Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29907
Title: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 : การวิเคราะห์เส้นทางตามโมเดลลิสเรลที่มีตัวแปรแฝง
Other Titles: Causal factors influencing mathayom suksa four student's physics learning achievement : A path analysis of a lisre model with latent variables
Authors: ทัศนีย์ บุญเติม
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ในโมเดลที่พัฒนาขึ้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ การพัฒนาโมเดลอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ในโรงเรียนผนวกกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการวิเคราะห์เมต้า โมเดลที่พัฒนาขึ้นเป็นโมเดลลิสเรลแบบย้อนกลับ ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัว และตัวแปรสังเกตได้ 22 ตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ในกรุงเทพมหานคร รวม 533 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัด 9 ฉบับและแบบสอบถาม 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างโดยการหาค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปร วิเคราะห์ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงแต่ละตัวรวม 3 ตัว และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.12 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ = 110.355 (องศาอิสระ = 158) ดัชนีความสอดคล้อง = 0.982 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ได้ร้อยละ 69.4 ตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ได้แก่ ตัวแปรแฝง 6 ตัว คือ ความสามารถเชิงภาษาและคณิตศาสตร์ แบบการคิด วิธีการเรียน การเรียนพิเศษ การรับรู้เกี่ยวกับการสอน และการใช้เวลา และตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัว คือ เพศ เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์เดิม ลักษณะเพื่อน และบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน ความสามารถเชิงภาษาและคณิตศาสตร์ มีอิทธิพลทางตรง ขนาด .833 แบบการคิด วิธีการเรียน การเรียนพิเศษ ความสามารถเชิงภาษาและคณิตศาสตร์ การรับรู้เกี่ยวกับการสอนและการใช้เวลา มีอิทธิพลทางอ้อมขนาด .193, .148, .116, .048, .046 และ -.082 โดยส่งผ่านความสามารถเชิงภาษาและคณิตศาสตร์ ตัวแปรสังเกตได้ เพศ และบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน มีอิทธิพลทางตรง ขนาด -.094 และ .087 ตัวแปรเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์เดิม และลักษณะเพื่อน มีอิทธิพลทางอ้อมขนาด .059 และ .510 โดยส่งผ่านการใช้เวลา วิธีเรียน การรับรู้เกี่ยวกับการสอน แบบการคิด และความสามารถเชิงภาษาและคณิตศาสตร์
Other Abstract: The purpose of this study was to develop the linear structural relationship model of mathayom suksa four students' physics learning achievement and to study the effects of the variables in the model on physics achievement. The model was developed by applying the school learning models coupled with the meta-analysis of researches results in physics achievement. The developed model was a LISREL reciprocal model consisting of 7 latent variables and 22 observed variables. The sample consisted of 533 mathayom suksa four students studying science program in Bangkok. Data were collected by using 9 tests and 1 questionnaire. Basic statistics were used to analyze the background of the sample. The LISREL program version 8.12 was used in testing the measurement and the structural models. The results were as follow: the developed model was consistent with empirical data with chi-square = 110.355(d.f. =158), GFI = 0.982. The model accounted for 69.4% of the variance in physics achievement. Variables that had significant effects on physics achievement were 6 latent variables : language and mathematics ability, cognitive style, learning method, intensive tutorial, perceived teaching characteristic, and time spending ; and 4 observed variables : sex, previous scientific attitudes, peer characteristics, and school climate. Language and mathematics ability had direct effect of .833 ; cognitive style, learning method, intensive tutorial, language and mathematics ability, perceived teaching characteristic, and time spending had indirect effect of .193, .148, .116, .048, -.082 respectively via language and mathematics ability. The observed variables : sex and school climate had direct effects of -.094, .087 while previous scientific attitudes and peer characteristics had indirect effects of .059, .510 via time spending, learning method, perceived teaching characteristic, cognitive style, and language and mathematics ability.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29907
ISBN: 9746341626
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanee_Bu_front.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Bu_ch1.pdf11.09 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Bu_ch2.pdf22.6 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Bu_ch3.pdf9.19 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Bu_ch4.pdf11.17 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Bu_ch5.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Bu_back.pdf38.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.