลิตผ้าทอ, Knit = ปริมาณการผลิตผ้าถัก, Fish = ปริมาณการจับสัตว์น้ำ และ X = ปริมาณการส่งออกแหอวน จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าแบบจำลองทั้ง 4 สมการข้างต้นสามารถยอมรับได้ คือ ตัวแปรอิสระต่างๆ สามารถอธิบายตัวแปรตามในแต่ละสมการได้มากกว่าร้อยละ 80 (R² มีค่ามากกว่า 0.8) สำหรับผลการทดสอบค่าสถิติอื่นๆ ก็ผ่านการทดสอบในระดับเป็นที่น่าพอใจ แบบจำลองนี้สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ได้ในขณะที่ยังไม่มีการผลิตคาโปรแลกตัมในประเทศไทย
Other Abstract: This research was to study for trendency in planning and policy evaluation of caprolactam and downstream industries in petrochemical industry. The main objective was being study various variables relation which concerns about caprolactam demand and downstream industries. The character of model equations are simultaneous equations which approximate parameters of model equations by econometric method. It was found that the relation of various equations are as follows: ln C = -2.4 – 0.3185 ln P + 1.0344 ln Prod + 0.6174 ln GDPH, ln Prod = 2.4912 + 1.0336 ln Yarn – 0.3430 ln Pnet, ln Yarn = -2.1555 + 0.7688 ln Wove + 0.3365 ln Knit, Pnet = 415569 + 0.2861 Fish + 2.2651 X which variables C = quantity of caprolactam import, P = unit price of caprolactam import, Prod = actual production of nylon fiber, GDPH = gross domestic products per capita, Yarn = actual production of yarn, Pnet = actual production of fishing nets, Wove = actual production of woven fabrics, Knit = actual production of knitted fabrics, Fish = quantity of catching marine animals, and X = quantity of fishing nets export. The results of statistics analysis of 4 model equations can be accepted that independent variables can describe dependent variable in each equation more than 80 percent (R² more than 0.8). For other statistics testing is satisfying. The model equations are valid if the local production of caprolactam isn’t yet started.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29813
ISBN: 9745762369
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_th_front.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_ch1.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_ch2.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_ch3.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_ch4.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_ch5.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_ch6.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_th_back.pdf9.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.